X

ร้อยเอ็ดเปิดการอบรมสัมมนาการผลิตข้าวหอมมะลิ GI แก่เกษตรกรในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โครงการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ GI

นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดการอบรมสัมมนาการผลิตข้าวหอมมะลิ GI แก่เกษตรกรในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โครงการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ GI ภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีจังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ณ ศูนย์เรียนรู้ฯ กลุ่มเครือข่ายนาแปลงใหญ่อำเภอเกษตรวิสัย ตำบลดงครั่งใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จัดโดย สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายชยันต์ ศิริมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายณรงค์ศักดิ์ สบาย นายอำเภอเกษตรวิสัย นายวรพล ภูภักดี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด นายทรงพันธ์ จันทร์สว่าง เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด นายสุทธิศักดิ์ พรหมบุตร พาณิชย์จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโดยพร้อมเพรียง

การจัดอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ ความเข้าใจการผลิต การแปรรูป และการตลาดข้าวอินทรีย์และการขับเคลื่อนการผลิตและกระบวนการตรวจรับรองข้าวหอมมะลิ GI และให้เกษตรกรได้รับการรับรองการผลิตข้าวหอมมะลิ GI เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม ได้แก่ แกนนำเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยกำหนดจัดอบรมจำนวน 5 รุ่น ระหว่างวันที่ 13-16 มีนาคม และ 20 มีนาคม 2561 โดยมีเป้าหมายเกษตรกรเข้าร่วมการอบรมสัมมนา จำนวน 820 ราย ประกอบด้วยแกนนำกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่จำนวน 32 กลุ่ม แกนนำกลุ่มเกษตรกรโครงการผลิตข้าวอินทรีย์จำนวน 77 กลุ่ม แกนนำกลุ่มข้าวชุมชนจำนวน 29 ศูนย์ แกนนำสหกรณ์การเกษตร / สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินจำนวน 17 สหกรณ์ 34 ราย โดยในวันนี้เป็นการจัดอบรมสัมมนาในรุ่นที่ 1 มีเกษตรกรเข้ารับการอบรมจำนวน 240 ราย

ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ จำนวน 981,988 ไร่ จากทั้งหมด 2.1 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 47 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่มีเกษตรกรในพื้นที่เพียงส่วนน้อยได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และใช้ประโยชน์จากการรับรองขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จังหวัดร้อยเอ็ดจึงมีนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นเขตเศรษฐกิจข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการส่งเสริมการผลิต การแปรรูป และการตลาด รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพ และได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตที่ดี และยั่งยืนตลอดไป โดยการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน แบบประชารัฐ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน