X

สกสว.- บพท. พัฒนาโมเดลแก้จน 8 จังหวัดอีสาน

ร้อยเอ็ด – สกสว. ร่วม บพท. จัดสัมมนาวิเคราะห์และเชื่อมโยงคนจนสู่ห่วงโซ่คุณค่า  พัฒนาโมเดลแก้จน ด้านการส่งเสริมอาชีพและผลิตภัณฑ์

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์และเชื่อมโยงคนจนสู่ห่วงโซ่คุณค่า เพื่อการพัฒนาโมเดลแก้จน ด้านการส่งเสริมอาชีพและผลิตภัณฑ์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมโรงแรมราชภัฏกรีนวิว ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการสัมมนา เป็นทีมวิจัยพื้นที่จำนวน 8 จังหวัด ประกอบด้วย
♦ จังหวัดที่เริ่มดำเนินงานโครงการวิจัยปี 2563 (จังหวัดเก่า) 4 จังหวัด คือ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และกาฬสินธุ์
♦ จังหวัดที่เริ่มดำเนินงาน (จังหวัดใหม่) 4 จังหวัด คือ จังหวัดลำปาง ร้อยเอ็ด นครราชสีมา และอุบลราชธานี

เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และเตรียมความพร้อม ในการพัฒนาโมเดลแก้จน ด้านการส่งเสริมอาชีพและผลิตภัณฑ์ (OM Product) ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ศักยภาพและทุนของครัวเรือนยากจน เป้าหมายเพื่อฝึกปฏิบัติการ และทดลองใช้เครื่องมือการวิเคราะห์และเชื่อมโยงคนจนสู่ห่วงโซ่คุณค่า (Pro-Poor Value Chain) เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบ และแนวทางการพัฒนาโมเดลแก้จน ด้านการส่งเสริมอาชีพและผลิตภัณฑ์ (OM Product) ระหว่างพื้นที่

การสัมมนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วิชิต กำมันตะคุณ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดงาน

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า ทีมวิจัยของได้สืบค้นและนำข้อมูลมาวิจัยจากหลายประเทศ ประเทศที่ใกล้เคียงกับประเทศเราประเทศหนึ่ง คือ จีน มีบริบทที่ใกล้เคียงกับเรา จีนจะแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงระดับนโยบาย โดยทำอยู่ที่ 4-5 ขั้นตอน

ส่วนของประเทศไทย มีการแก้ไขนโยบายการแก้จนระดับรัฐบาลเรียกว่า ‘ศูนย์อำนวยการการแก้ไขปัญหาความยากจน’ ทุกคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ และแยกมาเป็นระดับจังหวัด มีการสร้างระบบข้อมูล มีโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน และพัฒนาอาชีพทั่วไป  โดยมีทีมวิจัยเข้ามาหนุนเสริมให้รัฐและเอกชน เข้ามาทำงานช่วยกันหนุนเสริมนโยบาย

บพท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทำงานบนฐานข้อมูล TPMAP และพบว่ายังมีคนจนยากไร้อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูล Big data ดังกล่าว เพื่อการสอบทาน และยืนยันเป้าหมาย ซึ่ง บพท.มองเห็นว่า การดำเนินงานจะต้องเป็นการทำงานแบบภาคีเครือข่าย ที่มีหน่วยงานทุกภาคส่วนเข้ามาร่วม ร่วมมือบริหารจัดการห่วงโซ่คุณภาพ ที่นำคนจนเข้ามาอยู่ ที่สำคัญ คือ จะเข้ามาอย่างไร เพราะไม่มีทรัพยากรอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน เงินทอง จึงจะต้องนำไปวิเคราะห์ทุนของเขา

ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวต่อว่า ในปี 2565 นี้ ได้ประมวลข้อมูลเป็นโมเดลแก้ไขปัญหาความยากจนในหลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับบริบทภูมิสังคม การดำเนินแผนงานวิจัยการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่นำร่อง 20 จังหวัด เช่น กลุ่มสมุนไพร กลุ่มสิ่งแวดล้อม กลุ่มพัฒนาอาชีพ กลุ่มคลังแรงงาน กลุ่มสวัสดิการชุมชน เป็นต้น

ทั้งนี้ สมุนไพรเป็นหนึ่งในสาขาเศรษฐกิจสำคัญในแผนหลักของประเทศ และสอดรับกับวาระแห่งชาติเรื่อง BCG (Bio-Circular-Green Economy – เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว)  บพท. และมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ จึงเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ เพราะเป็นการพัฒนาบนทุนเดิมของชุมชน

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน