วันที่ 3 ต.ค.66 ที่ห้องประชุมชั้น 2 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) จ.นครพนม นายเชิดชัย โคตรพัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.นครพนม เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนระหว่างการเชิญผู้จัดการธนาคาร ธกส.สาขาต่างๆในพื้นที่ความรับผิดชอบของจังหวัดนครพนมมาประชุมซักซ้อมแนวทางปฏิบัติ หลังจากรัฐบาลมีนโยบายพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินและสนับสนุนการฟื้นตัวของเกษตรกรหลังจากประสบสภาวะวิกฤต COVID-19 และเศรษฐกิจชะลอตัว โดยในวันที่ 26 กันยายน 2566 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินมาตรการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรและบุคคลที่มีสถานะเป็นหนี้ปกติและหนี้ค้างชำระที่มีเงินต้นยังคงเป็นหนี้ทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งมีเกษตรกรที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว จำนวนกว่า 2.69 ล้านราย และทางสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนครพนม มีผู้มีสิทธิ์สามารถอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้จำนวน 32,566 ราย ทั้งนี้มีเงินต้นที่ยังคงเป็นหนี้ 4,293,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ เกษตรกรต้องแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ พร้อมรับการประเมินศักยภาพและความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงการเสริมความรู้ฟื้นฟูทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นหลังการพักชำระหนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการ ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมถึงลดความคับคั่งในการเข้าไปใช้บริการที่สาขาแต่ละแห่ง ทาง ธ.ก.ส. ได้จัดวางระบบให้เกษตรกรแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ฯ ผ่านแอปพลิเคชั่น BAAC Mobile โดยใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แสดงความประสงค์ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ จากนั้นระบบจะมีการประมวลข้อมูลตรวจสอบคุณสมบัติ หากเข้าเกณฑ์ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรการ ธ.ก.ส. จะนัดหมายลูกค้าและผู้ค้ำประกันไปที่สาขาหรือจุดบริการที่นัดหมาย เพื่อจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 จนถึง 31 มกราคม 2567 รวม 4 เดือน อย่างไรก็ตามในกรณีที่เกษตรกรไม่สะดวก สามารถติดต่อแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการได้ที่สาขาใกล้บ้านทั่วประเทศ ซึ่งจะมีพนักงานอำนวยความสะดวกในการแจ้งความประสงค์ผ่าน BAAC Mobile เพื่อเข้าสู่ระบบการประมวลผลและตรวจสอบสิทธิ์เช่นเดียวกัน
นอกจากการพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อยแล้ว รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับภารกิจในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนลดภาระหนี้สินเกษตรกรรายย่อยและเพิ่มรายได้เกษตรกร โดยในระหว่างการพักชำระหนี้ ธ.ก.ส. ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอาชีพ ทั้งอาชีพเดิม อาชีพเสริม และอาชีพใหม่ ภายใต้แนวทาง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ใหม่” โดยร่วมมือกับส่วนงานภายนอกทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้เพิ่มมูลค่าผลผลิต การลดต้นทุน การปรับปรุงพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดที่มีกำลังซื้อสูง เพื่อสร้างรายได้ เพิ่มศักยภาพให้สามารถชำระหนี้ได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ตำบลดงสิงห์ เปิดศูนย์ CBTx ฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด ครั้งที่ 2
- ผวจ.นครพนม แจ้งเตือนประชาชนเฝ้าระวังน้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น ช่วงวันที่ 12-16 กันยายน 2567
- TAT ททท.จัดใหญ่จัดเต็มบิ๊กอีเวนต์ "มหากรรมเสน่ห์ไทย" 5 ภูมิภาค เทศกาลตลอดกันยายนนี้
- เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและอุทกภัยลุ่มน้ำโขง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: