X
รุกที่อุทยาน

สำรวจพื้นที่ทับซ้อนที่โขงเจียม พิสูจน์ชาวบ้านรุกที่อุทยาน หรืออุทยานรุกที่ชาวบ้าน!?

สำรวจแนวเขตแก้ไขปัญหาพื้นที่ทำกินของชาวบ้ าน 3 หมู่บ้านทับซ้อนกับพื้นที่ที่ป่าอุทยานแห่ง ชาติผาแต้มสำรวจแนวเขตแก้ไขปัญหาพื้นที่ ทำกินของชาวบ้าน 3 หมู่บ้านทับซ้อนกับพื้นที่ที่ป่าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม

คณะทำงานสำรวจแนวเขตพื้นที่ป่าผาแต้ม กรณีที่ดินทับซ้อนกับเขตอุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม ได้ออกสำรวจพบหลักฐานเสาแบ่งเขตกันที่ดินเป็นเสาหลักอุทยาน รวม 19 หลัก ตามที่อุทยานฯ ได้ทำข้อตกลงกันไว้กับชาวบ้าน ก่อนการประกาศตั้งอุทยาน เมื่อปี 2534

ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านกุ่ม บ้านตามุ่ยและบ้านท่าล้ง ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อำเภอโขงเจียม อบต.ห้วยไผ่

ตัวแทนเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร ชุดรักษาความสงบเรียบร้อย 3หมู่บ้าน ได้ร่วมกันเดินตรวจสอบแนวเขตที่ ดินที่มีปัญหาการปักปัน แนวเขตการทำกินของชาวบ้าน 3 หมู่บ้านกับพื้นที่เขตอุทยานแห่ งชาติผาแต้ม ที่มีประกาศภายหลัง เมื่อปี พ.ศ. 2534

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านจากทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้เข้าร้องขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 กรณีที่นายนครอินทร์ สุทัดโต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ไปแจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้าน รวม 6 ราย

โดยแจ้งว่าชาวบ้านทั้ง 6 ราย บุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นพื้นที่ 6 ไร่ ขณะที่ชาวบ้านอ้างว่าได้ทำกินมาก่อน ที่อุทยานประกาศเขต ในปี พ.ศ.2534 ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี จึงได้มีคำสั่งแต่งตั่งคณะกรรมการเพื่อสำรวจเส้นแนวเขตระหว่างพื้นที่ทำกินของสามหมู่บ้าน กับเส้นแนวเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้มและเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

โดยก่อนที่จะเดินสำรวจ นายนครินทร์ฯ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ได้ให้ชาวบ้านดื่มน้ำสาบานตนก่อนเดินสำรวจ ส่วนการเดินสำรวจแนวเขตในพื้นที่ หมู่ 3 หมู่บ้าน มีระยะทางเดินสำรวจกว่า 8 กิโลเมตร พบเสาปูนหลักเขตอุทยานฯ ที่ตั้งอยู่ในดินและบางแห่งที่ เป็นแผ่นหินจะเห็นเสาหลักเขตนอนอยู่กับพื้น จำนวนที่พบเสาปูนหลักเขตอุทยานฯ 19 ต้น นอกจากนี้ยังมีป้ายสังกะสีที่เขียนเขตอุทยานแห่งชาติ ติดตามต้นไม้ใหญ่และบริเวณลานหินจะมีสีทาเอาเป็นระยะ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อุ ทยานฯและทางชาวบ้าน ได้ทำการทาสีบริเวณก้อนหินที่สีซีดและจางเพื่อให้เห็นเส้นเขตชัดเจนขึ้นและยังมีการทาสีบนเสาปูนของอุทยานเพื่อให้เป็นที่สังเกตและมองเห็นชัดขึ้น

ทั้งนี้ ผู้นำชาวบ้านได้กล่าวว่า ทั้ง 3 หมู่บ้านจัดตั้งมาก่อนกว่า 100 ปี ส่วนอุทยานแห่งชาติ เพิ่งประกาศจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2534 /ก่อนการประกาศฯ ได้มีการปักหลักเขตสำหรับเป็นแนวเขตทำกินของชาวบ้าน  ห้ามรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่ กำหนด โดยหัวหน้าอุทยานฯขณะนั้นคือ นายวีรพลฯ ได้ยอมรับและจัดแบ่งพื้นที่ออกอย่างชัดเจน    แต่ทางอุทยานฯไม่ยอมมี การประกาศกันเขตพื้นที่ทำกินของชาวบ้านดังกล่าว และกลายเป็นปัญหาพื้นที่ทับซ้อน กับอุทยานฯในสมัยที่นายนครินทร์ ฯ เข้ามาเป็นหัวหน้าอุทยานฯและได้ มีการแจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้ าน 3 หมู่บ้านดังกล่าว

ด้าน นายบรรหาร จันลา อดีตลูกจ้างอุทยานแห่งชาติผาแต้ ม เป็นผู้ที่นำเสาหลักเขตอุทยานมาปักเป็นแนวเขตบอกว่า เสาปูนหลักเขตอุทยานที่พบทั้งหมดนี้เป็นการแบ่งเขตระหว่างอุทยานกับพื้นที่ทำกินของชาวบ้านตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งช่วงนั้น ได้มีข้อตกลงกับชาวบ้าน ให้ชาวบ้านทำกินตั้งแต่ตีนเขาลงไปหาแม่น้ำโขง ส่วนตีนภูเขาขึ้นไปจะเป็นพื้นที่ของอุทยาน

นายภานุพงษ์  พันธ์จันทร์ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านกุ่ม กล่าวว่า เสาปูนหลักเขตอุทยานฯ เป็นเส้นเขตอุทยานและที่ทำกินของชาวบ้าน ทั้งนี้เสาที่นำไปฝั่งดินไว้เป็นเสาของอุทยานฯ ชาวบ้านไม่กล้ามายุ่งในเขตอุทยานอยู่แล้ว

ด้านนายอำนวย   หาญปราบ   ประธานคณะกรรมการสำรวจแนวเขตพื้นที่ กล่าวว่า การออกตรวจสอบ ในครั้งนี้ ได้เดินสำรวจหลักเขตเดิม ว่ามีจริงตามที่ชาวบ้านได้แจ้งเอาไว้หรือไม่   ทั้งนี้จากการเดินสำรวจ ได้พบเสาหลักของอุทยานฯ ปักอยู่ตามตีนเขาตามที่ทางชาวบ้านแจ้ง และคณะทำงานได้ทำการบันทึกข้อมูลและทำการจับ พิกัดจีพีเอส  ต้นเสาที่ปักหลักไว้ทั้งหมด เมื่อสำรวจแล้วเสร็จครบทั้ง 3 หมู่บ้านแล้ว จะทำรายงานสรุป เพื่อเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนนี้ต่อไป

ข่าวโดย : เกียรติรัตน์ ชัยสกุลวงศ์

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS