X

เกษตรนครพนม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำเจ้าหน้าที่ดูงาน “ทำเกษตรผสมผสาน แบบเศรษฐกิจพอเพียง”

นครพนม – เกษตรนครพนม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำเจ้าหน้าที่ดูงาน “ทำเกษตรผสมผสาน แบบเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมเรียนรู้การทำแผนพัฒนาภาคการเกษตรในพื้นที่

ณ บริเวณศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) บ้านยอดชาด ต.ยอดชาด อ.วังยาง จ.นครพนม โดยนายราชันย์ ไชยศิลป์ รักษาราชการแทน เกษตรจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ (DW) คือการสัมมนาเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ ( District Workshop : DW ) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ โดยระดับจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการและมีเจ้าภาพร่วมเป็นเกษตรอำเภอในแต่ละสาย เพื่อขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ครั้งที่ 3 พร้อมร่วมกันวิเคราะห์แนวทางในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ โดยมีนายวิชาญ ซาตัน เกษตรอำเภอวังยาง กล่าวต้อนรับ ซึ่งมีเกษตรอำเภอพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอ จำนวน 6 (สายใต้) อำเภอเข้าร่วมการจัดเวทีฯ ในครั้งนี้

นายราชันย์ ไชยศิลป์ รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า สำหรับการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ (DW) เพื่อขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เป็นอีกเวทีหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกัน โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกๆคน และยังคงให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามนโยบาย (Agenda) กับภารกิจหลักของหน่วยงาน (Function) กรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้การขับเคลื่อนตามระบบส่งเสริมการเกษตร (Training and. Visit System : T & V System) คือการเยี่ยมเยียนเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เกษตรกรมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาดูงาน เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และเกษตรกร ที่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน สร้างรายได้และอาชีพที่มั่นคง และถือเป็นต้นแบบของการทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้นำไปปรับใช้ โดยมีกิจกรรมที่ให้เจ้าหน้าที่ได้เรียนรู้มากมาย ได้แก่ 1. การเลี้ยงหนูนา 2. การเลี้ยงกบ และปลาเบญจพรรณ 3. การปลูกไม้ผล 4. ปศุสัตว์ และ 5. การปลูกพืชอินทรีย์

ซึ่งแต่ละจุดได้มีการอธิบายและให้ข้อมูล รวมทั้งการตอบซักถามของเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน หลังจากการดูงานแล้วจะมีการสรุปและวิเคราะห์องค์ความรู้ร่วมกัน ถึงปัญหา แนวทางการแก้ไป และการพัฒนากิจกรรมให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
อีกทั้งนอกจากการศึกษาดูงานในพื้นที่จริงแล้ว ยังมีการถ่ายทอดความรู้การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรให้กับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่เข้าร่วม รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อสรุปและทราบถึงปัญหาและแนวทางการพัฒนาภาคการเกษตรในพื้นที่อำเภอวังยางต่อไปในอนาคต

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน