X
หอการค้าจังหวัดตรัง,ก่อสร้างสนามบินตรัง,ผลกระทบสนามบิน,ท่าอากาศยานตรัง,สนามบินตรัง,

หอการค้าจังหวัดตรังมีความคืบหน้าของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรังมาฝาก

หอการค้าจังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562 นายพิชัย มะนะสุทธิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง นายธีรวัฒน์ หวังศิริเลิศ รองประธาน และนายเจริญสุข แซ่อึ่ง รองประธาน ร่วมให้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรัง กับคุณพิชามญชุ์ ยอดหาญ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม บริษัท เอ บี อี เอ็น เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท ผู้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยานตรัง

หอการค้าจังหวัดตรัง มีความคืบหน้าของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรังมาฝาก : องค์กระกอบของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรัง

1. ต่อเติมความยาวทางวิ่งด้านทิศตะวันตก 1,290×45 ม.(รื้อทางวิ่งเดิมทางด้านทิศตะวันออก ระยะทาง 400 ม.) พร้อมไหล่ทางวิ่ง ข้างละ 7.5 ม. ซึ่งหลังพัฒนาความยาวทางวิ่งจะเป็น 2,990×45 ม.

2. สร้างทางขับ (Taxiway) ทางด้านทิศใต้ของพื้นที่โครงการ จำนวน 3 ทางคือทางขับ เอ (Taxiway A) ทางขับ บี (Taxiway B) และทางขับ ซี (Taxiway C) ขนาด 182×23 ม.พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 10.5 ม. (ปัจจุบัน Taxiway มีจำนวน 2 ทาง คือ Taxiway A และ Taxiway B

3. สร้างลานจอดเครื่องบิน (Apron) ใหม่ทางด้านทิศใต้ของพื้นที่โครงการ ขนาด 135×600 ม. สามารถรองรับเครื่องบินขนาด Boeing 737-800 จำนวน 5 ลำ และ Boeing 737-400 ER จำนวน 5 ลำ

(ปัจจุบันลานจอดเครื่องบิน มีขนาดพื้นที่ 10,200 ตร.ม. สามารถรองรับเครื่องบินขนาด 179 ที่นั่งได้จำนวน 4 ลำพร้อมกัน)

4. สร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร มีขนาดพื้นที่โดยประมาณ 35,500 ตร.ม. สามารถรองรับผู้โดยสารจำนวน 1,200 คน/ชม.

(เดิมมีขนาดพื้นที่ 3,000 ตร.ม. รองรับผู้โดยสารจำนวน 300 คน/ชม และปัจุบันท่าอากาศยานตรังได้ดำเนินการปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้นเป็น 600 คน/ชม.)

5. สร้างลานจอดรถยนต์ ทางด้านซ้ายของอาคารที่พักผู้โดยสาร โดยพื้นที่ 47,950 ตร.ม.สามารถจอดรถยนต์ได้ 1,370 คัน (ปัจจุบันที่จอดรถยนต์มีพื้นที่ประมาณ 7,622 ตร.ม.สามารถจอดรถยนต์ได้จำนวน 200 คัน)

6. สร้างอุโมงค์รถไฟลอดใต้ทางวิ่งทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่โครงการ ขนาด 7x 25 ม. ระยะทาง 274 ม.

7. สร้างถนนตรวจการณ์ภายในท่าอากาศยาน จำนวน 2 ช่องจราจร รอบพื้นที่ท่าอากาศยานส่วนขยาย

8. สร้างทางหลวงชนบท ตง.3005 (ตามแนวใหม่) จำนวน 2 ช่องจราจร กว้าง 3 ม. พร้อมไหล่ทางกว้างข้างละ 0.5 ม.

9. สร้างทางเข้า-ออก สนามบินขนาด 4 ช่องจราจร กว้าง 3 ม. เกาะกลางกว้าง 4.2 ม. ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.5 ม. พร้อมทางเท้าข้างละ 3.5 ม. ทางด้านทิศตะวันออกเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 404

– หลังจากการพัฒนาท่าอากาศยานตรังเสร็จสิ้น อาคารที่พักผู้โดยสารใหม่ จะอยู่ฝั่งโรงเรียนวิเชียรมาตุ ทางเข้า-ออก ที่เป็น 4 ช่องจราจรจะอยู่ด้านถนนตรัง-ปะเหลียน การเดินทางเข้าไปจะต้องยูเทิร์นด้านหน้าโรงเรียนวิเชียรมาตุ ขณะนี้กำลังหารือกับกรมทางหลวงว่าจะมีทางแยกพิเศษเพื่อเลี้ยวเข้าสนามบินได้เลย โดยไม่ต้องไปยูเทิร์นหน้าโรงเรียนวิเชียรมาตุได้หรือไม่

– สำหรับทางเข้าฝั่งเทศบาลตำบลโคกหล่อ จะถูกปิดการใช้งาน ในขณะที่หอการค้าฯ อยากให้คงทางเข้าด้านนี้ไว้ เนื่องจากมีความสะดวกในการเดินทางมากกว่าฝั่งถนนตรัง-ปะเหลียน แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากหากเข้าฝั่งเทศบาลตำบลโคกหล่อเพื่อไปอาคารผู้โดยสารใหม่จะมีรันเวย์ ขวางอยู่

– สำหรับเหตุผลที่อาคารผู้โดยสารใหม่ย้ายไปอยู่ฝั่งโรงเรียนวิเชียรมาตุ เนื่องจากมีพื้นที่กว้าง และชั้นดินมีความแข็งแรงในการที่จะรับน้ำหนักเครื่องบินพร้อมกันหลายๆ ลำ ได้ดีกว่าฝั่งอาคารในปัจจุบัน

– อาคารที่พักผู้โดยสารที่ให้บริการปัจจุบันจะเปลี่ยนเป็นอาคารสำนักงานและอาคารสำหรับรับเสด็จแทน

– การดำเนินงานตามแผนพัฒนาแบ่งเป็น 2 ระยะ

ระยะที่ 1 กลางปี พ.ศ. 2562-2565 ดำเนินการก่อสร้าง อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ทางเข้า-ออก ลานจอดรถยนต์ทางขับใหม่ลานจอดเครื่องบินใหม่ได้พร้อมกัน10ลำ

ระยะที่ 2 กลางปี พ.ศ.2565-2567 ขยายความยาวทางวิ่ง อุโมงค์รถไฟลอดใต้ทางวิ่ง ถนนตรวจการณ์ งบประมาณในการดำเนินงาน 4,000 ล้านบาท

สำหรับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม   หอการค้าตรังได้แสดงความห่วงใยเรื่องเสียงของเครื่องบินที่จะส่งผลกระทบไปยังสถานศึกษาและสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียง รวมทั้งบ้านเรือนของประชาชน ขอให้คำนึงในเรื่องดังกล่าวด้วย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน