X

PLANET เปิดตัวต้นแบบเมืองดิจิทัล (Digital City) ในอีอีซี เตรียมเล็งขยาย สู่หัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ

วันที่ 8 มีนาคม 2565 นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานสภา เป็นประธานในพิธี วางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง อาคารศูนย์ปฎิบัติการดิจิทัล Digital Monitoring and Operation Center (DMOC) ในพื้นที่โครงการ EEC SILICON TECH PARK อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระของ โดยมีรศ.ดร. สยาม เจริญเสียง ผู้อำนวยการสถาบัน FIBO ดร. ธัชพล กาญจนกูล ดร. เพ็ชร ชินบุตร รองเลขาธิการ EEC นายณไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Silicon Tech Park นายอนันต์ นาคนิยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายสุชิน พูลหิรัญ นายกเทศบาลตำบลบ้านฉาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและแขกผู้มีเกียรติร่วมพิธี

ประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า บริษัท แเพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด(มหาชน) หรือ PLANET คือ ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบครบวงจร โดยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับบริษัท ซิลิคอน เทคโนโลยี พาร์ค จำกัด ให้เป็นผู้บริหาร โครงการ รับผิดชอบในการออกแบบ ก่อสร้าง และบริหารจัดการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล สำหรับโครงการ EEC SILICON TECH PARK

โดยมีเป้าหมายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการด้านพลังงานสะอาด ประหยัดพลังงาน มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคง เพื่อให้สามารถดึงดูคบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกให้มาลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Center) และศูนย์ออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Center) ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับเมืองต้นแบบที่มากกว่าเมืองอัจฉริยะ (Smart City) แต่จะเป็นพื้นที่ ต้นแบบ (Sandbox) สำหรับเมืองอัจฉริยะดิจิทัล (Digital City) ที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructures) ที่เชื่อมโยงระบบต่างๆ เข้าด้วยกันเป็น Platform เดียวกัน โดยมีเป้าหมายในการลดโลกร้อน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คาคว่า การก่อสร้างอาคาร Digital Monitoring and Operation Center จะแล้วเสร็จในช่วงเดือนตุลาคม 2565 นี้

นายประพัฒน์ กล่าวต่อว่า จากการเดินทางไปโรดโชว์ รวมถึงติดต่อไปยังเอกชน ผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น อินเดีย ยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ตะวันออกกลาง ให้เข้ามาใช้พื้นที่ โครงการ EEC SILICON TECH PARK ในการศึกษาวิจัย ออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดธุรกิจและอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซี พบว่าแนวโน้มได้รับการตอบรับที่ดี โดยเฉพาะระบบ Digital Infrastructures ที่เราออกแบบให้บริการใน พื้นที่ทั้งหมดของโครงการ ซึ่งคาดว่าในปี 2566 จะมีลูกค้าเข้าใช้บริการ 200 กว่าไร่ ในเฟสแรก

ทั้งนี้ การที่บริษัทฯ เข้ามาขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว นอกจากจะเป็นการสนับสนุน โครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ตามแผนยุทธศาสตร์ภายใต้น โยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลแล้ว ยังมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล มาช่วยเร่งขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม และมีบทบาทในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นเมืองดิจิทัลได้เร็วมากขึ้น

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน