X
โชว์ตำราเลือกตั้ง

เงิบ ผู้สมัครต้องรู้ก่อนร้อง กกต.หลังเลือกตั้ง บทเรียนก่อนถึงคิวเลือก อปท.ระดับล่าง

ฉะเชิงเทรา – เงิบ ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเรียนรู้ก่อนเข้าร้องเรียน ถึงความผิดปกติในระหว่างการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง หลัง กกต.ฉะเชิงเทรา กลางตำราชี้แจงให้ผู้สมัครต้องเรียนรู้ถึงขั้นตอนวิธีการท้วงติงเอง หากพบความผิดปกติ ที่ต้องให้ กปน.ลงบันทึกเหตุการณ์ในทันทีระหว่างเกิดเหตุ ระบุหากไม่ปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนคำร้องภายหลังอาจไม่เป็นผล

วันที่ 8 ม.ค.64 เวลา 11.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.อบจ. ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา เข้าร้องเรียนถึงความผิดปกติหรือมีข้อสงสัยว่าจะมีการกระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.63 ที่ผ่านมา และมีการเข้าร้องเรียนต่อทาง กกต. จ.ฉะเชิงเทรา ทั้งการร้องเรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครนายก อบจ. ตามมาตรา 65 (5) กรณีการหลอกลวงในเรื่องคุณสมบัติ

กกต.อาจไม่รับ

รวมถึงการขอให้มีการนับคะแนนใหม่ของผู้สมัคร ส.อบจ. ในเขตเลือกตั้งที่ 1 อ.ท่าตะเกียบ และการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามความที่ปรากฏ ซึ่งมีผู้ร้องได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.บางปะกง ในวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในพื้นที่ อ.บางปะกง ถึงการกระทำผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

นายวิรัตน์ เจริญวงศ์

โดยนายวิรัตน์ เจริญวงศ์ ผอ. กกต. จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวเปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า การที่ผู้สมัครได้เข้ามาร้องเรียนถึงความผิดปกติ หรือมีข้อสงสัยที่ผู้สมัครเชื่อว่าอาจจะมีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้น หลังจากผ่านพ้นวันเลือกตั้งมาแล้วนั้นอาจจะไม่เป็นผล เนื่องจากต้องกลับไปดูว่าทางคณะกรรมการประจำหน่วย (กปน.) ได้มีการทำบันทึกเหตุการณ์ตามแบบ 5/3 ที่ทาง กกต. กำหนดไว้ตามระเบียบ ข้อ 25 คือ การทักท้วงระหว่างที่มีการนับคะแนนหรือไม่

กลางตำราแจง

โดยหากไม่ได้มีการทำบันทึกตามแบบ 5/3 ไว้ ก็จะถือว่าไม่มีหลักฐาน แต่หากผู้สมัครมีการทักท้วง ไว้ตามแบบ 5/5 และได้ยื่นไว้ต่อทาง กปน. ให้ได้ทำบันทึกในทันที ที่ผู้สมัครพบความผิดปกติก็จะเป็นหลักฐานสำคัญที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาประกอบในการสืบสวนไต่สวนหาข้อเท็จจริงในภายหลังได้ โดยเป็นความรับผิดชอบของทางผู้สมัครเอง ที่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้ถึงระเบียบข้อกำหนดต่างๆในการลงสมัครรับเลือกตั้ง

ร้องต้องมีหลักฐาน

โดยเราต้องทำการตรวจสอบว่าแบบบันทึกเหตุการณ์ทั้งสองแบบนี้ มีหรือไม่ ซึ่งก่อนมีการจัดการเลือกตั้งทาง กกต. ได้มีการเรียกประชุมชี้แจงให้แก่ผู้สมัครได้รับทราบขั้นตอน พร้อมแจกจ่ายคู่มือเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับเอาไว้ทั้งหมดแล้ว ว่าหากมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น กรรมการประจำหน่วยจะต้องทำบันทึกตามแบบ 5/3 ส่วนทางผู้สมัครเองหากพบความไม่ถูกต้องให้ทำบันทึกการทักท้วงตามแบบ 5/5 และยื่นต่อคณะกรรมการหน่วยไว้

แบบบันทึกเหตุการณ์

จึงเป็นสิ่งที่ผู้สมัครเองจะต้องนำไปปฏิบัติในวันเลือกตั้งทั้งหมด รวมถึงผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งด้วย ซึ่งหากไม่ได้มีการบันทึกเหตุการณ์ตามแบบทั้ง 2 นั้น ก็อาจเข้าใจได้ว่าการเลือกตั้งในวันนั้นเป็นไปโดยปกติ โดยที่ไม่ได้มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นตามที่มีผู้มาเข้ายื่นร้องเรียนในภายหลัง ทาง กกต.ก็อาจจะสั่งไม่รับคำร้องได้ นายวิรัตน์ กล่าว

แบบทักท้วง

และกล่าวต่ออีกว่า สำหรับเรื่องนี้เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อีก ในการเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับเทศบาล และ อบต. ซึ่งทาง กกต. จะรับไว้เป็นเรื่องที่จะต้องนำกลับไปทบทวน และทำการแก้ไขในส่วนที่จะต้องกลับไปเน้นย้ำ และให้ความรู้แก่ผู้สมัครไว้ก่อนการเลือกตั้งด้วย ว่าการใช้แบบบันทึกเหตุการณ์ 5/3 และแบบการบันทึกการทักท้วง 5/5 นั้น เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้สมัครจะต้องนำไปใช้ในวันเลือกตั้งหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นในหน่วยเลือกตั้งและนับคะแนน นายวิรัตน์ ระบุ

ผู้สมัครต้องบันทึกเอง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สนทะนาพร อินจันทร์

สนทะนาพร อินจันทร์

ลุยงานช่วยเหลือคนเดือดร้อนมาทั้งชีวิต อย่างไม่คิดเรียกสิ่งตอบแทน