X

กก.ที่ปรึกษาผังเมืองนครศรีธรรมราช ร้องทบทวนโครงการผันน้ำอ้อมเมือง อย่าคิดเพียงเปิดปิดคอนกรีต ควรมองแบบองคาพยพ

นายสวัสดิ์ สมัครพงศ์ คณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าว ในเวทีการประชุมเชิงปฎิบัติการโครงการวางผังการระบายน้ำจังหวัดในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จัดขึ้นโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยและรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช และ ตรังว่า ในที่ประชุมได้มีการนำเสนอเรื่องการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดนครศรีธรรมราช แยกเป็น โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ และ การเฝ้าระวังเตือนภัยในพื้นที่เมืองนครศรีธรรมราช และเทศบาลเมืองทุ่งสง

“ จะเห็นได้ว่า ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้แจกแจงโครงการออกเป็นหลายรูปแบบ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำได้รับการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง แต่มองว่าหน่วยงานพยายามที่จะคิดถึงเรื่องการเปิดปิดทางน้ำโดยอาศัยโครงสร้างคอนกรีตเป็นตัวหลัก แต่ไม่ได้มีการศึกษาแบบองคาพยพ หมายถึงไม่ได้ศึกษาผลได้ผลเสีย คิดแต่จัดสรรงบประมาณจำนวนมาก เพื่อนำมาก่อสร้าง แต่ไม่ได้คิดหาวิธีการ แบบระบบนิเวศที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ในที่สุดภูมิคุ้มกันในคน ในสิ่งแวดล้อมหายไปหมด เหลือแต่แท่งคอนกรีตที่ตั้งนิ่ง”

อย่างไรก็ตามต้องไม่ลืมว่านครศรีธรรมราชมีแหล่งต้นน้ำมาจากเทือกเขาหลวง ไหลลงมาทุกทิศทาง ควรจะมีวิธีการบริหารจัดการน้ำจากต้นน้ำอย่างไรต่างหาก ซึ่งการระบายน้ำแบบกระจายน้ำ หรือ การแบ่งน้ำ ที่ไหลมาจากพื้นที่ต้นน้ำเทือกเขาหลวงนั้น สามารถแบ่งน้ำจากการไหลเคลื่อนเข้าสู่ชุมชนเมืองได้ คือ 1.ปล่อยให้น้ำไหลเข้าสู่ชุมชนเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จากคลอง 5 สายได้แก่ คลองคูพาย สวนหลวง ป่าเหล้า หน้าเมือง และคลองท่าซัก 2. แบ่งน้ำหรือกระจายน้ำขึ้นไปทางเหนือ ไปลงคลองท่าแพ คลองปากพะยิง อ.ท่าสาลา โดยขุดคลองหรือร่องคู่ขนาดใหญ่เลียบถนนเส้นอ้อมเมือง (ถนนเส้นบางปู-ร่อนพิบูลย์) ใช้เป็นเส้นทางเดินน้ำและกักเก็บน้ำใช้ยามน้ำแล้ง 3.กระจายน้ำหรือแบ่งน้ำลงทางใต้ ทำคลองระบายน้ำคู่กับถนน (ถนนบางปู-ร่อนพิบูลย์) และกระจายน้ำลงสู่ป่าพรุ ลงแม่น้ำปากพนัง และทุกคลอง

ขอเรียกร้องให้ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานชลประทานจังหวัดนครศรีธรรมราช ทบทวนการทำโครงการผันน้ำอ้อมเมืองแบบขุดคลองรวมศูนย์น้ำ ลงสู่พื้นที่บางจาก”ก้นอ่าวทะเลในอ่าวปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช” ซึ่งจะทำลายระบบนิเวศน์น้ำใต้ดินเป็นพื้นที่กลางน้ำหรือพื้นที่เกษตรและน้ำจะแห้งภัยแล้งจะเกิดขึ้น ควรใช้รูปแบบการกระจายน้ำหรือการแบ่งน้ำในสัดสวนที่เหมาะสมเพื่อให้ระบบที่สมดุลตั้งแต่ พื้นที่ต้นน้ำเทือกเขาหลวง พื้นที่กลางน้ำหรือพื้นที่การเกษตร พื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่รองรับน้ำ พื้นที่ชุมชนเมือง (เป็นที่ชายหาดเดิม)

ทั้งนี้ในวันที่ 26 ม.ค.61นี้ ทางสมาคมจะจัดเวทีเสวนาการจัดการน้ำเมืองคอนทั้งระบบ เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อหาทางออกร่วมกันอีกครั้ง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

กิติ์ดนัย ไชยนุรัตน์

กิติ์ดนัย ไชยนุรัตน์

ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นเว็บไซต์ 77 ข่าวเด็ด ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช แพลตฟอร์มชุมชนข่าวสาร 77 จังหวัด พบกับเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง กับข่าวท้องถิ่นทั่วประเทศ