X

ฟังความคิดเห็นภาคเหนือชี้ หลักประกันสุขภาพชาวบ้านยังไปไม่ถึงสิทธิ์ถ้วนหน้าจี้หยุด 30 บาท


ฟังความคิดเห็นภาคเหนือชี้ หลักประกันสุขภาพชาวบ้านยังไปไม่ถึงสิทธิ์ถ้วนหน้าจี้หยุด 30 บาท

เวทีรับฟังความคิดเห็นความเห็นทั่วไปตามมาตรา 18 ( 13 ) ของผู้รับบริการเครือข่ายประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 1 ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีการจัดรับฟังความคิดเห็นประจำปีงบประมาณ 2562 ที่ห้องเจนีวา โรงแรมเมอร์เคียว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนเข้าร่วมจำนวน 80 คน โดยที่ประชุมได้แบ่งการรับฟังความคิดเห็นออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ขอบเขตบริหาร มาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขและประเด็นเฉพาะพื้นที่ 2.การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ และ 3. การมีส่วนร่วมของประชาชนการรับรู้และคุ้มครองสิทธิ์และประเด็นเฉพาะพื้นที่ก่อนที่จะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น น.ส. สุรีรัตน์ ตรีมรรคา กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพภาคเหนือได้กล่าวถึงความเป็นมาทบทวนประเด็นสำคัญของเวทีรับฟังความคิดเห็นที่มีการพัฒนามาเป็นลำดับ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปี 2561 รวม 15 ปี ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการพัฒนาหลักประกันสุขภาพ ทำให้เห็นถึงความบกพร่องและการให้บริการที่ยังเข้าไม่ถึง แต่หลายครั้งปัญหาเดิมๆ ก็กลับมาในเวทีรับความความคิดเห็นใหม่ๆ โดยเฉพาะการเข้าถึงสิทธิ์ในการรักษา การพัฒนากลไกการทำงานทั้งบุคลากรวิชาชีพและเครือข่ายผู้รับบริการบางครั้งก็ดูเหมือนย่ำอยู่กับที่แต่บางครั้งก็ดูเหมือนว่าปัญหาเดิมๆ ยังไม่มีการแก้ไข แต่ในภาพรวมแล้วมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ


นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา กล่าวถึงกลไกเครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เขต 1 เชียงใหม่ มีการพัฒนาไปมาก กลุ่มสุขภาพที่เข้ามาร่วมทำงานอย่างหลากหลาย ทั้งกลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี กลุ่มผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน ผู้ติดเชื้อ ผู้พิการ ร่วมกันทำงานตลอดในรอบปีงบประมาณ ในการจัดเวทีรับฟังครั้งนี้ มีกลุ่มเครือข่ายดังกล่าวเข้าร่วม ทำงานร่วมกับกลไกตามกฎหมาย อาทิ คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่. (อปสข.) เขต 1 องค์กรเอกชนด้านสุขภาพ อาทิ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพภาคเหนือ มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ภาคเหนือ จากนี้ไปการรับฟังความคิดเห็นและผู้แทนภาคประชาชนที่เข้าไปเป็นอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้การทำงานด้านสุขภาพของรัฐได้รับการพัฒนาตรงตามความต้องการของประชาชนมากขึ้น ซึ่งผลของการรับฟังฯ นางสุภาพร กล่าวว่า ประเด็นที่ได้จากการรับฟังในภาคเหนือ ก็จะเป็นเรื่องสำคัญที่ควรนำไปแก้ไข คือการไม่รู้สิทธิ์ของประชาชน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์ การต้องจ่ายเงินเพิ่มในการใช้บริหารในโรงพยาบาลของรัฐยังคงต้องมีอยู่หรือไม่หรือจะแก้ไขให้ประชาชนได้เข้าถึง ซึ่งต้องเกี่ยวพันหลายด้านทั้งงบประมาณ และ บุคลากรทางการแพทย์


นายมนตรี อิ่มเอก เครือข่ายนักประชาสัมพันธ์ สปสช. เขต 1 ภาคเหนือ กล่าวว่า ในเวทีรับฟังความคิดเห็นทั่วไป ตามมาตรา 18 ( 3 ) ของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบหลักประกันสุขภาพที่จัดขึ้นทุกปี พบว่าได้รับเสียงสะท้อนจากประชาชน ทำให้ สปสช.นำข้อเสนอมาแก้ไขปรับปรุงทำให้เกิดพัฒนาการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการมากขึ้น ครอบคลุมหลากหลายมากขึ้น แต่การแก้ไขยังไม่สามารถหยุดนิ่งคงที่ได้ เพราะในแต่ละปีก็จะมีประเด็นปัญหาเข้ามาให้เกิดการแก้ไขเพื่อให้ตรงและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการผันแปรตลอดเวลา แต่สิ่งที่เป็นเรื่องน่าคิดคือ ผู้มีสิ่ทธิ์ผู้รับบริการที่มีความรู้ความเข้าใจในการเข้าถึง แม้ว่า สปสช.เองได้ทุ่มเทในเรื่องการสื่อสารและประชาสัมพันธ์หลายช่องทางโดยทุ่มเทงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่จำนวนผู้มีสิทธิ์ และ ผู้รับบริการ ก็ยังมีสัดส่วนน้อยเหมือนเดิม จึงเป็นประเด็นที่น่าจะมีการทบทวนให้มากขึ้นในฐานะนักสื่อสารหลักประกันสุขภาพ ก็ได้ช่วยคิดว่าจะมีวิธีการใดที่จะให้ประชาชนทั่วไปได้รู้สิทธิ์และเข้าถึงการรับบริการทางสุขภาพให้เพิ่มขึ้นจะทำให้คุณภาพชีวิตของพลเมืองไทยดีขึ้นกว่าเดิม

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน