X

ศุลกากรนครพนม ยึดหินกรวดกว่าหมื่นคิว ตกเป็นของแผ่นดิน เหตุนำเข้าเถื่อน หลังเจ้าของแจงที่มาไม่ได้

นครพนม – ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้สั่งการให้ หน่วยงานเกี่ยวข้อง มีการตรวจสอบ ปราบปรามผู้กระทำผิด ลักลอบดูดทรายผิดกฎหมาย  ในพื้นที่ชายแดนของจังหวัดนครพนม และเพื่อเป็นการป้องกันปราบปราม การลักลอบดูดหินทรายในแม่น้ำโขงโดยผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

หลังมีชาวบ้านร้องเรียน เพราะได้รับผลกระทบ จากผู้ประกอบการดูดหินทราย สร้างปัญหาเรื่องมลภาวะให้กับชุมชน รวมถึงมีการบรรทุกน้ำหนักเกิน ทำให้เส้นทางการจราจรได้รับความเสียหาย อีกทั้งมีการฉวยโอกาส นำเข้าทรายผิดกฎหมาย เพื่อเลี่ยงการเสียภาษี และสำแดงเอกสารอันเป็นเท็จ

ล่าสุด วันที่ 10 กรกฎาคม  2562 ภายหลัง นายชลิต หอมหวล  หัวหน้าฝ่ายควบคุมและตรวจสอบทางศุลกากร พร้อมด้วย  นายณัฏฐ์กัญจ์กร เกตุสุวรรณ หัวหน้าฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ด่านศุลกากรนครพนม และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบ อายัด หิน จำนวน ประมาณ 25,000 คิว  หลังพบว่า ผู้ประกอบการ ท่าทราย หจก.อนุรักษ์ นครพนม ก่อสร้าง  มีการขออนุญาต นำเข้าหินสัมปทานจากลาว โดยนำมาสต็อกเก็บไว้ในคลังเก็บ เลขที่  60 หมู่ 7 บ้านนาเหนือ ต.ท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม แต่พบพิรุธมีการนำเข้าผิดระเบียบทางศุลกากร  เข้าข่ายสำแดงเท็จ  เจตนาเพื่อเลี่ยงการเสียภาษี  จึงได้ทำการตรวจอายัด  มาตรวจสอบหาที่มาโดยละเอียด โดยให้ผู้ประกอบการนำเอกสารหลักฐานมาชี้แจงภายใน 30 วัน  หากไม่สามาร นำเอกสารหลักฐานมาชี้แจงที่มาการนำเข้าตามกฎหมายได้ ก็จะดำเนินการแจ้งความดำเนินคดี ทั้งอาญาและทางแพ่ง

ต่อมาทางผู้ประกอบการ ได้มีการนำเอกสารหลักฐานเข้าชี้แจงที่มา ตามกำหนด  คือเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2562  แต่สามารถชี้แจงที่มาการนำเข้า ตามกระบวนการทางศุลกากร ได้เพียง 11,000  คิว เท่านั้น  ในส่วนที่เหลือ พบว่ามีการนำเข้าผิดกระบวนการทางศุลกากร  โดยมีการเลี่ยงการเก็บภาษีนำเข้า 7 เปอร์เซ็นต์ และไม่มีการ แจ้งปริมาณการนำเข้าถูกต้องตามขั้นตอน

ทั้งนี้ทางด้านผู้ประกอบการยินยอมระงับคดีในชั้นศุลกากร  และยอมให้ยึดหินกรวดที่เหลือประมาณ 24,000 คิว ตกเป็นของแผ่น ดิน  ตามกฎหมายศุลกากร จึงไม่ได้ มีการแจ้งข้อกล่าวหาส่งดำเนินคดี พร้อมทำบันทึก ให้มีการดำเนินการ ขออนุญาตถูกต้อง หากมีการนำเข้าอีก  ส่วนหินกรวดที่ตรวจยึด จะนำเข้าสู่กระบวนการ ขายทอดตลาดในราคากลางต่อไป

ทั้งนี้ ผลการตรวจยึดของศุลกากรนครพนม ระยะสองเดือนที่ผ่านมา ด่านศุลกากรนครพนมได้มีการอายัดหินกรวดจากผู้ประกอบการแล้วจำนวน 5 ราย รวมหินกรวดประมาณ 301,862 คิว (ลบ.ม.) มูลค่าประมาณ 51,316,540 บาท  ส่วนขั้นตอนหากไม่สามารถชี้แจงที่มาได้ ใน 30 วัน จะมีการดำเนินคดี ทั้งแพ่ง และทางอาญา มีโทษทั้งจำทั้งปรับ

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน