X

ผู้ตรวจฯสำนักนายกรัฐมนตรีบูรณาการลงพื้นที่นครพนม

นครพนม – ผู้ตรวจฯสำนักนายกรัฐมนตรีบูรณาการลงพื้นที่นครพนม ติดตามการเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 ที่จังหวัดนครพนม นางสาวอรนุช ศรีนนท์ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 11 พร้อมด้วยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ว่าที่ร้อยตรี กฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนกระทรวงคมนาคมลงพื้นที่ตรวจติดตามการเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศแม่น้ำโขงของจังหวัดนครพนม โดยมีนายชาตรี จันทร์วีระชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม และคณะหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน

จากสภาพปัญหาของแม่น้ำโขงที่เป็นแม่น้ำนานาชาติ ที่หลายประเทศใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกัน และในปีนี้ที่เห็นได้ชัดเจนว่าน้ำมีปริมาณลดต่ำลงมาก ปริมาณน้ำขึ้นลงไม่เป็นไปตามฤดูกาล ก่อให้เกิดปัญหาการพังทลายของตลิ่ง ระบบนิเวศของแม่น้ำโขงเสียหาย มีผลกระทบต่อประชากรริมแม่น้ำโขงในหลายประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยจังหวัดนครพนมก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่ในปีนี้ระดับน้ำโขงเฉลี่ยต่ำสุดประมาณ 1 เมตร ถือว่าต่ำสุดในรอบ 50 ปี ทำให้เกิดปรากฎการณ์น้ำหิว น้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนเป็นสีครามคล้ายน้ำทะเล มีสันดอนทรายขึ้นกลางลำน้ำโขง ส่งผลกระทบต่อการเดินเรือข้ามฟาก รวมถึงการทำการเกษตรของเกษตรกรริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีการบูรณางานร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยหน่วยงานมีการติดตามและเฝ้าระวังเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำดิบที่นำมาใช้ผลิตน้ำประปา รวมถึงการเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรองเพื่อมาใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรในพื้นที่  ศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตในน้ำและการประกอบอาชีพของประชาชน มีการเฝ้าระวังการระบาดของโรคแมลงศัตรูพืชและจำนวนผลิตทางการเกษตร การปรับปรุงฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร การบูรณาการข้อมูลแหล่งน้ำทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน การประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนกำลังเจ้าหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชน และมีการนำเอาปัญหาความต้องการในพื้นที่เสนอเข้าไปในแผนงานโครงการต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อหาทางแก้ไข นอกจากนี้ยังมีการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้เข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขา เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรทุกคนเตรียมความพร้อมในการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด รู้จักการวางแผนการผลิตและควบคุมการเพาะปลูกพืช หันมาปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้ทดแทน

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน