X

เปิดประวัติ ปูม่วงไหมทอง ปูหายากสีสันสดสวย พบได้ที่เดียวในแก่งกระจาน

เพชรบุรี – อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เผยข้อมูล ปูม่วงไหมทอง ปูป่าหายากสีสันสดสวย พบเห็นได้ที่เดียวในประเทศไทย ใน อช.แก่งกระจาน

ปูม่วงไหมทอง ( Moung mai tong crab) ข้อมูลจาก อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ระบุไว้ว่า ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2533 บริเวณต้นแม่น้ำปราณบุรี (กม.18) ตำบลสองพี่น้อง กิ่ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ลักษณะพิศษ ที่ขอบกระดอง เบ้าตา และริมฝีปากมีสีเหลือง กระดองด้านบนมีสีม่วง พื้นก้ามหนีบมีสีขาว หนามในก้ามหนีบมีสีขาว บริเวณปลายก้ามมีสีขาว ข้อต่อก้ามด้านนอกและด้านในมีสีแดง ขาเดินทั้งสี่คู่มีสีม่วง บริเวณโคนขามีสีเหลือง ปลายขาเดินมีสีเหลือง ข้อต่อขาด้านในมีสีเหลือง ท้องด้านล่างลำตัวมีสีขาว

โตเต็มที่มีขนาดของกระดองกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย อาศัยหากินในเวลากลางคืนตามพื้นดินแห้ง และในเวลากลางวันหลังฝนหยุดตก ผสมพันธ์ในลำธาร ช่วงเดือนสิงหาคม เป็นปูน้ำจีดที่มีสีสวยงามที่สะดุดตา

นายเกียรติศักดิ์ กล่อมสกุล ไกด์ผู้ชำนาญใน พื้นที่ อช.แก่งกระจานระบุว่า “ปูม่วงไหมทอง” เป็นปูหายาก พบได้ที่เดียว ในผืนป่าแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี  ชื่อของปู ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่  อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  คือ นายสามารถ ม่วงไหมทอง เป็นปูป่าที่มีลักษณะสีสันสดสวย มีเอกลักษณ์โดดเด่น

ทั้งนี้ในปี 2536 นายสุทัศน์ ทรัพย์ภู่ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ส่งตัวอย่างปูไปให้ ศจ.ไพบูลย์ นัยเนตร ดูท่านระบุว่าปูดังกล่าวสีไม่เหมือนปูป่า ทั่วไป เป็นสายพันธ์ใหม่มีสีสันสวยสดใส จึงตั้งชื่อว่า ปูม่วงไหมทอง โดยใช้นามสกุลของ นายสามารถ ม่วงไหมทอง ซึ่งเป็นคนแรก ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มาเป็นชื่อปู เพื่อเป็นเกียรติแก่นายสามารถ ทั้งนี้พบว่าปูม่วงไหมทอง เป็นปูป่า ชนิดหายาก พบได้ที่เดียวในประเทศไทย ในบริเวณตอนใต้ ของ อช.แก่งกระจาน คือ หน่วยสะตือ น้ำตกป่าละอู และบ้านกร่างแค้มป์.///(ขอบคุณภาพปูจากคุณ เปีย แก่งกระจาน)

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน