X

นักศึกษา มสธ. ลงพื้นที่เจาะลึกนโยบายการพัฒนา ถอดบทเรียนสู่กระบวนการสื่อสารร่วมพัฒนาท้องถิ่น

มสธ. นำทีมนักศึกษาเรียนรู้เข้มจากภาคสนาม ป. โท แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นลงพื้นที่เจาะลึกเนื้อหาการจัดทำนโยบายของผู้บริหาร “นายกทรงชัย” นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสงและทีมสมาชิกสภาฯ เพื่อถอดบทเรียน การบูรณาการนวัตกรรมการสื่อสารทางการปกครองส่วนท้องถิ่น

ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน ที่ผ่านมา รศ.ดร. วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตรแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น/อาจารย์ผู้สอน ได้จัดสัมนาเสริมที่จังหวัดสตูล โดยในวันที่ 15 ก่อนการสัมมนาเสริมได้พาทีมนักศึกษาจากศูนย์การศึกษาเฉพาะกิจจังหวัดสตูลลงลุยพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมมูลและสัมภาษณ์เจาะลึกเนื้อหาสาระด้านการจัดทำนโยบายการพัฒนาท้องถิ่นในมิติต่างๆ ของเทศบาลเมืองทุ่งสง อ. ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ที่ห้องประชุมเล็กเทศบาลเมือง จากนายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตรีและทีมสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งได้รับความร่วมมือในการตอบข้อซักถามปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาผลการดำเนินงานและแผนการพัฒนาเมืองในมิติต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตอย่างครอบคลุม

รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว การลงภาคสนามของนักศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้จากการสัมผัสพื้นที่และข้อมูลจริงด้วยตัวเอง ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาชุดวิชา การบูรณาการนวัตกรรมการสื่อสารทางการปกครองท้องถิ่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฏีการสื่อสารเพื่อสร้างกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง การวางแผน การดำเนินการสื่อสาร การประเมิน ตลอดจนสามารถทดสอบนวัตกรรมการสื่อสารในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทาการปกครองท้องถิ่นในมิติต่างๆ สู่ภาคปฏิบัติ

“นอกเหนือจากการเรียนรู้เรื่องแนวคิด หลักการ แล้วเป้าประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์หลักการสื่อสารทางการปกครองท้องถิ่นสู่การปฏิบัติในการรวมพลังร่วมแก้ไขปัญหาสังคม และการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ โดยสามารถถอดบทเรียนและประยุกต์การสื่อสารทางปกครองท้องถิ่นจากประเด็นที่ได้ลงพื้นที่จริงได้”

รศ.ดร.วิทยาธร เปิดเผยอีกว่า จุดเด่นของชุดวิชาการบูรณาการนวัตกรรมการสื่อสารทางการปกครองท้องถิ่นออกแบบเนื้อหาสาระด้าน การณรงค์ทางการเมืองและทางสังคม โดยนำการสื่อสารมาใช้ในการแก้ปัญหาการสื่อสารเชิงประเด็น เช่น การสื่อสารเพื่อการรักษาความสะอาด การจัดการขยะและ สิ่งปฏิกูล ยาเสพติด การค้ามนุษย์ สุขภาพอนามัย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การเสียภาษี การเรียนรู้ตลอดชีวิต การบริหารความขัดแย้งในชุมชน และปัญหาอื่น ๆ การลงพื้นที่ภาคสนามเป็นการเรียนรู้จากการถอดบทเรียนเพื่อการประยุกต์การสื่อสารทางการปกครองท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ