X

ชาวไทย – ลาว ปั่นวิ่ง ระลึกถึง วันพระธาตุพนมล้ม ครบรอบ 48 ปี

วันที่ 11 ส.ค.65 ที่บริเวณแลนด์มาร์คพญาศรีสัตตนาคราช ถ.สุนทรวิจิตร อ.เมือง จ.นครพนม เวลา 05.00 น. นายสุรพล  นิรมานการย์  ประธานชมรมวิ่งนครพนม เป็นประธานปล่อยตัวนักวิ่ง ไทย – ลาว จำนวน 500 คน วิ่งไปวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ระยะทาง 52 กม.

เวลา 07.00 น. นายศุภชัย  โพธิ์สุ  ประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 // ส.ส.นครพนม เขต 1 นครพนม  เป็นประธานปล่อยตัวนักปั่นจักรยาน จำนวน 1,000 คน มีนักปั่นจักรยาน จาก สปป.ลาว นักปั่นจากทั่วประเทศ และนักปั่นชาวนครพนม  ร่วมปั่นไปยังวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เพื่อระลึกถึงวันพระธาตุพนมล้มพังทลายลงมาทั้งองค์  เมื่อวันที่ 11 ส.ค.2518  ตลอดระยะทาง 52 กม. มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประชาชน  ให้การต้อนรับ ให้กำลังใจ มอบอาหาร เครื่องดื่ม ให้ผู้ร่วมกิจกรรม  มอบดอกไม้ ธูปเทียน และเงินทำบุญให้กับจิตอาสา หน่วยประชาสัมพันธ์  นำไปถวายบูชาองค์พระธาตุพนม  พร้อมทำบุญทอดผ้าป่า โดยมีพระเทพวรมุนี  เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  และที่ปรึกษาเจ้าคณะ ภาค 10 และพระภิกษุให้การต้อนรับ ผู้มีจิตศรัทธา มอบอาหาร เครื่องดื่ม  ให้กับผู้ร่วมกิจกรรม และมอบวัตถุมงคลให้กับผู้มาร่วมทำบุญ

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2518 เมื่อ 46 ปีก่อน เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในจังหวัดนครพนม เมื่อ “องค์พระธาตุพนม” พระธาตุเก่าแก่องค์สำคัญแห่งจังหวัดนครพนม ที่เป็นดังศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในดินแดนอีสานรวมไปถึงชาวลาว ได้ล้มพังทลายลงมาทั้งองค์ เนื่องจากเหตุการณ์ฝนตกหนักและเกิดพายุพัดแรง เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความโศกเศร้าสะเทือนใจต่อพุทธศาสนิกชนสองฝั่งโขงเป็นอย่างมาก   “พระธาตุพนม” ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีวอก และพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ ตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธกาลประมาณ พ.ศ.8 ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรเจริญรุ่งเรือง องค์พระธาตุประดิษฐานอยู่บนภูกำพร้าริมฝั่งโขง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ครั้งหนึ่งพุทธองค์เคยเสด็จมาโปรดสัตว์น้อยใหญ่ ตามตํานานอุรังคธาตุกล่าวถึงพระมหากัสสปะและพระอรหันต์ 500 องค์ ได้นําพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจากชมพูทวีป และท้าวพญาผู้ครองนครทั้ง 5 เป็นประธานในการสร้างที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนมในปัจจุบัน

สืบต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนมอีกหลายครั้ง อาทิ การบูรณะครั้งที่ 1 ในราว พ.ศ.500 โดยพญาสุมิตธรรมวงศาแห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ 5 องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ 24 เมตร ( สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังลงแล้ว) แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิมซึ่งทำการบรรจุตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์    การบูรณะครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2157 โดยพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูรเป็นประธาน การบูรณะครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ.2236-2245 โดยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน การบูรณะครั้งนี้ ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งทำการบูรณะใน พ.ศ. 500 ให้สูงขึ้นอีกประมาณ 43 เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้ อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต และอัญมณีอันมีค่าต่างๆ ไว้ภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกพระธาตุพนมว่า “ธาตุปะนม” (ประนม) สืบต่อมาใน พ.ศ.2497 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ในครั้งนั้นมีการสร้างฉัตรพระธาตุพนมใหม่ทำด้วยทองคำซึ่งเป็นของวัดที่ได้จากประชาชนบริจาค และได้ทำพิธียกฉัตรในปีนั้น

สืบต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนมอีกหลายครั้ง อาทิ การบูรณะครั้งที่ 1 ในราว พ.ศ.500 โดยพญาสุมิตธรรมวงศาแห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ 5 องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ 24 เมตร ( สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังลงแล้ว) แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิมซึ่งทำการบรรจุตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์      การบูรณะครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2157 โดยพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูรเป็นประธาน การบูรณะครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ.2236-2245 โดยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน การบูรณะครั้งนี้ ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งทำการบูรณะใน พ.ศ. 500 ให้สูงขึ้นอีกประมาณ 43 เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้ อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต และอัญมณีอันมีค่าต่างๆ ไว้ภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกพระธาตุพนมว่า “ธาตุปะนม” (ประนม) สืบต่อมาใน พ.ศ.2497 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ในครั้งนั้นมีการสร้างฉัตรพระธาตุพนมใหม่ทำด้วยทองคำซึ่งเป็นของวัดที่ได้จากประชาชนบริจาค และได้ทำพิธียกฉัตรในปีนั้น

แม้จะสร้างความโศกเศร้าสะเทือนใจต่อผู้ที่เคารพศรัทธาต่อองค์พระธาตุ แต่ด้วยพลังแรงศรัทธา ประชาชนจึงได้กันร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม โดยมีรัฐบาลไทยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ใน พ.ศ. 2522 โดยลักษณะพระธาตุเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงงดงามเหมือนองค์เดิม มีขนาดฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร และสูง 53.60 เมตร ทางรัฐบาลได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี

ปัจจุบันพระธาตุพนมยังคงงามสง่าเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของภาคอีสาน มีผู้มากราบไหว้บูชาทั่วทุกสารทิศ โดยหากใครได้เดินทางมากราบองค์พระธาตุแล้ว ก็อยากให้มาชม “พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุพนม” ที่ได้จัดแสดงโบราณวัตถุอันเก่าแก่ที่เคยบรรจุอยู่ในพระธาตุพนมองค์เดิม รวมถึงผอบสำริดเก่าที่เคยบรรจุพระอุรังคธาตุไว้ให้ได้ชม ไปพร้อมกับกับการศึกษาประวัติศาสตร์ของพระธาตุพนมด้วย

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน