X

อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบเครื่องมือทำมาหากิน

นราธิวาส-อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบเครื่องมือทำมาหากิน ส่งเสริมศักยภาพด้านอาชีพชายแดนใต้

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564
ที่ห้องประชุมบางนรา สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พร้อมคณะลงพื้นที่มอบนโยบายในการดำเนินการพัฒนาฝีมือ แรงงานปีงบประมาณ พ.ศ.2565 แก่เจ้าหน้าที่ สพร.25 นราธิวาส พร้อมมอบชุดเครื่องมือพื้นฐาน (ชุดเครื่องทำมาหากิน)ให้แก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรมโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดใช้แดนภาคใต้ประจำปี 2564 โดยมี นายเฉลิมพงษ์ บุญรอด รองผู้อำนวยการกองสานใจสู่สันติ (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) นายเสริมสกุล พจนการุณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม


ทั้งนี้สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่จะสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งหนทางที่จะนำไปสู่จุดหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมี การดำเนินงานในหลายๆด้านอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รับสนองนโยบายการดำเนินงานจึงได้จัดทำและบรรจุโครงการ ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นแผนงานปฏิบัติ ราชการ ประจำปี 2564 โดยมอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส ดำเนินการโครงการฝึกอบรมฝีมือแรงงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในกิจกรรม ฝึกทักษะอาชีพให้แก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้มีเป้าหมายฝึกอบรม จำนวน 280 คน


โดยโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ดังกล่าว เพื่อดำเนินการในส่วนของการฝึกอาชีพใน 60 สาขาช่างต่างๆ ซึ่งเน้นในภาคปฏิบัติ มีระยะการฝึก 10 วัน รวม 50 ชั่วโมง และเมื่อจบฝึกผู้สำเร็จการฝึกจะได้รับวุฒิบัตร รวมทั้งได้รับการสนับสนุน ชุดเครื่องมือพื้นฐาน(ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) มูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท ต่อคน เพื่อนำไปเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือใช้สำหรับเริ่มต้นการประกอบอาชีพ สร้างเป็นอาชีพให้แก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม สร้างรายได้ให้แก่ตนเอง และ ครอบครัวต่อไป


ซึ่งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส ได้ดำเนินการ ฝึกอบรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จำนวน 14 รุ่น รวมจำนวนผู้เข้ารับการ ฝึกอบรม 280 คน ผ่านการฝึกอบรมจํานวน 280 คน
โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส ได้กำหนดจัดพิธีมอบชุดเครื่องมือพื้นฐาน(ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) ขึ้นให้แก่ ผู้สำเร็จฝึกอบรม และสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม ให้เห็นถึง ตั้งใจของภาครัฐที่มุ่งส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเห็นคุณค่าประโยชน์ของชุดเครื่องมือพื้นฐาน และ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับตนเอง และ ครอบครัว

สำหรับพิธีมอบชุดเครื่องมือพื้นฐาน (เครื่องมือทำมาหากิน)จะเป็นการมอบชุดเครื่องมือให้แก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม จำนวนรวมทั้งสิ้น 106 คน ประกอบด้วย สาขาการซ่อมรถจักรยานยนต์
สาขาช่างไม้เครื่องเรือน สาขาช่างเชื่อไฟฟ้า
สาขาการซ่อมรถจักรยานยนต์ สาขาช่างประกอบโครงอะลูมิเนียม และตัวแทนกลุ่มผู้สำเร็จการฝึกอบรม อีก 3 สาขา คือ
สาขาช่างปูกระเบื้อง สาขาการตัดเย็บเสื้อผ้าและสาขาผู้ประกอบอาหารไทย(ฮาลาล)


ทางด้าน นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า จากปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เร่งดำเนินการแก้ไข โดยน้อมนำยุทธศาสตร์ พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยจัดทำโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้มีรายได้ มีอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ สร้างความสงบสุขในพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยการฝึกอาชีพเสริม ใน 7 สาขาอาชีพดังกล่าว ระยะเวลาฝึก 60 ชั่วโมง (10 วัน) ผู้ผ่านการฝึกอบรมแต่ละคน จะได้รับชุดเครื่องมือประกอบอาชีพ มูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท เพื่อนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ และลดค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส ยังได้ต่อยอดโดยฝึกยกระดับฝีมือให้เพิ่มเติมในโครงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานสร้างอาชีพชุมชนเข้มแข็งวิถีใหม่ ภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งสถาบันฯ ได้รับอนุมัติจากงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อสร้างช่างที่มีทักษะฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งถือเป็น “แรงงานเศรษฐกิจคุณภาพ” รองรับทั้งการจ้างงานภายในจังหวัดชายแดนใต้ และการกลับไปทำงานในประเทศมาเลเซียในทันทีที่มีการเปิดประเทศในอนาคตอันใกล้ อันจะส่งผลดีในภาพรวมต่อการสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน