X

หมอ-พยาบาล จัดเสวนา ตั้งคำถามกับพรรคการเมือง ก่อนเลือกตั้ง

หมอ-พยาบาล จัดเสวนา เชิญ 6 พรรคการเมือง ประชันนโยบายด้านสาธารณะสุข เสรีรวมไทย เสนอ แยกบุคลากรออกจาก ก.พ.

(14 มี.ค.62) แพทยสภา ,แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์ และ สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย จัดการเสวนาในหัวข้อ “นโยบาย พรรคการเมืองกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของบุคลากรในวิชาชีพสุขภาพเพื่อผู้ป่วย” ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 9 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี โดยมีตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆมาพูดคุยและเสวนาในหัวข้อ นโยบายทางด้านสาธารณสุข ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ , นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ จากพรรคเพื่อไทย , นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย , พลตรีอนุมนตรี วัฒนศิริ จากพรรคชาติพัฒนา , นายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช ตัวแทนพรรคเสรีรวมไทย และ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล จากพรรคพลังประชารัฐ

โดยมีศาสตราจารย์ เกียรติคุณแพทย์ หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา กล่าวเปิดงาน พร้อมทั้งกล่าวตอนหนึ่งระบุว่า ปัจจุบัน ปริมาณถ้าในประเทศไทยมีกว่า 65,000 คนและพยาบาลอีกกว่า 200,000 คน สมัครทางบุคลากรทางสาธารณสุขถูกเปรียบเปรยว่าเป็น “แรงงานในชุดขาว” ซึ่งต้องมีการใช้แรงงานและกำลังใจ เพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยแต่กลับไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานและเมื่อบุคลากรทางการแพทย์ไม่สามารถรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้ก็ตกเป็นเหยื่อของสังคมดังๆถูกมองว่าเป็นอาชญากร สาเหตุของการจัดงานครั้งนี้เพื่อที่จะเป็นการ รับฟังนโยบายเกี่ยวกับสาธารณสุขซึ่งมีผลโดยตรงกับบุคลากรทางการแพทย์

“เมื่อบุคลากรทางการแพทย์ไม่สามารถที่จะเอาชีวิตรอดได้แล้วจะสามารถช่วยชีวิตผู้อื่นได้อย่างไร ?” คุณช่อบงผกา วิริยานนท์ ผู้ดำเนินรายการกล่าวเปิดก่อนเชิญหัวหน้าพรรคและตัวแทนพรรคขึ้นมาร่วมเสวนา

โดยปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานเกินกว่าปกติซึ่งอาจจะพุ่งขึ้นไปถึง 2 และ 3 เท่า ทำอย่างไรให้บุคลากรทางการแพทย์ของภาครัฐอยู่ในจุดที่เหมาะสมไม่เกินเวลา ?

โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุว่า เรื่องนี้ต้องมองในส่วนของประชาชน ที่จะต้องมุ่งเน้นการลดการเจ็บไข้ได้ป่วย พร้อมทั้งระบุว่าตอนเป็นนายกฯ ได้ให้ความสำคัญกับ สมัชชาสุขภาพ ให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดี มีความเข้าใจที่ดีในการพบแพทย์ในยามจำเป็น ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ ก็จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง

“5 ปีที่ผมตกงาน ผมได้ไปคุยกับทุกกลุ่มวิชาชีพ บางเรื่องไม่จำเป็นต้องไปถึงมือแพทย์ แต่ยังมีอาชีพอื่นๆทางการแพทย์ที่จะรองรับ” อภิสิทธิ์ กล่าว

ขณะที่ นายแพทย์สุรวิทย์ จากพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ต้องมีการส่งเสริมให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและให้คนไทยแข็งแรง เมื่อแข็งแรงแล้วแพทย์ก็จะมีงานน้อยลง มีการเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการในโรงพยาบาลรัฐต่างๆ และขีดเส้นหน้าที่ของแต่ละหน้าที่ให้ชัดเจน พร้อมยกตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมา และจะนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิ์ภาพของแพทย์ในการรักษาคนไข้

ส่วน พลตรีอนุมนตรี จากพรรคชาติพัฒนา ระบุว่าทางพรรคมีนโยบายในการเสริมสร้างสุขภาพ ให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย ส่งเสริมการมีการออกกำลังกาย มินิสปอร์ทคอมเพล็กซ์ แต่เมื่อเป็นโรคและมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา พรรคมีนโยบายที่จะเพิ่มบุคลากรใน โรงพยาบาลชุมชน ที่เป็นหน้าด่านในการรักษาคนไข้เป็นด่านแรก เพิ่มเงิน

นายอนุทิน จากพรรคภูมิใจไทย ในฐานะอดีตผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณะสุข เคยเชิญผู้ใหญ่ในกระทรวงมารับฟังความคิดเห็น ซึ่งในอดีตนายอนุทินเคยใช้เทคนิคนี้ในการบริหารและได้ผล ดังนั้นพรรคจึงต้องการที่จะให้บุคลากรทางการแพทย์แสดงความต้องการออกมาว่าต้องการอะไร ตั้งเป้าให้ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลให้น้อยลง

ขณะที่ฝากฝั่งของ นายกอบศักดิ์ พรรค พปชร. มองว่า ต้นต่อของปัญหานี้คือจำนวนผู้ป่วยมากกว่าคนรักษา เราไม่สามารถทำแบบนักบินได้ที่จำกัดเวลาทำงาน พร้อมทั้งยอมรับว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจากระบบที่เป็นอยู่ เพราะประเทศไทยไม่มีหน้าด่านในการรับผู้ป่วย เช่น รพสต. , โรงพยาบาลชุมชน แต่ทุกอย่างกลับมากระจุกอยู่ที่โรงพยาบาล ดังนั้นพรรคจะ เพิ่มอุปกรณ์ เพิ่มคน เพิ่มงบ ปรับกองทุน ต่างให้ให้เหมาะสมกับปัจจุบัน

นายแพทย์เรวัต จากพรรคเสรีรวมไทย มองว่าปัจจุบันประเทศไทยในต่างจังหวัดแพทย์มีภาระงานที่เกินกำลัง โดย WHO หรือองค์การอนามัยโลก กำหนดให้แพทย์ 1 คน ดูแลผู้ป่วย 1,000 คน แต่ไทย อยู่ที่ 1:3,000 คน โดนทางพรรคจะสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เช่น Ai เข้ามามีใช้ในการรักษาผู้ป่วย

ขณะที่อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือ พยาบาลไม่ได้รับบรรจุ เป็น “ลูกจ้างชั่วคราว” ของโรงพยาบาลรัฐ จนถูกเปรียบเปรยว่า “ลูกจ้างชั่วคราว ชั่วชีวิต” ดังนั้นประเด็นนี้จึงถูกหยิบยกมาถามพรรคการเมืองต่างๆในครั้งนี้ด้วย

นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า พรรคมีนโยบายที่จะบรรจุพยาบาลทุกคน แต่ปัญหานี้คนที่จะเสนอได้ต้องเป็นผู้นำรัฐบาล และผู้นำจะต้องมองเห็นภาพรวมในส่วนนี้ ซึ่งในอดีตพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยให้มีการบรรจุมาแล้ว การลดงบของรัฐบาล การลดข้าราชการก็ไม่ควรจะทำแบบเหวียงแห แต่จะต้องทำแบบเข้าใจ พยาบาลเป็นบุคลากรที่จำเป็น ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่จะลดข้าราชการในส่วนอื่นแล้วนำมาเพิ่มในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ สัมพันธ์กับทางด้านพรรคชาติพัฒนา ก็มีนโยบายว่า ทุกคนต้องได้รับการบรรจุ โดยจะต้องมีแผนระยะต่างๆ การเพิ่มปริมาณบุคลากรทางการแพทย์จำนวนเท่าใด ไปลดข้าราชการในส่วนอื่น เพื่อมาเพิ่มในส่วนของพยาบาล

ด้าน นายแพทย์เรวัต จากพรรคเสรีรวมไทย ระบุว่า ถ้าปัญหาอยู่ที่ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. ก็ให้ข้าราชการสาธารณะสุขออกจาก ก.พ. มาจัดอัตรากำลังเอง ซึ่งสัมพันธ์กับ พรรคเพื่อไทย และ พรรคภูมิใจไทย

ขณะที่ พรรค พปชร. มองว่าปัญหานี้เกิดจากสิ่งที่ ก.พ. มองไม่เห็น เพราะปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในสังคมสูงอายุและทำให้ผู้ป่วยเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เราต้องเพิ่มตำแหน่ง เห็นต่างในส่วนของการออกจาก กพ. เนื่องจากเมื่อออกจาก กพ. จะทำให้สิทธิประโยชน์ต่างๆของข้าราชการหายไป ดังนั้นควรหาแนวทางอื่นๆร่วมกัน

จากปัญหาการขาดแคลนงบประมาณและบุคลากร ทำให้หมอที่เสียสละรักษาคนไข้ เกินกว่าที่จำนวนที่เหมาะสม จนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต และทำให้หมอผู้เสียสละตกเป็นผู้ต้องหา กฏหมายต่างๆในปัจจุบันไม่ยุติธรรมกับบุคลากรทางการแพทย์หรือไม่ ?

นายแพทย์เรวัต จากพรรคเสรีรวมไทย ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลระดับประเทศ และเห็นด้วยกับการที่เราควรจะต้องมีกฏหมายใหม่ ซึ่งไม่ควรจะใช้กฏหมายทั่วไปในการพิจารณาคดี ซึ่งปัจจุบันก็มีการร่าง พรบ. ในการพิจารณาคดีทางการแพทย์แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้าไปดูแล ต้องไม่ให้แพทย์ไปเผชิญชะตากรรมที่ไม่เป็นธรรมด้วยตัวเอง

ด้าน นายแพทย์สุรวิทย์ จากพรรคเพื่อไทย กฏหมายอาญาและคุ้มครองผู้บริโภค มีบริบทที่แตกต่างกันในส่วนของเจตนา ซึ่งเจตนาดังกล่าวจะทำให้มีการแก้ไขกฏหมายใหม่ แยกออกมาให้ชัดเจนจากกฏหมายทั่วไป เพราะบุคลากรทางการแพทย์ไม่มีเจตนาที่จะพรากค์ชีวิตใคร แต่มีเจตนาที่จะช่วยชีวิตคน

ด้านนายอนุทิน จากพรรคภูมิใจไทย พร้อมเคียงข้างและสู้ไปพร้อมกับคณะแพทย์ รัฐต้องให้ความคุ้มครองทุกกรณีในฐานะนิติบุคคลที่ว่าจ้างบุคลากรทางการแพทย์ โดยก่อนที่รัฐจะเข้ามาดูแล จะต้องมีกรรมการชุดหนึ่งในการปกป้องเจตนาของแพทย์ท่านนั้น แต่ขณะเดียวกันแพทย์และพยาบาลก็ต้องรักษาจรรญาบรรให้ดี

ส่วน นายอภิสิทธิ์ มองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ต้องดูให้ครบทุกด้าน การจัดทีมช่วยเหลือหมอก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ต้องไปดูกฏหมายด้วย การที่จะมีการเพิ่ม พรบ.การพิจารณากฏหมายอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องมีการเพิ่ม กฏหมายต่างหาก และต้องสร้างความชัดเจนในเรื่องของกฏหมายการคุ้มครองผู้บริโภค และยังเพิ่มเติมในส่วนของคดีแพ่ง ให้ผลักภาระไปที่ต้นสังกัตก่อน

ซึ่งทาง พรรค พปชร. จะสนับสนุนให้มี พรบ. เฉพาะของบุคลากรทางการแพทย์ และสนับสนุนให้มีกองทุนสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการรักษา ซึ่งรวมทั้ง ผู้ป่วย , แพทย์ และพยาบาล แต่มองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ปลายเหตุ แต่ต้นเหตุคือ การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโรงพยาบาล

ในตอนท้าย นายสมศักดิ์ จึงตระกูล ประธานชมรม ผอ.รพสต. ในฐานะตัวแทนชมรม ได้ขึ้นมาเสนอนโยบายต่อพรรคการเมือง โดยอยากให้พรรคการเมืองควรเข้ามาใส่ใจ รพสต. มากขึ้น เนื่องจาก รพสต.มีข้อจำกัดด้าน งบประมาณและบุคลากร รวมถึงข้อกฏหมายด้วย เพราะแผนยุทธศาสตร์ชาติไม่มีการส่งเสริม รพสต. จึงมองว่าพรรคการเมืองควรยก รพสต. เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมกับยื่นหนังสือให้กับตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆหลังจากจบการเสวนา

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ

นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ

ผู้ประกาศข่าว รายการ 77 ข่าวเด็ด ช่อง FIVE Channel HD / ผู้สื่อข่าว การเมืองและสังคม เว็บไซต์ 77ข่าวเด็ด และผู้สื่อข่าวออนไลน์ BrickinfoTV.com