X

อิ่มบุญใหญ่ แห่งานวัด 55 เมืองลอง ทานก๋วยสลาก

เชียงราย-นักท่องเที่ยวอิ่มบุญใหญ่ งานวัด 55 เมืองลอง ทานก๋วยสลากงานบุญสลากภัต ที่ถือเป็นงานบุญประเพณีของชาวเหนือที่สำคัญ จึงได้จัดนำมาผนวกเข้ากับงาน 55 เมืองลอง เพื่อให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเพณีของคนเมืองล้านนาได้ และเข้าใจถึงงานบุญสลากภัต

วันที่ 16 กันยายน 2561 ที่วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ได้มีการเปิดงานวัด 55 เมืองลอง บ้านเรา จังหวัดเชียงราย งานบุญสลากภัต มีนายอมร สกุลกิตติกวางทอง วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิด มี พระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะอำเภอเชียงแสน นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดเชียงราย และ ภาคเหนือ 17 จังหวัด พ.ต.อ.วิชาญยุทธ คูณเจริญสุข อดีตรองผบก.จ.เชียงราย นายธวิท ติยะกว้าง ปลัดเทศบาลตำบลเวียง ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลเวียง นายสมบูรณ์ ราชคม นายกอบต.ศรีดอนมูล นายศุภสัณห์ วิริยะ นายกอบต.ป่าสัก นายมานิตย์ ไชยกิตติ ประธานสภาวัฒนธรรม อ.เชียงแสน นายนิกร เหล่าวานิช ประธานขมรมรักเชียงแสน และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งมีขบวนแห่กลองหลวง กลองยาว ช่างฟ้อน ริ้วขบวนที่สวยงามชองแต่ละหัววัดเข้าร่วมกันอย่างคึกคัก สร้างบรรยากาศความตื่นตาให้ท่องเที่ยวที่มาร่วมงานกันจำนวนมากพระพุทธิญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งใน 55 เมืองลอง คือเมืองที่ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวหลัก สำหรับจังหวัดที่เป็นเมืองรอง 55 จังหวัด ภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน พะเยาเป็นต้น ซึ่งทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มีแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้น โดยมองว่า อำเภอเชียงแสนมีศักยภาพการท่องเที่ยวสูงมาก เฉพาะโบราณสถานที่เก่แก่ ทั้ง 9 วัด 9 จอม อยู่ในเขตตำบลเวียงเพียง ตำบลเดียว และอดีตก็เป็นเมืองโบราณ ที่เรียกกันว่า “เวียงเก่า” ประกอบกับในช่วงระหว่างพรรษา มีงานบุญอีกอย่างคืองานบุญสลากภัต ที่ถือเป็นงานบุญประเพณีของชาวเหนือที่สำคัญ จึงได้จัดนำมาผนวกเข้ากับงาน 55 เมืองลอง เพื่อให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเพณีของคนเมืองล้านนาได้ และเข้าใจถึงงานบุญสลากภัต ซึ่งวันนี้มีคณะศรัทธาวัดต่างๆ และคณะพระสงฆ์ในอำเภอเชียงแสนมาร่วม 168 รูป แบ่งออกเป็น 11 หมวดหมู่พระพุทธญาณมุนี กล่าวอีกว่าสลากภัต เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎก เป็นชื่อเรียกวิธีถวายทานแก่พระสงฆ์วิธีหนึ่ง โดยการจับสลากเพื่อแจกภัตตาหารหรือปัจจัยวัตถุที่ได้รับจากผู้ศรัทธาถวาย เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธาที่มีปัจจัยวัตถุจำกัดและไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งหมดได้ พระพุทธิญาณมุนีกล่าวตอนท้ายอีกว่า ในประเทศไทย มีประเพณีสลากภัต ภาคเหนือเรียกว่า ประเพณีทานก๋วยสลาก ตามวัดต่าง ๆ โดยจัดในช่วงในระหว่างในพรรษา โดยมีการรวมตัวของคณะศรัทธาทั้งหมู่บ้านนำผลไม้และสำรับคาวหวานไปตั้งเป็นสลากถวายพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ เป็นประเพณีใหญ่สำหรับหมู่บ้านและวัดนั้น ๆ โดยในแต่ละภูมิภาคมีรายละเอียดการจัดประเพณีแตกต่างกันไปพระพุทธิญาณมุนี กล่าวตอนท้ายว่า ผู้ที่ได้ร่วมถวายสลากภัตเนื่องในสังฆทานที่มีอานิสงส์มาก เพราะถือว่าแม้จะตั้งสลากถวายกับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่จับสลากได้ ย่อมเท่ากับถวายกับพระสงฆ์ทั้งหมด เพราะสลากที่จับนั้นพระสงฆ์ทุกรูปในอารามนั้นมีสิทธิ์ได้ นอกจากนั้นสลากภัตยังเป็นหลักการในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเท่าเทียมกันและสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกันแก่คณะสงฆ์ ซึ่งจะนำความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองเสมือนทำบุญใหญ่ให้กับครอบครัวที่เดียว.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สราวุธ คำฟูบุตร

สราวุธ คำฟูบุตร

เสนอข่าวทุกมิติ เจาะลึกทุกประเด็น ID LINE : yai8881