X

เกษตรจังหวัดนครพนม เตือนภัย !! โรคตายพรายในกล้วย ภัยร้ายถึงตาย พร้อมแนะวิธีป้องกันลดการระบาดในแปลง

วันที่ 1 ก.ค.65 นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า “โรคกล้วยตายพราย” พบในกล้วยอายุ 4 – 5 เดือน ขึ้นไป เกือบทุกชนิด โดยในช่วงแรกควรหมั่นสังเกตตามก้านของใบ ซึ่งจะมีสีเหลือง อ่อน ของใบแก่ ซึ่งต่อมา เชื้อราจะลุกลาม จะลุกลามไปยังขอบใบ และจะเหลือง ทั้งใบ หากป้องกันไม่ทัน เชื้อราจะสามารถเข้าทำลายโดยเข้าสู่ลำต้น และลุกลามเข้าสู่ก้านใบ โคนใบแก่จะมีสีเหลืองซีด ในที่สุดลำต้นจะยืนต้นตาย หรือล้มตาย โดยเกิดจากเชื้อสาเหตุ คือ เชื้อรา: Fusarium oxysporum f.sp. Cubense ซึ่งจะเข้าทำลายระบบราก และเจริญเข้าไปในท่อน้ำ ท่ออาหาร ทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลให้ใบมีอาการขาดน้ำ เหี่ยวเฉา และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หักพับ ชะงักการเจริญ และตายในที่สุด และจะเกิดการระบาดไปทางดิน และสำหรับต้นกล้วยที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงจะถูกโรคเข้าทำลายและลุกลามอย่างรวดเร็ว จึงควรทำความสะอาดโคนกอกล้วย และทำทางระบายน้ำให้ดี

กล้วย เป็นพืชที่ช่วยสร้างรายได้และสามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย เป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยสรรพคุณทางโภชนาการที่เปี่ยมล้น นำมากินแบบสดๆ ก็อร่อย นำไปแปรรูปก็ดีเลิศ ทำให้กล้วยเป็นพืชที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป ด้วยรสชาติ และการเจริญเติบโตให้ผลผลิตเร็ว แต่กล้วยเองก็มีโรคประจำตัว นั่นก็คือ โรคตายพรายกล้วย ที่ทำให้ต้นกล้วยตายและผลผลิตลดลง ส่งผลผลให้เกษตรกรได้รับผลผลิตที่น้อยลงตามไปด้วย

ลักษณะอาการ ต้นกล้วยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง และขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วใบ ซึ่งใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้หรือตายนึ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้าน ใบ ใบยอดจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก ต่อมาก็ตายไปเช่นกัน และใน่สวนของกล้วยที่ตกเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด บางครั้งพบใบกล้วยหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสี น้ำตาลแดง พบมากในไส้กลางของกล้วย โดยอาการนี้จะขยายไปยัง กาบ ใบ และลุกลามไปที่เครือ ผลกล้วย มีเส้นใยของเชื้อราได้ชัดเจนด้วย ตาเปล่า

วิธีป้องกันโรคตายพลาย การป้องกันโรคตายพรายที่ได้ผลดี คือ ก่อนปลูกชุบหน่อพันธุ์ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ที่คลุกกับ เชื้อราไตรโคเดอร์มา และใช้ไตรโคเดอร์มาราดโคนต้น ควรทำอย่างต่อเนื่องทุกเดือน และหมั่นตัดแต่งใบกล้วยเมื่อมีโอกาส กรณีกล้วยเป็นโรค ให้ขุดเหง้าขึ้นมาเผาทำลายแล้วโรยพื้นดินบริเวณด้วยปูนขาว 1-2 กก./หลุม และทำความสะอาดแปลงปลูกและเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตรอยู่เสมอ เนื่องจากเชื้อชนิดนี้ลามได้ง่าย ทิ้งระยะพื้นที่นั้นๆ เป็นเวลา 2 – 3 เดือน เพื่อดินบริเวณดังกล่าวจะปลอดเชื้อ การควบคุมโรคตายพราย • ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปลอดโรค • ทำลายต้นกล้วยที่เป็นโรค • ห้ามขุดย้ายหน่อที่เป็นโรคไปปลูก • ทำความสะอาดเครื่องมือ

สำหรับในบริเวณพื้นที่เพาะปลูกไม่ควรมีน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้กล้วยน้ำว้าอ่อนแอ และเกิดโรคได้ง่าย และเพื่อไม่ให้น้ำไหลผ่านจากต้นกล้วยที่เป็นโรคไปสู่ต้นกล้วยปกติ ควรทำให้พื้นที่เพาะปลูกระบายน้ำได้ดี ต้องหมั่นสังเกตที่กอกล้วยว่ามีอาการของโรคตายพรายที่กล่าวไปข้างต้นหรือไม่ มีการโรยปูนขาวบริเวณเพาะปลูก ทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตรอยู่เสมอ เพราะเชื้อชนิดนี้ลุกลามได้ง่าย และควรทิ้งระยะพื้นที่นั้นๆ เป็นเวลา 2-3 เดือน ควรทำลายต้นกล้วยที่เกิดโรคตายพรายในทันทีและห้ามขุดย้ายหน่อต้นที่เป็นโรคไปปลูกโดยเด็ดขาด

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน