วันที่ 7 สิงหาคม 2567 นายกัมปนาทจักรวาล วิเวศ ศรีพุทธา รองผู้ว่าจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดโครงการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุเต็มรูปแบบ กรณีจับตัวประกันและเพลิงไหม้อากาศยาน ท่าอากาศยานนครพนม ประจำปีพุทธศักราช 2567 “KOP-EMEX 2024” โดยมีนายปัญญา สัจธรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการท่าอากาศยานนครพนม หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายเข้าร่วมฝึกซ้อม ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารที่พักผู้โดยสาร ท่าอากาศยานนครพนม โดยในช่วงเช้าเป็นการบรรยายให้ความรู้เรื่อง “การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และช่วงบ่ายเป็นการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะจำลองสถานการณ์ (Table Top Exercise) ส่วนวันที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 – 12.00 น.เป็นการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินเต็มรูปแบบ (Full Scale Emergency Exercise)
ข่าวน่าสนใจ:
- เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและอุทกภัยลุ่มน้ำโขง
- ขอนแก่นแถลงผลปราบปรามยาเสพติดระยะเร่งด่วน 3 เดือน ครองอันดับ 1 ภาคอีสาน อันดับ 4 ของประเทศ
- รวบ 2 คนร้ายตระเวณลักกล่องสัญญาณโทรศัพท์ส่งขายให้นายทุนชาวจีน
- TAT ททท.จัดใหญ่จัดเต็มบิ๊กอีเวนต์ "มหากรรมเสน่ห์ไทย" 5 ภูมิภาค เทศกาลตลอดกันยายนนี้
นายปัญาญา สัจธรรม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการท่าอากาศยานนครพนม กล่าวว่า การฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินเต็มรูปแบบ (Full Scale Emergency Exercise) จะมีการฝึกซ้อมทุก ๆ 2 ปี สำหรับงานด้านความปลอดภัยหรือการดับเพลิงกู้ภัย จะมีการฝึกซ้อมทุก ๆ 3 ปี ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่กำหนดให้แต่ละท่าอากาศยานของรัฐภาคีจัดให้มีแผนฉุกเฉิน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหากเกิดเหตุการณ์จริง โดยท่าอากาศยานนครพนมมีมาตรการจัดทำแผนฉุกเฉินท่าอากาศยานเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ และได้ดำเนินการนำแผนฉุกเฉินของท่าอากาศยานไปสู่การปฏิบัติ โดยต้องบูรณาการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินท่าอากาศยานร่วมกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามสภาพพื้นที่เสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการประชุมหารือร่วมกันระหว่างท่าอากาศยานนครพนมกับหน่วยงานในจังหวัดถึงการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน ดังนั้น ท่าอากาศยานนครพนมจึงจัดให้มีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุเต็มรูปแบบ กรณีจับตัวประกันและเพลิงไหม้อากาศยาน ประจำปีพุทธศักราช 2567 “KOP-EMEX 2024” เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานภายในท่าอากาศยานนครพนม ทั้งเจ้าหน้าที่ของท่าอากาศยานฯ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ฝึกซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งการสื่อสาร การควบคุมสั่งการ การประสานงาน การเข้าระงับเหตุและช่วยเหลือผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ ขั้นตอนการดูแลและอำนวยความสะดวก ผู้โดยสารที่ประสบเหตุ ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงจะสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยของท่าอากาศยานนครพนม ให้กับสายการบิน ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ
นายปัญญา กล่าวต่อว่า สำหรับวันที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 น. เริ่มทำการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุเต็มรูปแบบ (Full Scale) โดยได้มีสถานการณ์สมมุติกรณีเกิดเหตุจับตัวประกันและเพลิงไหม้อากาศยาน จึงได้สั่งเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน (Emergency Operation Center : EOC) ณ ท่าอากาศยานนครพนม โดยจะมีหน่วยงาน ภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมปฏิบัติงานในการฝึกซ้อมแผนดังกล่าวตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ประมาณ 200 คน ซึ่งใช้เวลาในการฝึกซ้อมจริงประมาณ 3 ชั่วโมง
นายกัมปนาทจักรวาล วิเวศ ศรีพุทธา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า การฝึกซ้อมแผนดังกล่าวมีความสำคัญและจำเป็นแก่เจ้าหน้าที่ ทำให้มีความรู้และปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ÌCAO)ซึ่งการจัดการฝึกซ้อมดังกล่าวคณะทำงานได้บูรณาการร่วมกันในการฝึกซ้อมแผนร่วมกับทุกภาคส่วนในจังหวัด พร้อมนี้ ยังร่วมกันฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะจำลองสถานการณ์ ให้เกิดความเข้าใจก่อนปฏิบัติการ ฝึกซ้อมจริง และมีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามแผนฉุกเฉิน ไปสู่การปฏิบัติเมื่อเกิดสถานการณ์จริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและหน่วยงานที่ทุกท่านสังกัดต่อไปในอนาคต.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: