X

กฟผ. ชูกลยุทธ์ ‘Triple S’ ก้าวข้ามช่วงเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพื่อสมดุลที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ – กฟผ. ขับเคลื่อนภารกิจสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ควบคู่เดินหน้าสู่เป้าหมาย EGAT Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ.2050 ด้วยกลยุทธ์ Triple S ร่วมสนับสนุนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย ‘ความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศ’

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมเสวนา งเสริมพลังไทยสู่ความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศ (Powering Thailand for Climate Resilience and Sustainability)’ แสดงพลังร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย ความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศ ภายในงานการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference: TCAC) ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565

ผู้ว่าการ กฟผ. ระบุว่า กฟผ. มุ่งมั่นพัฒนาการผลิตและส่งไฟฟ้าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งมอบพลังงานสะอาด ภายใต้การรักษาความสมดุล ระหว่างความมั่นคงทางพลังงาน สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี พร้อมสนับสนุนกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ประเทศบรรลุเป้าหมาย ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ.2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี ค.ศ.2065 และเพื่อให้ทุกเป้าหมายสำเร็จได้ด้วยดี ทุกภาคส่วนจะต้องผสานพลังร่วมด้วยช่วยกันเพื่อก้าวไปสู่สังคมสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนในอนาคตสำหรับคนไทยทุกคน

ในช่วงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสู่ความสมดุลทางคาร์บอน กฟผ. เดินหน้าขับเคลื่อนภารกิจหลัก เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน มุ่งเน้นให้คนในประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอและทั่วถึง ควบคู่ไปกับการปรับทิศทางในการดำเนินงานทุกมิติให้สอดรับกับทิศทางพลังงานของไทยและโลก โดยตั้งเป้าหมาย EGAT Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ.2050 ด้วยกลยุทธ์ Triple S ประกอบด้วย

1.Sources Transformation ปรับเพื่อลด คือ ปรับการผลิตและส่งไฟฟ้าเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปรับปรุงโรงไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเสริมให้มีความยืดหยุ่นรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น รวมถึงใช้ระบบกักเก็บพลังงาน อาทิ โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (BESS) และระบบกักเก็บพลังงานแบบไฮโดรเจน (HESS)

2.Sink Co-creation เพิ่มแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอน โดย กฟผ. ผนึกกำลังพันธมิตรตั้งธงปลูกป่าล้านไร่ ภายใน ค.ศ.2031 และอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อนำเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) มาใช้กับโรงไฟฟ้าของ กฟผ.

3.Support Measures Mechanism ส่งเสริมการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก มุ่งเน้นให้คนไทยมีส่วนร่วมในการลดใช้ไฟฟ้า โดยรณรงค์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร โดย กฟผ. พัฒนา EV BUSINESS Solutions ทั้งในส่วนของสถานีชาร์จ EleX by EGAT แอปพลิเคชัน EleXA เครื่องชาร์จที่ติดตั้งในบริเวณบ้าน EGAT Wallbox และระบบบริหารจัดการสถานีอัดประจุไฟฟ้า BackEN รวมถึงการสนับสนุนโครงการห้องเรียนสีเขียว และการสนับสนุนโครงการเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG) การกำจัดซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและโครงการโคก หนอง นา โมเดล วิถีใหม่

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

ลักขณา สุริยงค์

ลักขณา สุริยงค์

ทำหน้าที่สื่อมวลชนมาเกือบ 30 ปี ทั้งงานสายข่าวและจัดรายการทีวี-วิทยุมานับไม่ถ้วน "ไม่เป็นกลาง แต่เป็นธรรม พร้อมนำเสนอความจริง"