X

มุกดาหาร ทสจ.ตรวจสอบพื้นที่ป่าต้นน้ำถูกชาวบ้านบุกรุกกว่า 300 ไร่

มุกดาหาร – ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่หลังจากได้รับร้องเรียนว่ามีชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหมู ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 5 จุดกว่า 300 ไร่ ไปประกอบเกษตร อาทิ ปลูกมันสำปะหลัง อ้อย และยางพารา

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 61 นายสุรเดช อัคราช ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมุกดาหาร พร้อมด้วย ผอ. ส่วนทรัพยากรธรรมชาติ ผอ. ศูนย์ป่าไม้มุกดาหาร หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ มห1(คำป่าหลาย) และเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก. ปทส. ได้ร่วมกันออกตรวจสอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหมู ท้องที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร ตามที่มีผู้ร้องเรียนและที่กรมป่าไม้แจ้งพิกัดมาให้ตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว

ปรากฏว่า มีผู้เข้าไปลักลอบบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า และนำพื้นที่ไปประกอบการเกษตร เพื่อปลูกมันสำปะหลัง อ้อย และปลูกยางพารา ซึ่งเป็นการบุกรุกพื้นที่ป่าใหม่ จำนวน 5 จุด พื้นที่ป่าถูกบุกรุกประมาณ 300 ไร่ จึงมอบหมายให้หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ มห 1 (คำป่าหลาย) นำเรื่องเข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย และจะได้เตรียมการเพื่อหาทางฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกให้กลับมาสมบูรณ์โดยเร็ว เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบสูงและเป็นป่าต้นน้ำลำธารของจังหวัดมุกดาหาร

ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า เมื่อมาถึงวันนี้รัฐบาลประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่า โดยยึดพื้นที่ทำกินที่ชาวบ้านบุกรุกแผ้วถางเอาคืนมาปลูกป่า ขณะที่พื้นที่ป่าที่ต้องการเพื่อทำหน้าที่หล่อเลี้ยงชาวบ้าน ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติทั่วประเทศมีจำนวนน้อย และเทียบไม่ได้กับพื้นที่ที่จะต้องดูแลป้องกันการบุกรุกหรือตามทวงคืน และขณะที่ชาวบ้านที่ไร้ทางเลือกก็ต้องอยู่รอด เพราะไม่เช่นนั้นความขัดแย้งจะขยายตัวต่อเนื่อง สามารถปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นต้นทุนประเทศเอาไว้ได้อย่างยั่งยืนอยู่รอดไปได้พร้อมๆ กับคนในพื้นที่ไม่สร้างความขัดแย้ง และทุกฝ่ายอยู่ได้ตามสมควรแก่อัตภาพต่อไป

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับป่าไม้ ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกแผ้วถางและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ปลูกป่าบนภูเขาสูงเนื่องจากสภาพป่าบนเขาสูงทรุดโทรมซึ่งจะมีผลกระทบต่อลุ่มน้ำตอนล่าง ปลูกป่าต้นน้ำลำธารไม่มีคนบุกรุก อย่าให้คนเข้าไปตั้งหลักแหล่งใหม่ หากไม่มีคนก็ดีแล้ว อย่าได้นำเข้าไปอีก ปลูกป่าแซมบ้างในบางส่วนที่เสื่อมโทรม ในกรณีเขาสูงอาจจะใช้ไม้จำพวกที่มีเมล็ดทั้งหลายขึ้นไปปลูกบนยอดที่สูง เมื่อโตแล้วออกเมล็ด เมล็ดก็จะลอยตกลงมาแล้วงอกเองในที่ต่ำต่อไป เป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ ในสภาพป่าเต็ง – รัง ป่าเสื่อมโทรมนั้นความจริงไม่ต้องทำอะไร เพราะตอไม้ก็จะแตกกิ่งออกมาอีก ถึงแม้ต้นไม่สวยแต่ก็เป็นต้นใหญ่ได้ ตามพื้นที่ก็มีต้นไม้เล็ก ๆ หรือเมล็ดที่งอกงามขึ้นมาอีก อย่าให้ใครเข้าไปบุกรุกทำลายอีก ป่าก็จะกลับคืนสภาพได้ วัชพืชที่คลุมพื้นที่อยู่อย่าเอาออก เพราะจะเป็นสิ่งป้องกันการเซาะพังทลายของหน้าดินเป็นอย่างดี และเก็บความชื้นไว้ได้ด้วย ถ้าจะปลูกแซมก็เพียงแต่เจาะวงกลมประมาณ 50 ซม. แล้วก็ปลูกต้นไม้วัชพืชที่อยู่รอบ ๆ ก็จะบังไพรกันแดดได้ด้วย โดยไม่ต้องทำที่กันแดดให้สิ้นเปลือง จำแนกสมรรถนะของที่ดินให้เหมาะสม ที่ดินที่สามารถทำประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมได้ ก็ให้ใช้ทำเกษตรกรรมและพื้นที่ใดไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้ก็ให้มีการรักษาสภาพป่าไม้ โดยให้มีการปลูกป่า โดยใช้ไม้ 3 ชนิด ได้แก่ ไม้สำหรับใช้สอย ไม้ผล และไม้สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง การปลูกป่าธรรมชาติหรือปลูกป่าต้นน้ำลำธาร ควรศึกษาดูก่อนว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้าง แล้วปลูกซ่อมแซมตามรายการชนิดต้นไม้ที่ศึกษามาได้ ไม้ควรนำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ ต่างถิ่นเข้ามาปลูก โดยยังไม่ได้ศึกษาอย่างแน่ชัดเสียก่อน อย่างไรก็ตามในพื้นที่บางพื้นที่อาจจะใช้ไม้โตเร็วที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย เช่น ต้นยางพารา ปลูกเป็นต้นไม้นำก่อนก็ได้ ให้ชาวบ้านร่วมกิจกรรมตั้งแต่ต้น และควรมีประโยชน์จากกิจกรรมด้วย เช่น ให้เพาะกล้าแล้วซื้อจากเขาแทนที่จะต้องผลิตต้นกล้าภายในพื้นที่ของตนเองแล้ว ทางราชการหรือเอกชนไปซื้อจากชาวบ้านให้ชาวบ้านมีรายได้ด้วย ปลูกป่าเพื่อให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยให้ราษฎรในท้องที่นั้น ๆ เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของป่าและการปลูกป่า อย่าได้ใช้ยาฆ่าวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้ามาใช้เป็นอันขาด เพราะร้ายแรงมาก นอกจากฆ่าหญ้าแล้วยังตกค้างเป็นพิษอยู่ในพื้นดินเป็นเวลานาน วัชพืชขนาดใหญ่และหนา เช่น ดงหญ้าคา คงต้องกำจัดบ้างก่อนปลูกป่า แต่วัชพืชใน ป่าเต็ง – รัง ในป่าต้นน้ำลำธารไม่ต้องขจัดออก ในป่าต้นน้ำลำธารไม่ควรให้มีสิ่งปลูกสร้างอะไรทั้งสิ้น ควรรักษาควบคุมให้ได้ ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ เป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า ควรปลูกแฝกเพื่อป้องกันดินพังทลายพร้อมทั้งรักษาหน้าดิน และสร้าง Top – Soil เก็บความชุ่มชื้นพร้อมกับการปลูกป่า อาจจะปลูกจากร่องน้ำขึ้นไป และร่องน้ำเองอาจจะปลูกเป็นรูปตัว V คว่ำ เพื่อชลอน้ำและกระจายความแรงออกไปพร้อมทั้งดักตะกอนไว้ได้ด้วย การปลูกป่าควรศึกษาพื้นที่พร้อมระบบเรื่องน้ำด้วย ในพื้นที่ภูเขาควรจะสร้างฝายแม้ว หรือ Check Dam เพื่อกักน้ำไว้สร้างความชุ่มชื้นให้ยาวนานขึ้น และเป็นระบบกันไฟเปียกด้วย ดังตัวอย่างที่ศูนย์ศึกษาฯ ห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน