X

บุรีรัมย์ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพแพทย์ประจำตำบล เสริมสร้างองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย รุ่นที่ 3

กรมการปกครอง จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพแพทย์ประจำตำบล เสริมสร้างองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย รุ่นที่ 3 ให้แก่แพทย์ประจำตำบล 20 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ “ทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น”

วันนี้ 18 ส.ค.65 ที่ เพ-ลาเพลิน บูติค รีสอร์ท อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดโครงการพัฒนาศักยภาพแพทย์ประจำตำบล การสาธารณสุขเพื่อแผ่นดิน โดยมีนายปิยะ ปิจนำ ปลัดจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการปกครองท้องที่ นายอำเภอในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ให้การต้อนรับ ซึ่งกรมการปกครอง จัดขึ้นเป็นรุ่นที่ 3 ในระหว่างวันที่ 17 – 19 สิงหาคม 2565

เพื่อเป็นการส่งเสริมบทบาทและพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำตำบล และเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย ให้สามารถนำไปปรับใช้ในวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ สร้างตู้ยาประหมู่บ้าน สวนสมุนไพรประจำหมู่บ้าน เพื่อเป้าหมายบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และทำให้ประชาชนทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น มีแพทย์ประจำตำบลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียบเหนือ 20 จังหวัด จำนวน 322 คนเข้าร่วมรับการอบรม

นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า แพทย์ประจำตำบลเป็นหนึ่งในบุคลากรของรัฐในพื้นที่ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 44 กำหนดให้มีแพทย์ประจำตำบลคนหนึ่งในตำบล เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คิดอ่านและจัดการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล คอยสังเกตตรวจตราความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแก่ราษฎรในตำบล และช่วยติดตามและจัดการป้องกันเมื่อเกิดโรคร้ายแรง การจัดการป้องกันโรคภัยในตำบลการรายงานการเกิดโรคภัยร้ายแรงให้อำเภอทราบจนกว่าจะสงบโรค และการร่วมประชุมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการตำบล และกรรมการหมู่บ้าน เพื่อจัดการให้ตำบล หมู่บ้านมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เพื่อป้องกันอันตราย อัคคีภัย หรือโรคภัย อันเนื่องมาจากการทำมาหากินของลูกบ้าน ตลอดจนการพิทักษ์รักษาความสงบเรียบร้อยและการแจ้งข้อราชการให้ราษฎรได้รับรู้ นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นในพื้นที่ตำบลอีกด้วย

แพทย์ประจำตำบล จึงเป็นกลไกหนึ่งที่สนับสนุนให้การขับบเคลื่อนนโยบายของรัฐไปสู่การปฏิบัติ ในพื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และไม่ซ้ำช้อนกับบทบาทหน้าที่ของ อสม. ที่มีบทบาทหน้าที่ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมสุขภาพอนามัย (Change agents การสื่อข่าวสารสาธารณสุข การแนะนำเผยแพร่ความรู้ การวางแผน และประสานกิจกรรมพัฒนาสาธารณสุข ตลอดจนให้บริการสาธารณสุขด้านต่าง ๆ เช่นการส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังและป้องกันโรค การช่วยเหลือและรักษาพยาบาลขั้นต้น

โดยใช้ยาและเวชภัณฑ์ตามขอบเขตที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด การส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการการฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ แพทย์ประจำตำบลและ อสม. จึงมีบทบาทและอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน กรมการปกครองได้จัดให้มีการสัมมนาตามโครงการพัฒนาศักยภาพแพทย์ ซึ่งแพทย์ประจำตำบลให้ความสนใจและตั้งใจที่จะนำความรู้ดังกล่าวกลับมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อครัวเรือน หมู่บ้าน ตำบล อาทิเช่น การสำรวจและปรับปรุงสวนสมุนไพรในพื้นที่ สาธิตการทำหัตถการพอกตาด้วยยาเย็น เพื่อรักษาอาการตาฝ้าฟาง ตามัว หรือการสุมยาช่วยบรรเทาอาการเป็นหวัด คัดจมูก เป็นต้น

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน