นครพนม – “ส.ส.เดือน” มนพร เจริญศรี ช่วยชาวสวนสับปะรดหวานท่าอุเทน ระดมทุนซื้อ 10 ตันส่งไปแจกจ่ายผู้กักตัวโควิดใน กทม. วางแผนระยะยาวตัดตอนพ่อค้าคนกลางกดราคา
วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 นางมนพร เจริญศรี หรือเดือน ส.ส.นครพนมเขต 2 พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายสุขสันต์ พรรณวงษ์ อายุ 46 ปี ผู้ใหญ่บ้านกุดกุ่มน้อย หมู่ 4 ต.โนนตาล อ.ท่าอุเทน/ประธานกลุ่มเกษตรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดนครพนม นายสุภวิทย์ พรรณวงศ์ นายก อบต.โนนตาล นายไสว คนซื่อ ไปรษณีย์จังหวัดนครพนม และตัวแทนภาคเกษตรกร ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมรับทราบปัญหา พบปะกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ในพื้นที่ ต.โนนตาล อ.ท่าอุเทน และ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ซึ่ง เป็นพื้นที่ปลูกสับปะรดหวานขึ้นชื่อ สินค้าเกษตร GI ประจำถิ่น ที่สร้างรายได้ ปีละหลาย 10 ล้านบาท ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากกกว่า 5,000 ไร่ มีผลผลิตส่งออกขายในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายนของทุกปี ประมาณวันละ 30 -40 ตัน แต่ช่วงนี้ได้รับผลกระทบจากโควิดระบาด ทำให้ผลผลิตล้นตลาด ไม่มีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อ รวมถึงลูกค้ารายย่อยลดน้อยลง ส่งผลให้ขาดรายได้และมีราคาตกต่ำ จากปกติราคาหน้าสวน กิโลกรัมละ 10 -15 บาท ปัจจุบันเหลือแค่กิโลกรัมละ 5 -8 บาท ต้องแบกภาระต้นทุน และยังทำให้ผลผลิตตกค้างเน่าเสียหาย
ข่าวน่าสนใจ:
- นนทบุรี สลด หนุ่มเมาขับกระบะย้อนศรพุ่งชน จยย.สาววัย 14 ปีดับ 2 ศพ
- นครพนม ผกก.สภ.เมืองนครพม แจงเอง เหตุไม่ออกมาระงับเหตุชายคุ้มคลั่ง
- แม่ทัพภาคที่ 2 มอบแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด และแถลงข่าวจับกุมยาบ้า 1.17 ล้านเม็ด
- หนุ่มหลอนยาคุ้มคลั่ง อาละวาดในงานทำบุญให้พ่อกลางดึก ชาวบ้านช่วยกันจับมัดก่อนแจ้งตำรวจมารับตัวส่งบำบัด
ด้าน นางมนพร เจริญศรี หรือ ส.ส.เดือน เปิดเผยว่าได้ลงพื้นที่พร้อมประสานงานไปยังทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน วางแนวทางในการช่วยเหลือ กระจายสินค้าออกสู่ตลาดให้เร็วที่สุด เนื่องจากสับปะรดที่ปลูกในพื้นที่ อ.ท่าอุเทน และ อ.โพนสวรรค์ บางส่วนกำลังอยู่ในช่วงเก็บผลผลิต แต่เกิดผลกระทบจากสถานการณ์โควิดทำให้ยากต่อการจำหน่าย ไม่มีพ่อค้ามารับซื้อ รวมถึงปิดด่านชายแดน ไม่มีพ่อค้าแม่ค้าชาวลาวข้ามมารับซื้อได้ส่วนหนึ่ง ส่วนเรื่องราคาจากการสอบถามเกษตรกร ถึงแม้ราคาจะตกลงมาที่ประมาณกิโลกรัมละ 5 -10 บาท ถือว่ายังอยู่ได้ สิ่งสำคัญคือเรื่องการตลาด ไม่มีคนมารับซื้อ ขายได้แต่รายย่อย ทำให้สินค้าล้นตลาด และผลผลิตจะได้รับความเสียหาย เพราะมีระยะเวลาในการจำหน่าย ทั้งนี้ตนในฐานะตัวแทนของพี่น้องประชาชน ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งทางจังหวัดนครพนม ภาคเอกชน ไปรษณีย์ไทย ได้วางแผนลงพื้นที่ช่วยเหลือการตลาดให้สามารถกระจายผลผลิตส่งขายออกสู่ต่างจังหวัดได้มากขึ้น ตามช่องทางต่างๆ รวมถึงการขายแบบออนไลน์ นอกจากนี้ตนได้หารือกับภาคเอกชน รวมถึงพรรคเพื่อไทย ระดมทุน เบื้องต้นนำร่องจัดซื้อจากชาวสวน จำนวน 10 ตัน เป็นเงินนับแสนบาท เพื่อนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือให้กับประชาชน ที่อยู่ระหว่างกักตัว ในพื้นที่ กทม. และต่างจังหวัด ซึ่งจะมีการรับซื้อต่อเนื่อง สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 10 ตัน เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ร่วมกับ ทางภาครัฐ
ส.ส.เดือนกล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญในระยะยาว จะต้องร่วมวางแนวทางกับหน่วยงานเกษตร และหน่วยงานเกี่ยวข้อง และตัวแทนเกษตรกร ให้วางแผนการเพาะปลูก รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่ให้มีการเก็บผลผลิตในช่วงเดียวกัน เพราะจะทำให้เกิดปัญหาล้นตลาด และประเมินความเสี่ยง ในการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในช่วงสถานการณ์โควิด รวมถึงการวางแนวทางด้านการตลาด ตัดปัญหาพ่อค้าคนกลางตัดราคา ให้พ่อค้าแม่ค้ารับซื้อโดยตรงจากสวน ลดการกดราคา เนื่องจากที่ผ่านมาส่วนใหญ่ผลผลิตสับปะรดตามท้องตลาดจะมีราคาอยู่ในระดับดี แต่สิ่งที่กระทบคือชาวสวนถูกกดราคาต่ำ เพราะต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้รายได้ลดลง แต่ต้องแบกต้นทุนสูง จึงต้องหาแนวทางแก้ไขในระยะยาว
นายสุขสันต์ พรรณวงษ์ อายุ 46 ปี ผู้ใหญ่บ้านกุดกุ่มน้อย หมู่ 4 ต.โนนตาล อ.ท่าอุเทน ในฐานะประธานกลุ่มเกษตรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่าต้องยอมรับปีนี้พื้นที่ปลูกสับปะรดในพื้นที่ อ.ท่าอุเทน และ อ.โพนสวรรค์ รวมมีพื้นที่ปลูกเกือบ 7,000 ไร่ และมีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือน มิถุนายน พร้อมกัน ไม่ต่ำกว่าวันละ 30 -40 ตัน แต่ปีนี้ได้รับผลกระทบจากโควิด ทำให้มีปัญหาการตลาด พ่อค้าแม่ค้าไม่มารับซื้อ เพราะติดมาตรการโควิดบางพื้นที่ รวมถึงการจำหน่ายรายย่อย ตามจุดขายริมถนน ขายยากไม่มีประประชาชน นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา อย่างไรก็ตามตนในฐานะประธานกลุ่มผู้ปลูกสับปะรด ได้สะท้อนปัญหาไปยังภาครัฐ พร้อมวางแนวทางร่วมกันกับเกษตรกร ในการวางแผนรอบการเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ให้ล้นตลาด เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว ส่วนเรื่องราคา หากหน้าสวนยังอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 10 -15 บาท ถือว่ายังพออยู่ได้ แต่หากต่ำกว่ากิโลกรัมละ 5 บาท จะต้องแบกภาระต้นทุนหนัก ทั้งการดูแล เรื่องปุ๋ย ต้นทุนการผลิต และหากตัดเรื่องพ่อค้าคนกลางกดราคาได้ หันไปซื้อจากสวนโดยตรง ยิ่งจะช่วยเหลือเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เพราะพื้นที่ จ.นครพนม ยังไม่มีโรงงานแปรรูป อีกทั้งไม่สามารถเก็บไว้ได้นานหากขายไม่หมดต้องเน่าเสีย นำไปทำปุ๋ย บางรายต้องยอมขายขาดทุน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: