X

อบจ.ระยอง เตรียมปรับปรุงท่าเรือเพ หลังยึดคืนจากสัมปทานเดิม ซึ่งพบว่า ท่าเรือชำรุดไม่ปลอดภัย

นายปิยะ ปิตุเตชะ นายก อบจ.ระยอง พร้อมคณะ ได้เดินทางมายังห้องประชุมเทศบาลตำบลเพ จ.ระยอง เพื่อร่วมรับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง ปรับปรุงท่าเรือเพ ต.เพ อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีบริษัทโกลเด้น แพลน จำกัด เป็นผู้ทำการวิจัยในโครงการดังกล่าว และ นายไพรัตน์ อรุณเวสสะเศรษฐ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเพ ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุมในฐานะเจ้าของพื้นที่

นายปิยะ ปิตุเตชะ นายก อบจ.ระยอง นายมนตรี ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง

 

นายปิยะ ปิตุเตชะ นายก อบจ.ระยอง พร้อมคณะ ได้เดินทางมายังห้องประชุมเทศบาลตำบลเพ จ.ระยอง เพื่อร่วมรับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง ปรับปรุงท่าเรือเพ ต.เพ อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีบริษัทโกลเด้น แพลน จำกัด เป็นผู้ทำการวิจัยในโครงการดังกล่าว และ นายไพรัตน์ อรุณเวสสะเศรษฐ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเพ ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุมในฐานะเจ้าของพื้นที่

 

นายปิยะ ปิตุเตชะ นายก อบจ.ระยอง

อบจ.ระยอง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยว เพราะในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางเข้าสู่จังหวัดระยอง โดยเฉพาะเกาะเสม็ด สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือแห่งนี้ เพื่อให้เพียงพอรองรับนักท่องเที่ยว โครงการปรับปรุงท่าเรือเพ เพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยจึงเริ่มขึ้น ทาง อบจ.ระยอง จึงว่าจ้าง บริษัท โกลเด้น แพลน จำกัด มาทำการวิจัยถึงผลกระทบในด้านต่างๆ โดยว่าจ้างมาในราคา 1.98 ล้านบาท ระยะเวลา 120 วัน ศึกษาถึงความเหมาะสมในด้านเศรษฐศาสตร์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นในการก่อสร้าง รวมถึงด้านการบริหารท่าเรือ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในข้อระเบียบข้อบังคับ ข้อจำกัด และ ข้อกฎหมาย รวมถึงการศึกษาแนวทาง อัตราการใช้บริการท่าเรือ หรืออัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และ การพิจารณาระเบียบและข้อกำหนดต่างๆของกรมธนารักษ์และเจ้าท่าในฐานะเจ้าของพื้นที่ เพื่อให้การประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านในพื้นที่ ส่วนราชการ เอกชน ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน สอดคล้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548

ด้านนายไพรัตน์ อรุณเวสสะเศรษฐ นายกเทศมนตรีเทศบาลเพ กล่าวว่า แรกเริ่มท่าเรือเพ แต่เดิมเกิดขึ้นจากผู้ที่ได้สัมปทานได้ก่อสร้างขึ้นมาเอง โดยเสียค่าเช่าให้ อบจ.ระยอง ซึ่งเป็นท่าเรือไม้ที่ใช้ในกิจการประมงโดยมีเรือประมงในพื้นที่เข้าเทียบท่าเป็นหลัก จนกระทั่งเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ได้หันมาประกอบกิจการท่าเรือท่องเที่ยว โดยทางผู้สัมปทานเป็นเพียงผู้ดูแลท่าเรือ ให้เช่าพื้นที่กับชาวบ้านที่นำเรือมาบริการรับส่งนักท่องเที่ยว แบ่งเป็นล็อกให้เช่าในอัตราที่เหมาะสม เจ้าของท่าเรือไม่ได้มีกิจการเรือโดยสารเป็นของตัวเอง จึงอยู่ร่วมกันได้กับผู้ประกอบการที่พึ่งพากัน

นายไพรัตน์ อรุณเวสสะเศรษฐ นายกเทศมนตรีเทศบาลเพ

ส่วนเรื่องการปรับปรุงท่าเรือให้ได้มาตรฐานก็นับว่าเป็นโครงการที่ดี เพราะเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยว แต่หากจะมองถึงความเหมาะสม ทั้งด้านพื้นที่ของท่าเรือที่มีพื้นที่น้อยไม่เหมาะกับการพัฒนาให้เป็นท่าเรือที่ได้มาตรฐาน จะเห็นได้จากปัจจุบันกับปัญหาเรื่องการกีดขวางการจราจร เพราะรถบัสนักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้าจอดได้ จึงจอดริมถนน ที่จอดรถ ทั้งแออัดคับแคบ หากต้องการพื้นที่เพิ่มก็ต้องถมทะเลออกไป แต่ผิดกฎหมาย และทำลายสิ่งแวดล้อม

ตามที่กล่าวอ้างว่าพัฒนาท่าเรือเพื่อเพียงพอต่อนักท่องเที่ยว ความเป็นจริงแล้ว จำนวนนักท่องเที่ยวที่แท้จริง เฉลี่ยปีละประมาณ 6 แสนคน ถึง 1 ล้านคน ตกวันละประมาณ 1,640 คน ในปัจจุบันมีท่าเรือทั้งหมด 8 ท่า รวมถึงท่าเรือของเทศบาลตำบลเพ ซึ่งเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ได้มาตรฐาน เฉลี่ยแล้ว หนึ่งท่าเรือจะมีนักท่องเที่ยวเพียงท่าเรือละ 205 คน จำนวนนักท่องเที่ยวจำนวนนี้ถือว่าแต่ละท่าเรือยังสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้อีกหลายเท่าตัว จึงต้องการให้ บริษัทที่ทำวิจัยได้เล็งเห็นถึงความเหมาะสม รวมถึงชาวบ้านที่รุกล้ำบริเวณท่าเรือลงไปในทะเล ก่อนปี พ.ศ.2537 จะดำเนินการอย่างไร  จึงต้องการให้บริษัทที่ทำวิจัยศึกษาให้ละเอียดรวมถึงการศึกษาข้อกฎหมาย กฎระเบียบให้ครอบคลุมด้วย

 

 

อัจฉรา วิเศษศรี จ.ระยอง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน