X

พวกเขาไม่ใช่ “ผีตองเหลือง” โครงตามพระราชดำริฯ บ้านห้วยลู่ วางศิลาฤกษ์สร้างโรงเรียน

น่าน พวกเขาไม่ใช่ “ผีตองเหลือง” โครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ห้วยลู่ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างอาคารเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

ข่าววันนี้ น่าน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา เวลา15.09 น. ณ บริเวณพื้นที่เตรียมก่อสร้างอาคารเรียน ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ห้วยลู่ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บ้านห้วยลู่ ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน จัดประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยลู่ หมู่ที่ 5 ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

โดย ดร.รัตนา สมสกุลรุ่งเรือง ประธานมูลนิธิร่วมกตัญญู เป็นประธานในการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนอาคารเรียนศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยลู่บ้านห้วยลู่ ในครั้งนี้

โดยมี พ.ต.อ.วชิระ พยาน้อย ผู้กำกับการ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ และมีผู้เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก อาทิ นายสมฤทธิ์ สวามิภักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายวิศิษฐ์ ทวีสิงห์ นายอำเภอเมืองน่าน และหน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในพิธี

ทั้งนี้ ราษฎรชาวมละบริ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ห้วยลู่ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บ้านห้วยลู่ ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงพระราชทานความช่วยเหลือให้ชาว มละบริได้พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยอาศัยอยู่กับป่าดูแลป่าตามวิถีชีวิตเดิม โดยรู้เท่าทันสังคมโลก

สำหรับชาวมละบริบ้านห้วยลู่นั้น เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม จนปัจจุบันหลังดำเนินโครงการผืนป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ โดยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ยังคงวิถีชีวิตแบบเดิมที่มีความพอเพียง และชอบความสันโดษ โดยมละบริกลุ่มนี้ได้รับการศึกษาที่ก้าวทันโลก ต่างจากกลุ่มที่ต้องตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มนายทุนที่แสวงหาผลประโยชน์ ที่มักชี้นำเพื่อให้เกิดความสงสารและทำให้สังคมมองว่าเป็นสิ่งประหลาด เช่น นำมาแต่งตัวเหมือนคนป่าออกแสดงให้นักท่องเที่ยวดู โดยชี้นำว่าพวกนี้เป็น “ผีตองเหลือง”

นายบุญทิพย์ ดอยศักดิ์ เคยให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า เมื่อพวกเขามีความสุขกับวิถีชีวิตที่อาศัยอยู่กับป่า และมละบริมีเส้นทางเดินตามวิถีชีวิตกับการอยู่กับป่า โดยการหาของป่าเพื่อยังชีพเช่นการหาอาหารบริโภค จำพวก ผลไม้ หรือ หัวเผือกหัวมัน ก็จะเก็บมาบริโภคเพียงครึ่งหัวและที่เหลือก็ปลูกไว้ที่เดิม จึงมีอาหารให้บริโภคตลอดทางที่ใช้เดิน โดยมีเส้นทางเดินในภาคเหนือของไทยโดยเฉพาะจังหวัด น่าน พะเยา และแพร่ มีสองกลุ่มคือ สายบนและสายล่าง สายบนคือป่าเขาเส้นทางน่านและพะเยา สายล่างคือป่าเขาเส้นทางสายแพร่น่าน แต่มีจุดบรรจบกันคือบริเวณขุนน้ำ ของแม่น้ำน่าน

ระหว่างออกท่องตามป่าเขา หากพบเจอผู้คนจากชาติพันธุ์อื่น ก็จะหลบหนีเพราะกลัวการถูกจับมากดขี่ข่มเหงใช้แรงงาน ทั้งจากการคุกคามทางเพศ จึงทำให้ผู้คนเข้าใจว่าพวกเขาเป็น “ผีตองเหลือง” ซึ่งเมื่อก่อนไม่ได้เข้าใจว่าผีตองเหลืองหมายถึงอะไร แต่ตอนหลังได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ทำให้ทราบและรู้ความหมาย โดยบุญทิพย์ได้บอกว่า พวกเราไม่ใช่ “ผี” พวกเราคือคน คือมนุษย์ มีความรู้สึก ที่ก่อนนั้นเราหลบนี้ผู้คนเพราะเราถูกข่มเหงรังแก

จากการสืบค้นข้อมูลของผู้สื่อข่าว ก็ทำให้เห็นหน้าประวัติศาสตร์การกดขี่ข่มแห่งกลุ่มชาติพันธุ์นี้ต่างๆ มากมาย จนปัจจุบันแม้แต่คำใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ ยังมีการเหยียดชาติพันธุ์กลุ่มนี้ยิ่งกว่าทาส เพราะทาสยังมีตัวตน แต่การเรียกกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ว่า “ผี” (ผีตองเหลือง) ซึ้งไม่ได้มีตัวตนอยู่ แม้แต่พจนานุกรม ก็ยังบัญญัติคำที่ดูหมิ่นชาติพันธุ์นี้ไว้โดยไม่นึกถึงความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มชาติพันธุ์นี้เลย

ในช่วงที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวพบประเด็นการขอรับบริจาค จากผู้ประสงค์ดีหลายท่าน ทั้งมีผู้หวังดีชี้เบาะแสให้ดูตามสื่อออนไลน์ต่างๆ ถึงการขอรับบริจาคสิ่งของ และเครื่องอุปโภคบริโภค โดยใช้ถ่อยความที่ไม่เป็นจริง ที่มักบอกว่าชาวบ้านมละบริบ้านห้วยลู่นี้ เป็น “ผีตองเหลือง” ที่มีความเป็นอยู่ที่ลำบากทุกข์ยาก และใช้ถ่อยคำที่ทำให้ผู้คนเข้าใจถึงพวกเขาน่าสงสาร เพื่อให้ผู้คนมาบริจาคสิ่งของ หรือเงินตรา โดยไม่ทราบจุดประสงค์ที่แน่ชัดว่าต้องการสิ่งใด และทำไปเพื่อมุ่งหวังสิ่งใด ที่อาจทำให้สังคมเกิดความเข้าใจที่คราดเคลื่อนได้

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวมีความกังวลถึงสิ่งที่ผู้ประสงค์ดี ได้ใช้ถ่อยคำชี้นำสังคมโดยขาดวิจารณยานและข้อมูลที่ถูกต้อง เกรงจะเป็นที่ติฉินนินทราจากสังคมโดยขาดข้อมูลที่ถูกต้อง จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียพระเกียรติฯ โดยรู้เท่าไม่ถึงการ

ผู้สื่อข่าวขอนำเรียนชี้แจงข้อมูลแทนปากเสียงของพี่น้องชาวบ้านมละบริว่า มละบริบ้านห้วยลู่ ไม่ได้มีความเป็นอยู่ที่ลำบากทุกข์ยากแสนสาหัสตามที่ผู้ประสงค์ดีได้ชี้นำสังคมให้เข้าใจ โดยมละบริบ้านห้วยลู่นี้ มีความเป็นอยู่แบบพอเพียง และชอบที่มีและใช้วิถีชีวิตใกล้เคียงกับวิถีชีวิตครั้งเมื่ออยู่ในป่า และการดำรงชีวิตในปัจจุบันนี้

สนองตามแนวพระราชดำริฯ ที่ทรงห่วงใยอยากให้มละบริอยู่กับป่าดูแลป่า ให้มีความอิสระ เรียนรู้พึ่งพอตนเองแบบพอเพียงได้ และปรับตัวเท่าทันต่อสังคมโลกได้ โดยชาวบ้านมละบริบ้านห้วยรู้นี้ เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ห้วยลู่ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยชาวบ้าน คณะเจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการ ทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทหารพันธุ์ดี มทบ.38 ตชด.324 และผู้สื่อข่าวมีความกังวลเป็นอย่างสูง จากการที่สังคมอาจได้รับข้อมูลที่คราดเคลื่อน

หากผู้ประสงค์อยากให้การสนับสนุนช่วยเหลือ มละบริบ้านห้วยลู่ และเป็นการสร้างค่านิยมที่ดีในสังคมเพราะมละบริบ้านห้วยลู่ ไม่ใช่ผู้ประสบภัยจนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ หากประสงค์จะบริจาคขอรับเป็นเมล็ดพันธุ์พืช อุปกรณ์ทางการเกษตร หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบอาชีพ และองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ หรือช่วยสนับสนุนสินค้าของชุมชนเพื่อสร้างรายได้ สามารถติดตามได้ที่นี่เร็วๆ นี้

ส่วนสิ่งของสำหรับเด็ก ขอเป็นอุปกรณ์เสริมสร้างการเรียนรู้ หรือของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก และไม่ขอรับเสื้อผ้า อาหาร หรือ ขนมขบเคี้ยวเด็ก โดยการจัดการสิ่งของอุปโภคบริโภคของชาวบ้านเป็นแบบสหกรณ์ การบริโภคอาหารใช้การรวมกลุ่มกันประกอบเลี้ยงที่สหกรณ์ และแจกจ่ายจำหน่ายทั่วถึงทุกคนในหมู่บ้านกว่า 80 คน มีเงินทุนสหกรณ์จากเงินทุนเริ่มต้น 10,000 บาท ปัจจุบันกว่า 200,000 บาท และเงินทุนหมุนเวียนต่อเดือนในรูปแบบสหกรณ์กว่า 80,000 บาท หากประสงค์ที่จะทราบข้อมูลที่ถูกต้องสามารถขอรับข้อมูลได้ตลอด 24 ชม. จากเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้สื่อข่าว เพจเฟซบุ๊ค 77ข่าวเด็ดน่าน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

ไชยรัตน์ รัตสิมวงศ์

ไชยรัตน์ รัตสิมวงศ์

ลูกเป็ด เฝ้าน่าน