X

“นครพนม” ส่งเสริมเกษตรกรผลิตถ่านไบโอชาร์ ผู้บริโภคปลอดภัย ห่างไกลสารเคมี

นครพนม – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณลานคนเมือง ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร เขตเทศบาลเมืองนครพนม นายรังสรรค์ คัมภิรานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้เปิดโครงการส่งเสริมการผลิตถ่านไบโอชาร์(ถ่านชีวมวล) เพื่อการเกษตรในพื้นที่ฯ สามารถผลิตสินค้าการเกษตรปลอดภัยเพื่อเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ เป็นการลดต้นทุน ขณะเดียวกันก็ได้ปรับปรุงบำรุงดิน ส่งเสริมถ่านไบโอชาร์ทดแทนการใช้สารเคมี ซึ่งมีฤทธิ์อันตรายร่างกายทั้งผู้บริโภคและเกษตรกร นอกจากนี้ยังได้มอบรางวัลการดำเนินการดีเด่นระดับจังหวัดแก่ นายภูษิต แสนสุภา ครูวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนมหาชัยวิทยาคม อ.ปลาปาก จ.นครพนม ผู้ริเริ่มใช้ถ่านไบโอชาร์ ในสวนการเกษตรจนประสบความสำเร็จ และนายสมหมาย ศรีจันทร์ ผู้ร่วมผลักดันถ่านไบโอชาร์ให้เป็นที่รู้จักเป็นวงกว้าง ซึ่งเตรียมผลักดันเป็นมหานครแห่งไบโอชาร์

เพราะประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดนครพนมประกอบอาชีพเกษตรกรรม และหลายๆ ,คนมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์เพราะมีการใช้ประโยชน์จากดินที่ไม่ถูกวิธีและต้องนำเอาสารเคมีเข้ามาเป็นตัวช่วย ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรได้มีปุ๋ยในการปรับปรุงบำรุงดินไว้ใช้งาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ จังหวัดนครพนม ได้เล็งเห็นว่าถ่านไบโอชาร์ (biochar) นั้นมีคุณสมบัติที่ดี ซึ่งเมื่อนำไปปรับปรุงสภาพดินแล้ว จะทำให้ดินมีรูระบายอากาศมากขึ้น สามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ดูดซับแร่ธาตุ ที่เป็นอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ดี ทั้งยังลดความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ที่สำคัญคือเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช

ด้าน นายภูษิต แสนสุภา เปิดเผยว่า ตนได้จดจำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 ว่า “การปรับปรุงดินนั้นต้องอนุรักษ์ผิวดินซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไว้ ไม่ให้ไถหรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนต้นไม้ที่ยังเหลืออยู่เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื้นของแผ่นดิน” จากพระราชดำริของพระองค์ท่านเกี่ยวกับดินสำหรับการเพาะปลูกนั้นต้องไม่ทำลายหน้าดิน เราจึงนำถ่านไบโอชาร์ในการปรับปรุงสภาพดิน

แต่สภาพปัญหาปัจจุบันมีการใช้ปุ๋ยเคมีในภาคเกษตรกรรมจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาดินเป็นกรดและดินมีสภาพเสื่อมโทรม ดังนั้นการทำให้ดินปรับคืนสู่สภาพขเป็นวัสดุที่อุดมไปด้วยคาร์บอนที่ผลิตจากการให้ความร้อน มวลชีวภาพ ซึ่งใช้ออกซิเจนน้อยมาก เป็นกระบวนการแยกสลายด้วยความร้อน ที่เรียกว่ากระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis) ทำให้ถ่านที่มีประจุไฟฟ้าและความพรุนสูง สามารถใช้ในการปรับปรุงดิน ช่วยดูยึดธาตุอาหาร ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชแบบช้าๆ ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหาร ช่วยดูดซับความชื้นในดินได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ให้สูงขึ้น ทำให้การประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต สภาพดินได้รับการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้ทางหนึ่ง จึงเหมาะที่จะนำมาใช้กับภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีความยั่งยืน โดยเกษตรกรผู้สนใจถ่านไบโอชาร์ สามารถติดต่อสอบถามกระบวนการผลิตกับตนได้ที่เบอร์ 084-9565963

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน