X

ศาลเยาวชนเชียงราย ประสานกระบวนการยุติธรรมแก้ “เด็กตกเป็นเหยื่อ”

เชียงราย-ศาลเยาวชนเชียงราย ประสานกระบวนการยุติธรรมแก้ “เด็กตกเป็นเหยื่อ”

เมื่อเวลา 9.00 น.วันที่ 15 ก.ค.63 นายธวัช เรนเรือง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการประสานงานความร่วมมือด้านการยุติธรรม ในส่วนของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ณ ห้องบุษราคัม โรงแรมวังคำ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย มี นายอำนาจ เพียรไทย ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงราย นายบุญจวน พานิช ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงเชียงราย นายสงวนศักดิ์ กิมเอ็ง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลเยาวชนฯ จ.เชียงราย นางพัชราภา อินทรกำแหง ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงราย อัยการ สภาทนายความ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงราย สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงราย สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงราย เรือนจํากลางเชียงราย และพนักงานสอบสวน ทั้ง 18 สภ.ในจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมนายธวัช ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนเชียงราย กล่าวว่าเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติงานร่วมกัน ตามนโยบายของประธานศาลฎีกา กำหนดให้ส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรม กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เป็นกลยุทธ์หนึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์กระชับความร่วมมือทางการศาล การยุติธรรม ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงราย มีภารกิจที่มุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเด็ก และเยาวชน ให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด โดยมุ่งหมายให้เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด ได้รับการแก้ไขและปรับตัวเป็นพลเมืองดี เป็นการคืนคนดีสู่สังคมซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมภายในจังหวัด หรือพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายใหม่ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่สำคัญ เพื่อให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีความเข้าใจถึงปัญหาในทางปฏิบัติและการดำเนินงานระหว่างกัน และปัจจุบันพบว่าปัญหาทางสังคมมันจะเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวัน และทุกหน่วยต้องความร่วมมือช่วยกันในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาเครือข่ายระบบกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาทางสังคมจะลดน้อยลง เพราะปัจจุบันทุกหน่วยต้องร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ผู้กระทำความผิดใช้เด็กเป็นเหยื่อในการกระทำความผิด ชุมชนและครอบครัวจึงเป็นกำลังสำคัญที่จะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชนที่ถูกใช้ให้กระทำความผิด เพราะเด็กที่เป็นเหยื่อถูกใช้ให้กระทำความผิด อาจเป็นเพราะสติของพวกเขายังไม่แข็งแรงพอ จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือ ศาลก็ไม่อยากลงโทษเด็ก แต่จะใช้มาตรการพิเศษในการดำเนินคดีแทน และปัจจุบันนโยบายของประธานศาลฎีกา วันเสาร์-อาทิตย์ ให้ศาลเปิดทำการเวลา 8.30-16.30 น.สามารถยืนคำร้องขอประกันตัวได้ด้านนายสงวนศักดิ์ กล่าวว่าการตามนโยบายประธานศาลฎีกาใช้อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์สำหรับติดตามตัว โดยที่กระบวนยุติธรรมในบ้านเราต้องเผชิญปัญหาหลายด้านทั้งในส่วนของผู้กระทำความผิดและผู้ต้องโทษ ปัญหาการเหลื่อมล้ำทางสังคม ปัญหาผู้ถูกดำเนินคดีซึ่งเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีในการปล่อยตัวชั่วคราว ปัญหาความยากจนไม่มีเงินในการประกันตัว ทั้งปริมาณผู้ต้องขังในเรือนจำมีปริมาณมากเกินความแออัด เกิดสภาพปัญหาคุณภาพชีวิต นอกจากนี้การลงโทษจำคุกในโทษความผิดเล็กน้อย และปัญหาการขาดสถานที่กักขัง ประกอบกับปัญหาการปล่อยตัวชั่วคราวของเจ้าพนักงานหรือศาลแม้จะมีหลักประกันแต่ผู้ต้องหายังหลบหนีเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีหรือลงโทษตามเจตนารมณ์ของการดำเนินคดี และยังมีปัญหาขาดการป้องกันสังคมจากการคุมความประพฤติของผู้รอรับการลงโทษ โดยมีเงื่อนไขการคุมความประพฤติไว้ แต่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของการคุมความประพฤติ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องได้นำอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์สำหรับติดตามตัวหรืออีเอ็ม (Electronic Monitoring) มาใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนายสงวนศักดิ์ กล่าวอีกว่า มาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยตัวชั่วคราวโดยศาล กำหนดให้อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลให้ผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวปฏิบัติตาม เงื่อนไขที่ศาลกำหนดในระหว่างที่ได้รับการปล่อยชั่วคราว ซึ่งทางศาลได้ประสานความร่วมมือกับฝ่ายปกครอง แต่งตั้งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่ในการรับรายงานตัวผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและสอดส่องดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล หรือผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน หรือมีประกันแต่ไม่มีหลักประกันได้ไปพร้อมกับการติดอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์เพื่อตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทาง จากนั้นนายธวัช ได้ให้ผู้ร่วมประชุมจากหน่วยงานต่างๆได้ซักถามปัญหา และอุปสรรคของการทำงานต่างๆ ซึ่งมีหลายหน่วยสอบถามข้อกฎหมาย และการปฏิบัติงานต่างๆด้วยความสนใจ.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สราวุธ คำฟูบุตร

สราวุธ คำฟูบุตร

เสนอข่าวทุกมิติ เจาะลึกทุกประเด็น ID LINE : yai8881