X

ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด ผลผลิตข้าวหอมมะลิ 600-700 กิโลกรัม/ไร่ 

ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด เพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องให้ 600-700 กิโลกรัม/ไร่ 

 

นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธาน เปิดงานการส่งข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่ครัวโลก ซึ่งจัดขึ้น บริเวณโบราณสถานกู่กาสิงห์ วัดบูรพากู่น้อย บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการดำเนินของโรงสีศรีแสงดาวร้อยเอ็ด ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดร้อยเอ็ด และสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งได้รับเกียรติจากนายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดร.ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) ดร.พงษ์เทพ อัครธนกุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายพนม ศรีแสนปาง ประธานกรรมการโรงสี ศรีแสงดาว หัวหน้าส่วนราชการ ผู้มีเกียรติ และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาหยอด  เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีความพยายาม และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและเผยแพร่ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพ เป็นที่รู้จักของคนไทยและของโลก ขณะนี้ก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือข้าวจีไอของประเทศไทย และของสหภาพยุโรป  ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดจะได้รับประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนเป็นข้าวจีไอนี้เป็นอย่างมาก เพราะว่าเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งแผนการพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด มีเป้าหมายการพัฒนา คือ “ มหานครข้าวหอมมะลิ ท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสาน และสุขภาพดี ภายในปี พ.ศ. 2565 ” และส่งเสริมเกษตรนาข้าวให้สามารถปลูกข้าวหอมมะลิได้ไม่น้อยกว่า 600 กิโลกรัม/ไร่

นายพนม ศรีแสนปาง กล่าวว่า จากวันนั้นถึงวันนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีงามที่มีเกษตรกรเข้ามาช่วย มารวมกลุ่มกันทำหลายครัวเรือน  ซึ่งโรงสีเป็นผู้สีข้าว เราเป็นพ่อค้าหาอยู่หากินกับเกษตรกร ถามว่าถ้าพ่อค้ามีความสุข เกษตรกรมีความทุกข์ เราจะมีความสุขไหม ไม่เลยครับ…การซื้อการขายจะต้องยิ้มแย้มแจ่มใส ในการตกลงราคา ซื้อขายจะได้ราคาที่ดี  แต่แล้วการต่อสู้ ระหว่างคุณภาพกับตัวผลผลิตนั้น เรายังสู้เขาไม่ได้ เพราะเกษตรกรส่วนมากจะไม่รู้ว่าต้นทุนการผลิตของตัวเองว่า  การผลิตข้าวออกมา 1 กิโลกรัมนั้น ต้นทุนที่แท้จริงอยู่ที่เท่าไหร่  สิ่งเหล่านี้เราจึงต้องหาทางช่วยและส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ ในการผลิตข้าวที่มีคุณภาพดีออกสู่ท้องตลาด

นายสินสมุทร ศรีแสนปาง ผู้จัดการโรงสี ศรีแสงดาว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า   จากประวัติการพัฒนาข้าวหอมมะลิ และการพัฒนาทุ่งกุลาร้องให้ จนมีตำนานของข้าวหอมมะลิ ว่า “เกิดที่บางคล้า เติบโตที่โคกสำโรง ไปโด่งดังที่ทุ่งกุลาร้องให้”   คือสายพันธุ์ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แม้ว่าข้าวหอมมะลิ จะเป็นข้าวคุณภาพดี มีชื่อเสียงโด่งด้งไปทั่วโลก แต่ชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่ยังยากจนอยู่ เนื่องจากกระบวนการทำนายังไม่ถูกต้อง ทำมาก ลงทุนมาก ได้ผลผลิตน้อย เฉลี่ยต่อไร่ค่อนข้างต่ำ ประมาณ 300-380 กิโลกรัม/ไร่ ตลอดระยะเวลา 30-40 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นแรงบันดาลใจให้โรงสีสีแสงดาว ซึ่งเป็นพ่อค้า เป็นผู้ผลิตและส่งออก อยากเห็นชีวิตชาวนาเปลี่ยนไป มีรายได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผลผลิตดี มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด จึงมุ่งส่งเสริมให้มีการปลูกกข้าวหอมมะลิให้ได้คุณภาพ เพื่อยกระดับข้าวหอมมะลิจากดินแดนทุ่งกุลาร้องให้ จึงได้เริ่ม “โครงการศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด”  โดยการรับสมัครชาวนาผู้ต้องการปลูกข้าวสิ่งบ่งซี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และชาวนาผู้สนใจมาร่วมโครงการ   แรกๆการส่งเสริมเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเกษตรกรมีความเข้าใจว่า การจะปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตเยอะๆนั้นจะต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากๆ แต่แนวทางที่โครงการฯ คือต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกน้อยที่สุด เพื่อปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับความเชื่อเดิมของเกษตรกร ทำให้กษตรกรที่ร่วมโครงการรู้สึกกังวล เพราะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกน้อยเกินไป เห็นข้าวงอกขึ้นมาดูบางๆ และห่างไม่แน่นเหมือนนาหว่าน บางรายไถทิ้งกลับไปทำนาหว่านคืนก็มี อย่างไรก็ตามทางโครงการยังยืนยัน
เช่นเดิมว่า ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลร้องไห้ “ตราศรีแสงดาว” ต้องเป็นข้าวนาหยอดเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นจากการทำนา และเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำนาใหม่ เพื่อให้เกษตกรกลุ่มนี้เป็นตัวอย่าง เป็นผู้นำ รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจในการทำนาที่ถูกวิธี เพื่อขยายผลให้กว้างขึ้น และมีความเชื่อว่า หากเกษตรกรมีรายได้มากขึ้นจากการทำนา สามารถกระดับผลผลิตต่อไร่ได้สูงขึ้น จะเป็นการช่วยเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศอีกทางหนึ่ง

 

 

จากการดำเนินโครงการ ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด มาแล้ว 2 ปี สามารยกระดับผลผลิตจากเดิม 300-380 กิโลกรัม/ไร่  ขึ้นมาเป็น 600-700 กิโลกรัม/ไร่ได้ ซึ่งหมายความว่า “ทำนา 1 ครั้งเท่ากับผลผลิต 2 ปี”  หรือ ทำน้อยได้มาก แม้ว่าปีนี้ราคาข้าวเปลือกจะถูกกว่าปีที่ผ่านมาถึง 4 บาท แต่ผลผลิตที่ไต้จากการทำนาหยอดของเกษตรกรที่เช้าร่วมโครงการ
สามารถทำผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 200-300 กิโลกรัม/ไร่ เป็นเหตุผลที่ทำให้เกษตรกรขายข้าวได้กำไรมากกว่าปีที่ผ่านมา

อีกปัจจัยของโครงการคือ มีการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้  เช่นการปรับฟืนที่นาด้วยระบบเลเซอร์ ความเรียบของพื้นนาบวกลบต่างกันไม่เกิน 5 เซ็นติเมตร ถ้าฝนตก 1 คืน น้ำกระจายทั่วแปลง เพิ่มโอกาสให้ชาวนาได้รับน้ำมากขึ้น สำหรับนาที่ต้องอาศัยน้ำฝน และยังเพื่มประสิทธิภาพในการปลูกข้าว โดยใช้โดรนหว่านปุ๊ยและฉีดทางใบ แทนแรงงานคน ประยุคใช้ระบบ GPSใส่ในเครื่องจักรเช่น เครื่องหยอด หรือ โดรน เพื่อทำให้การทำงานของเครื่องทำงานได้ไว และแม่นยำขึ้น  อีกทั้งสามารถทำงานได้แม้ในตอนกลางคืน โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตรมหาวิทยลัยกษตรศสตร์ วิจัยการใช้ปุ๋ยที่เหมาะกับข้าวหอมมะลิที่สุด อีกทั้งการส่งเสริมการปลูกข้าว สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสร์ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลร้องไห้ และการส่งเสริมการทำนาหยอดเป็นการส่งสริมทั้งหมู่บ้าน จึงได้ตั้งชื่อโครงการว่าโครงการศรีแสดาวหมู่บ้านนาหยอด

ข้อดีของการรวมกลุ่มของเกษตรกรคือ การแลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ รวมถึงการรวมตัวกันซื้อปุ๋ย ซื้อครื่องจักรการเกษตร ซึ่งจะได้ราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด โดยปีนี้เกษตรกรมีการรวมเงินกันซื้อเครื่องหยอดใช้เองในกลุ่ม ราคา 86,000 บาท เป็นรถหยอด 8 แถวติดรถไถ คุณภาพดี สามารถทำงานได้ 60-80ไร่ / วัน สมารถคืนทุนและได้กำไรทันที่ในปีแรก  ในปีต่อไปเกษตรกรมีการวางแผนจะซื้อโดรนเครื่องละ 3 แสนบาทมาใช้เองในกลุ่ม รวมถึงสินค้าข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ “ตราศรีแสงดาว” ในบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลมาจากแกลบ จากแรงบรรดารใจ แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุด กับวิธีการปลูกที่ดีที่สุดมอบเป็นของขวัญ ซึ่งได้รับรางวัลระดับโลก  8 รางวัล และได้รับรางวัลสูงสุดจากรัฐบาลไทย PM Aword ถือเป็นความภาคภูมีใจของคนไทย และภูมีใจที่มีสินค้าท้องถิ่นที่ดีคือ ข้าวหอมคุณภาพดีที่สุดจากทุ่งกุลาร้องไห้

ในการจัดงานครั้งนี้ ได้มีการมอบรางวัลผลผลิต/ไร่สูงสุดสำหรับเกษตรกรใน “โครงการศรีแสงตาวหมู่บ้านนาหยอด” รางวัลที่ 1 นางเอมอร เวียงคำ  ผลผลิต 633กิโลกรัม/ไร่ ได้รับการปรับที่นาด้วยระบบเลเซอร์  12 ไร่ มูลค่า 48,000 บาท รางวัลที่ 2 นางสังวร พลอาสา  625 กิโลกรัม/ไร่ ได้รับการปรัยที่นาด้วยระบบเลเซอร์ จำนวน 11 ไร่  มูลค่า 44,000 บาท รางวัลที่ 3  นายบัวลอง แพงวงษ์  ผลผลิต 610 กิโลกรัม/ ไร่ ได้รับการปรับที่นาด้วยระบบเลเซอร์ จำนวน  10 ไร่ มูลค่า40,000 บาท รางวัลที่ 4 นายสมาน สุดหล้า ผลผลิต 597 กิโลกรัม/ ไร่ รางวัลที่ 5 นางประคอง นามเขต  ผลผลิต 585 กิโลกรัม/ไร่ รางวัลที่ 6 นางพิศาล ใจสาหัส ผลผลิต 572 กิโลกรัม/ไร่   ( ลำดับที่ 4,5,6 จะได้รัยการปรับที่นาฯรายละ  30,000 บาท

นอกจากนี้ภายในงานยังเปิดให้ผู้ร่วมงาน ชิมข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ ที่เกี่ยวสด สีไหม่ และหุงด้วยหม้อดิน สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ได้ชิมลิ้มรส ในความหอม นุ่ม ที่เป็นเอกลักษณ์ ร่วมสืบสารวัฒนธรรมการบายศรีสู่ขวัญข้าวการส่งมอบข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาสู่ครัวโลก   การแสดงนิทรรศการเครื่องจักรกลทางการเกษตร  สัมผัสวิถีขิวิตของ  ชาวนา และการแสดงภัณฑ์ของชุมชนในทุ่งกุลาร้องให้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน