X

นครพนม จัดงานประเพณี “วันรวมใจไทแสก” ประจำปี 2566 ชุมชนบ้านอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม

เมื่อวันที่ 22 ม.ค.66 นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดงานประเพณี “วันรวมใจไทแสก” ประจำปี 2566 ที่ชุมชนบ้านอาจสามารถ (ริมฝั่งแม่น้ำโขง) ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม พร้อมกับนางสงวน จันทร์พร นายกเหล่ากาชาด/ประธานแม่บ้านมหาดไทย จังหวัดนครพนม และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมเป็นเกียรติในงานประเพณี “วันรวมใจไทแสก” และนางสาวศุภพานี โพธิ์สุ. นายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนครพนม , นายวรวิทย์ พิมพนิตย์ นายอำเภอเมืองนครพนม พร้อมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต.อาจสามารถ ให้การต้อนรับ การจัดงานในครั้งนี้เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีชนเผ่าไทแสก 1 ใน 9 ชนเผ่า ของ จังหวัดนครพนม ที่มีมาแต่โบราณ จากอดีตถึงปัจจุบัน เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนดั้งเดิมที่มีบรรพบุรุษอพยพมาจากจีนและเวียดนาม กระจายมาอยู่ตามชายแดนแม่น้ำโขง ดินแดน 12 ปันนา รวมถึง เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว และข้ามฝั่งแม่น้ำโขง มาอยู่ที่ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ในยุคสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หรือ ประมาณ พ.ศ.2367 – 2394

 

ทุกปีจะจัดช่วงเดือนมกราคม ช่วงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 กิจกรรมสำคัญ มีพิธีกินเตรดเดน เป็นภาษาไทแสก หมายถึงจัดพิธีบวงสรวงไหว้บรรพบุรุษ คล้ายตรุษจีน การแสดงแสกเต้นสาก เพื่อเป็นสิริมงคล แสดงซุ้มวิธีชีวิตวัฒนธรรมไทแสกของชุมชนต่างๆ สำหรับประเพณี วันรวมใจไทแสก ไฮไลท์สำคัญหลังเสร็จพิธีทำบุญ บวงสรวงไหว้บรรพบุรุษเจ้าปู่โองมู้ คือ การแสดงแสกเต้นสาก เกิดจากพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ในอดีตเดิม เพื่อบูชาบวงสรวงบรรพบุรุษ เป็นต้นตำรับหนึ่งเดียวในไทย กระทั่งปัจจุบัน นำมาเป็นการละเล่นแสดงโชว์ในงานพิธีสำคัญ ถือเป็นการแสดงที่ยากต้องใช้ความชำนาญ ใช้ผู้แสดงกว่า 10 คน นำไม้ยาว 2-3 เมตร เป็นคู่ มานั่งกระทบ เป็นจังหวะ เดิมโบราณใช้สากตำข้าว ปัจจุบันได้หันมาใช้ไม้ที่จัดขึ้น เพื่อการแสดงจากนั้นจะมีการจัดคู่รำเป็นคู่ 3 – 5 คู่ จะกระโดดสลับไปในช่องของไม้ที่กระทบกัน ควบคู่กับการรำที่เข้าจังหวะ ถือเป็นการแสดงที่ต้องใช้ความชำนาญ หากผิดพลาดอาจถึงขั้นบาดเจ็บ จะต้องฝึกฝนมาเป็นอย่างดี เอกลักษณ์ของ ชาวไทแสกเดิมจะมีชุดประจำถิ่นจากผ้าฝ้ายสีเข้ม ขริบสไบสีแดง มีภาษาวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ทุกปี ชาวไทแสกจะต้องมีทำบุญกราบไหว้สักการบูชา เจ้าเด่นหวั่วปู่โองมู้ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถือเป็นบรรพบุรุษที่ก่อตั้งหมู่บ้าน ดูแลชาวไทแสกมาแต่อดีต จึงได้ร่วมกันจัดสร้างศาลขึ้น เป็นที่รวมจิตใจ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีการจัดจำหน่าย สินค้าโอท็อป มีการจัดแสดงวัฒนธรรมประเพณีรับนักท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมอาชีพเปิดร้านอาหารเมนูปลาจุ่มในพื้นที่ ขาดไม่ได้ ใครมาเยือนจะต้องได้ชื่นชม ประเพณีแสกเต้นสาก ที่หาดูยาก เป็นการสืบสานพิธีความเชื่อ นำมาสู่การแสดง ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะต้องใช้ความชำนาญหาดูยาก ตื่นตาตื่นใจ และสนุกสนาน ควบคู่กันไป ใครอยากสัมผัสวิถีชีวิต เอกลักษณ์ วัฒนธรรมชนเผ่าไทแสก อย่าลืมมาเที่ยว ชุมชนไทแสก ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน