X

อาชีวะ 3 จังหวัด โชว์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ให้บริษัทยักษ์ใหญ่ดึงต่อยอดงานวิจัยพร้อมรับ EEC

อาชีวะ3จังหวัดโชว์ ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ให้บริษัทยักษ์ใหญ่ดึงต่อยอดงานวิจัย เพื่อพัฒนาความพร้อม ของพื้นที่และสร้างบรรยากาศส่งเสริมการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม มุ่งสู่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC)

                  เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 ณ ห้องประชุมสุนทรภู่ โรงแรมสตาร์ อ.เมือง จ.ระยอง นายธีรวัฒน์ สุดสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาความพร้อมของพื้นที่และสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม มุ่งสู่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษ กิจกรรมMatching Innovation in Smart Industry โดยมีนายชัยยง โกศลวิทยานันต์ อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ดร.ปภาวรินท์ เศรษฐไตรรัตน์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย  นายประเมิน อุมา หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นางสาวอาภา รติยานุวัฒน์ ผู้จัดการแผนกสื่อและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ผู้แทนโรงงานภาคอุตสาหกรรมคณะครู นักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง

                นายชัยยง โกศลวิทยานันต์ อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง กล่าวว่า สำหรับโครงการพัฒนาความพร้อมของพื้นที่และสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม มุ่งสู่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษ กิจกรรม Matching Innovation in Smart Industry เป็นโครงการที่จัดขึ้นในนามของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 โดยร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการต่อยอดงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจากภาคการศึกษาให้สามารถใช้ได้จริงในภาคอุตสาหกรรม และเป็นการกระตุ้นให้เกิดชิ้นงานและงานวิจัยใหม่ๆจากภาคการศึกษาในพื้นที่

             โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการจัดแสดงผลงานวิจัยและโครงงานด้านนวัตกรรมของนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 นำมาจัดแสดง และเชิญชวนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ SMEs เข้าชมงาน โดยจะมีการจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่งานวิจัยหรือโครงงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมที่สนใจชิ้นงาน โดยมีกำหนดจัดงานขึ้นทั้งหมด 3 ครั้ง ในพื้นที่ 3 จังหวัด และมีวิธีการดำเนินงานคือ ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาโครงงานด้านนวัตกรรมของสถาบันการศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ตลอดจนทำการศึกษาความต้องการด้านนวัตกรรมของผู้ประกอบการในพื้นที่ และจัดการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ  เพื่อนำมาสู่ข้อสรุปในการเจรจาจับคู่ธุรกิจต่อไป

             จากการดำเนินการดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 900 ราย และมีชิ้นงานวิจัยด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจนำไปต่อยอดในภาคอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 30 ชิ้นงาน  โดยข้อมูลจากการดำเนินโครงการในส่วนของการศึกษา และสำรวจผลงานวิจัยหรือโครงงานด้านเทคโนโลยีของสถาบันการศึกษาในพื้นที่แล้ว พบว่า ผลงานด้านนวัตกรรมของสถานศึกษาส่วนใหญ่    มีความโดดเด่นและน่าสนใจ คาดว่าสามารถตอบโจทย์ของภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน