X

รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่นครพนมแนะเกษตรกรเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

นครพนม – วันที่ 3 ตุลาคม 2561 ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นายสัตวแพทย์จิระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมคณะลงพื้นที่ชี้แจงประชาสัมพันธ์แนวทางในการเฝ้าระวังโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร สร้างการรับรู้ให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่

นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดว่า วันนี้เป็นการลงพื้นที่เพื่อพบปะกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดนครพนม เพื่อสร้างการรับรู้ รับทราบ ทำให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร ซึ่งเป็นโรคสัตว์อุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นในเอเชีย เป็นโรคที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศจีนอยู่ในขณะนี้ แต่ยังไม่เกิดในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันโรคนี้ กรมปศุสัตว์จึงได้มีมาตรการที่เข้มงวดออกมา

โดยทางน้ำที่มี 11 จังหวัดติดชายแดน ได้มีการเฝ้าระวังด้วยการห้ามไม่ให้มีการลักลอบขายสุกรผ่านทางลุ่มน้ำ ส่วนทางบกก็มีการตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างเข้มงวดทั้งขาเข้าและออก ขณะที่ทางอากาศได้ขอความร่วมมือไปยังด่านต่างๆ ในการตรวจสอบสัมภาระของชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะชาวจีน ว่ามีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสุกรหรือไม่ เพราะกรมปศุสัตว์ได้มีการชะลอการนำเข้าสัตว์ และซากสัตว์ชนิดสุกรจากประเทศจีน ส่วนสาเหตุที่ต้องเฝ้าระวังมากขนาดนี้ เพราะเป็นโรคระบาดที่รุนแรงสูงสุดในสุกร ด้วยเป็นโรคที่ไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่มียารักษา ถ้าใครมาแอบอ้าง ถือว่ามีความผิดหลอกลวงประชาชน สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการจับกุมได้ทันที

โดยเชื้อไวรัสของโรคมีความต้านทานที่สูงมาก ต้องใช้น้ำเดือด 60-70 องศา ฆ่าเชื้อนานถึง 30 นาทีถึงจะตาย แต่ถ้าเชื้ออยู่ในเนื้อในห้องแช่แข็งจะอยู่ได้นานถึง 1,000 วัน และถ้าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อก็ต้องแช่ถึง 30 นาทีเชื้อถึงจะตาย และที่สำคัญคือเมื่อสัตว์เป็นโรคนี้แล้วอัตราการตายเกือบ 100 % แต่ถ้าตัวไหนรอดจะเป็นตัวแพร่เชื้อไปตลอดชีวิต สำหรับอาการป่วยของสุกรที่เป็นโรคนี้จะคล้ายกับโรคอหิวาห์ในสุกรแบบดังเดิมของไทย คือตัวร้อน ไข้สูง นอนสุมกัน ตาแฉะ ตามตัวโดยเฉพาะใบหูมีปื้นแดง ใต้ท้องจะมีจ้ำเลือดเป็นจุดเป็นจุด ซึ่งต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเท่านั้นถึงจะทราบว่าป่วยเป็นโรคหรือไม่ ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ได้มีการเตรียมห้องห้องปฏิบัติการไว้รองรับการตรวจหาโรคแล้ว จำนวน 10 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งถ้าพี่น้องเกษตรกรสงสัยให้รีบติดต่อปศุสัตว์ใกล้บ้านเก็บตัวอย่างไปตรวจได้ทันที ห้ามผ่าซากโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้เกิดการกระจายของเชื้อ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน