X

โคราชศูนย์อนามัยที่ 9 เปิดมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต

วันที่ 14 มกราคม 2562  ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมสตาร์เวลล์บาหลี อ.เมือง จ.นครราชสีมาโดยว่าที่ร้อยตรี นิรันดร์ ดุจจานุทัศน์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน มหกรรม “มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต เขตสุขภาพที่ 9”และพิธีลงนามความร่วมมือหลักสูตร “ครูผู้ดูแลเด็กต้นแบบสู่พัฒนาการสมวัยเด็กนครชัยบุรินทร์”

ว่าที่ร้อยตรี นิรันดร์ ดุจจานุทัศน์  รอง ผวจ. กล่าวว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดรับกับนิยามของคนไทยในศตวรรษที่ 21 เป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์จนถึงการคลอด และเติบโตต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพจนอายุ 2 ปีบริบูรณ์ (1,000 วันช่วงการตั้ง ครรภ์ 270 วัน จนถึงอายุ 2 ขวบ 730 วัน) ช่วงเวลาสำคัญของกระบวนการพัฒนาการทางร่างกายและสมอง การได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ร่วมกับความรัก ความอบอุ่น จะทำให้ทารกเจริญเติบโต และพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพโดยมหัศจรรย์ 1,000 วันฯ เขตสุขภาพที่ 9 เข้าสู่ปีที่ 3กำลังขยายพื้นที่การดำเนินโครงการฯ ให้ครบคลุมครบทุกอำเภอในเขตนครชัยบุรินทร์ โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น

พญ.วีณา มงคลพร รองผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กล่าวเพิ่มเติมว่า (ร่าง) ได้ผ่านความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณานำมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติไปใช้เป็นแนวทาง โดยสาระสำคัญของ (ร่าง) มาตรฐานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการดูแลพัฒนาและจัดการศึกษา และการดำเนินงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดที่ดูแลเด็กในเวลากลางวัน ช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปีบริบูรณ์ หรือก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สามารถนำไปใช้ประเมินการดำเนินงานของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในทุกสังกัด ประมาณกว่า 53,335 แห่ง เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดบริการและความต่อเนื่องของการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีมาตรฐานย่อย 3 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 2) ด้านครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแลและจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย และ 3) ด้านคุณภาพของเด็กปฐมวัย แบ่งเป็นเด็กแรกเกิด – อายุ 2 ปี และเด็กอายุ 3 ปี – อายุ 6 ปี (ก่อนเข้าประถมศึกษาปีที่ 1)

โดยในเขตสุขภาพที่ 9 มีศูนย์เด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 2,159 แห่ง (นครราชสีมา 719 ชัยภูมิ 410 บุรีรัมย์ 515สุรินทร์ 515 ) ศูนย์เด็กเล็กในสังกัดเอกชนภายใต้การดูแลของพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด จำนวน 53 แห่ง (นครราชสีมา  26 ชัยภูมิ 4บุรีรัมย์ 13สุรินทร์ 10 ) ศูนย์เด็กเล็กในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 2 แห่ง (นครราชสีมา 1 ชัยภูมิ 1) ระดับชั้นอนุบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัด จำนวน 4,117 แห่ง และศูนย์เด็กเล็กในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 21 มีจำนวน 9 แห่ง (สุรินทร์7 บุรีรัมย์ 2)เพื่อเป็นการขับเคลื่อนงานตามมาตรฐานฯ ในเขตสุขภาพที่ 9  จึงมีพิธีลงนามความร่วมมือหลักสูตร “ครูผู้ดูแลเด็กต้นแบบเพื่อพัฒนาการสมวัยเด็กนครชัยบุรินทร์”โดยความร่วมมือ 4 กระทรวงหลักได้แก่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงศึกษาธิการ  และกระทรวงสาธารณสุข  เพื่อยกระดับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

เพื่อยกระดับการดูแลอนามัยแม่และเด็กให้ได้มาตรฐาน ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยส่งเสริมให้เด็กไทยพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ร่วมด้วย

บรรยากาศของงานมีผู้เข้าร่วมในการจัดงานดังนี้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและศูนย์วิชาการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนจาก 4 กระทรวงพัฒนาสังคมฯ- มหาดไทย –ศึกษาธิการ- สาธารณสุข เขตนครชัยบุรินทร์ บุคลากรสาธารณสุขผู้รับผิดชอบงาน กว่า 300 คน ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือหลักสูตร “ครูผู้ดูแลเด็กต้นแบบสู่พัฒนาการสมวัยเด็กนครชัยบุรินทร์”ร่วม3จังหวัดเช่น นครราชสีมา บรีรัมย์และ สุรินทร์ต่อจากนั้นได้ทำการเปิดงานมหกรรม “มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต เขตสุขภาพที่ 9”อีกด้วย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน