window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'UA-109320629-1');
X
ฝายมีชีวิต

ธกส.อุบลฯส่งมอบฝายมีชีวิตให้ชุมชนบ้านน้อย

อุบลราชธานี – (9 ม.ค.62) นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายสุทัย ฉกะนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ร่วมกันเปิดฝ่ายมีชีวิต บ้านน้อย หมู่ที่ 8 ตำบลโคกจาน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีชาวบ้านและผู้นำชุมชนเข้ามาร่วมงานอย่างอบอุ่น

นายสุทัย เปิดเผยว่าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับกองกำลังสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา มณฑลทหารบกที่ 22 จังหวัดอุบลราชธานี อบต.โคกจาน ตลอดจนพระภิกษุสงฆ์ นักเรียน และประชาชนในเขตตำบลโคกจาน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ก่อสร้างฝายมีชีวิต (ฝายชะลอน้ำขนาดกลาง) เพื่อกั้นห้วยไผ่และห้วยลิง

เนื่องจากในห้วงฤดูแล้งพื้นที่จะขาดแคลนแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค ส่วนในช่วงฤดูฝนจะประสบปัญหาน้ำหลากท่วมพื้นที่การเกษตร รวมถึงไม่สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้ ชุมชนจึงมีมติร่วมกันในการก่อสร้างฝายมีชีวิต โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาสู่การปฏิบัติเพื่อช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลมากับน้ำ สร้างความอุดมสมบูรณ์ ความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่สองฝั่งลำห้วยบนพื้นที่ต้นน้ำ ส่งเสริมการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศน์ กักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในด้านอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และปศุสัตว์ ตลอดจนเป็นพื้นที่แหล่งอาหาร และเสริมสร้างรายได้ ให้กับคนในชุมชน

ฝายมีชีวิต คือ ฝายรูปแบบใหม่เพื่อใช้แก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย เป็นการสร้างฝายที่มีโครงสร้างของฝายมาจากธรรมชาติ ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่นำไปปักลงในลำน้ำ เหมือนเสาเข็มเรียงกัน ผูกด้วยเชือก เพื่อยึดโยงเข้าด้วยกัน สำหรับตัวฝายกั้นน้ำจะใช้ทรายบรรจุใส่กระสอบวางเรียงซ้อนกัน การสร้างฝาย มีชีวิตเป็นการยกระดับน้ำขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำ และเป็นฝายน้ำล้นที่จะไหลผ่านฝายตลอดเวลา

โดยในปีบัญชี 2561 ธนาคารได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 155,000 บาท ให้กับชุมชน เพื่อก่อสร้างฝายมีชีวิต ณ บ้านน้อย หมู่ที่ 8 ตำบลโคกจาน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ฝ่ายมีชีวิตบ้านน้อยได้มีการสำรวจพื้นที่และทำเวทีประชาเข้าใจเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2561 ลงมือก่อสร้างวันที่ 9 ธันวาคม 2561 แล้วเสร็จวันที่ 25 ธันวาคม 2561 มีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 13 เมตรสูง 1.5 เมตร สามารถจุน้ำ 16,900 ลูกบาศก์เมตร มีประชาชนที่อาศัยอยู่ในบ้านน้อย หมู่ที่ 8, บ้านโคกจาน หมู่ที่ 3,บ้านโคกน้อย หมู่ที่ 7 และบ้านโนนยาง หมู่ที่ 11 ได้รับประโยชน์จากการเก็บกักน้ำ จำนวน 228 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรที่จะมี แหล่งน้ำในการใช้เพาะปลูกกว่า 540 ไร่

ข่าวโดย : เกียรติรัตน์ ชัยสกุลวงศ์

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS