X

“พงสะตือ” หมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ 100 เปอร์เซ็นต์

ที่โรงเรียนบ้านพงสะตือ ต.บ้านแก่ง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารแผนสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสุขภาวะ (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่บ้านพงสะตือ ที่ สสส. จัดเป็นต้นแบบ “ชุมชนน่าอยู่” รูปแบบจัดตั้งสภาผู้นำ ประชาชาชนมีส่วนร่วม  ลดใช้สารเคมีทางการเกษตรสำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นหมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ ส่งเสริมปลูกกระเทียมปลอดสาร สร้างรายได้กว่าครึ่งล้านต่อครัวเรือน

ภายในงานได้มีการจำลอง พร้อมนำผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ ที่ชาวบ้านพงสะตือปลูก โชว์ และประกอบอาหารเมนูพื้นบ้านให้ได้รับประทาน โดยเฉพาะการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อทานในครัวเรือน ที่ จนท.สามารถพิสูจน์ด้วยการตรวจสารเคมีตกค้างได้ และเปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนรู้ ผลสำเร็จ กระบวนการที่สร้างชุมชนทำเกษตรปลอดสารพิษ นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อติดตาม และเปิดโอกาสให้คณะทำงานโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคเหนือ และหน่วยจัดการระดับจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับจังหวัดอุตรดิตถ์ เข้ามาเรียนรู้แนวทางการดำเนินงาน และค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ จากชุมชนต้นแบบบ้านพงสะตือ ขับเคลื่อนด้านสุขภาพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน  รับฟังปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ร่วมกับหน่วยจัดการ เพื่อวางแผนสนับสนุนให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพได้ เป็นการใช้มาตรการป้องกัน  สร้างเสริมสุขภาพ โดยประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วม นำไปสู่ “ชุมชนน่าอยู่” นายสมรส มั่นกำเนิด ผู้ใหญ่บ้านพงสะตือ กล่าวว่า เดิมบ้านพงสะตือ 190  ครัวเรือนทำเกษตรใช้สารเคมี   ปี 2559 ชุมชนเริ่มตระหนัก จึงประสานขอเข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ โดยมี สสส.เป็นที่ปรึกษา สร้างกระบวนการ ละลายพฤติกรรม ชี้โทษผิดภัยจากสารเคมี และให้การสนับสนุนขับเคลื่อนด้วยสภาผู้นำชุมชน  เป็นกลไกให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม ตระหนักถึงเรื่องสุขภาพ ที่มาจากอาหารการกิน ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกผักปลอดสารเคมี เพื่อบริโภคในครัวเรือนได้สำเร็จ และลดต้นทุนการผลิต นำไปสู่สุขภาวะที่ดี ทั้งคน ชุมชน เมื่อคนในชุมชนมีความตระหนักต่อปัญหาดังกล่าว  ปี 2560 สสส.ยังให้การสนับสนุนต่อเนื่อง พบว่าชุมชนสามารถลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรต่างๆ ลงได้ ไม่เฉพาะการปลูกผักปลอดสารทานในครอบครัวเท่านั้น ยังต่อยอดไปยังพืชการเกษตร คือ กระเทียม ซึ่งปัจจุบัน  89 ครัวเรือนปลูกกระเทียมปลอดสารพิษ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นที่ต้องการของตลาด สุขภาพดีและรายได้ดีตามด้วย ส่งผลให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายกระเทียมสูงถึง 590,150 บาทต่อครัวเรือนต่อปี และยังลดรายจ่ายต้นทุนด้านสารเคมีได้ถึง 36,500 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือใจเป็นหนึ่งเดียวของคนในชุมชน ที่ตระหนักและพร้อมใจ สร้างชุมชนน่าอยู่ ทำเกษตรปลอดสารพิษ

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

บุญพิมพ์ ใบยา

บุญพิมพ์ ใบยา

ผู้สื่อข่าวพิเศษ ช่อง 9 อสทม.สำนักข่าวไทย ,เนชั่น,workpoint tv ช่อง 23 ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์