X

น่าน โรคเนื้อ-หนัง เน่า เสียชีวิตแล้ว 1 ราย เข้า ICU 2 ราย เข้า โรงพยาบาลเพิ่มอีก 1 ราย มีผู้ป่วยรวมแล้วกว่า 26 ราย

น่าน โรคเนื้อ-หนัง เน่า เสียชีวิตแล้ว 1 ราย เข้า ICU 2 ราย เข้า โรงพยาบาลเพิ่มอีก 1 ราย มีผู้ป่วยรวมแล้วกว่า 26 ราย เตือนแพทย์ เตือนประชาชนลุยน้ำลุยโคลน ให้สวมใส่เครื่องป้องกัน หากแช่น้ำเป็นเวลานาน

ที่โรงพยาบาลน่าน นายแพทย์ พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า มีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล เป็นโรคเกี่ยวกับผิวหนัง หรือเรียนว่าโรค หนังเปื่อย เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลน่านแล้ว จำนวน 25 ราย กำลังพักฟื้น 5 ราย และอยู่ห้อง ICU อีก 2 ราย และ เสียชีวิตแล้ว 1 ราย ซึ่งโรคดังกล่าวนี้ เป็นโรคที่ติดเชื้อจากทางผิวหนังลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อจนเป็นแผลพุพอง และมีหนอง ลามเข้าไปถึงกล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง ซึ่งบางราย ต้องทำการผ่าตัด หรือกรีดเนื้อ เปิดแผล เพื่อให้หนองไหลอกมา การระบาดของโรคเนื้อเน่า โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีประวัติไปดำนา ลุยโคลน และโดนหอย หรือเศษแก้วบาด เศษไม้ตำเท้า และไม่ได้ทำแผล หรือรักษาใดๆ เนื่องจากต้องทำนาให้เสร็จ ทำให้เชื้อโรคเข้าไปในบาดแผล และเพิ่มจำนวนจนเกิดอาการรุนแรงได้ โรคเนื้อเน่าส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคทั้งชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน เช่น คลอสติเดียม และเชื้อชนิดใช้ออกซิเจนเช่น สแตปฟิโลคอคคัส สเตรปโตคอคคัส ชนิดที่สามารถสร้างสารพิษได้ โดยอาการจะมีผิวหนังบวมแดงร้อน ถ้าเชื้อลงลึกกินทั้งชั้นผิวหนังจะพบตุ่มพุพอง และค่อยๆเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง และถ้าเนื้อตายจะกลายเป็นสีดำ บางรายอาจจะต้องตัดขา หรืออาจจะมีการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด ไข้สูง และทำให้เสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายคือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำได้แก่ ประวัติดื่มสุราประจำ เป็นโรคตับแข็ง โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และการรับประทานยา สเตียรอยด์ ส่วนใหญ่โรคนี้จะระบาดในฤดูฝนในช่วงที่เกษตรกรลงดำนา ลุยโคลน จึงขอเตือนให้ผู้ที่ทำนา ถ้ามีแผลตามร่างกาย ขอให้รีบขึ้นจากโคลน รีบล้างแผลโดยให้น้ำสะอาดไหลผ่าน ซับด้วยผ้าสะอาด และปิดแผล ถ้ามียาฆ่าเชื้อโพวิโดนไอโอดีนสามารถใช้ทาแผลได้ แล้วรีบมาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อให้ตรวจรักษาต่อไป สำหรับการรักษาแพทย์จำเป็นต้องตัดเนื้อตายออกให้หมด และให้ยาปฎิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งถ้าเชื้อยังไม่ลุกลามเข้ากระแสเลือด ผลลัพธ์ของการรักษาจะค่อนข้างดี สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ไม่ได้ลงนา หรือไม่มีบาดแผลก็อาจจะติดเชื้อดังกล่าวได้ โดยการเกา หรือมีบาดแผลถลอกเล็กน้อย เชื้อสเตรปโตคอคคัส หรือสแตปฟิโลคอคคัสที่อยู่บริเวณผิวหนังอาจจะเข้าไปในแผลแล้วเกิดการติดเชื้อ ถ้าผู้ใดมีผิวหนังบวมแดงอย่างรวดเร็ว แล้วมีตุ่มพุพองที่ผิวหนัง แนะนำให้รีบมาตรวจรักษาก่อนที่อาการจะลุกลามจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในส่วนของ นายแพทย์ พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ได้กล่าวว่า ฝากเตือนประชาชนที่ต้องลุยน้ำลุยโคลน ให้สวมเครื่องป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดบาดแผล หรือถ้าหากมีแผลอยู่แล้ว ให้หลีกเลี่ยงการลุยน้ำและโคน เพื่อไม่ให้เชื้อดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล


ข่าวโดย : บรรลือ/ข่าว/สวท.น่าน3

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

ไชยรัตน์ รัตสิมวงศ์

ไชยรัตน์ รัตสิมวงศ์

ลูกเป็ด เฝ้าน่าน