X

คนอุบลราชธานีสนใจถกประเด็น มหาวิทยาลัยจะล่มสลาย?!

อุบลราชธานี – เฟสบุ้คส์ของนายสุชัย เจริญมุขยนันท ได้เปิดประเด็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจะก่อให้เกิดความปั่นป่วนในแวดวงการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยได้หยิบยกบทความของนายสุทธิชัย หยุ่น เขียนถึง อุดมศึกษายุคดิจิทัลไม่ต้องมีมหาวิทยาลัย     มีใจความดังนี้

“คุณยังไปมหาวิทยาลัยอยู่อีกหรือ?!”
ประมาณต้นปี เคยคุยเรื่องมหาวิทยาลัยจะล่มสลาย กับอาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง ท่านหัวเราะแล้วบอกว่ามันไม่หายไปหรอกเพียงแต่จะเปลี่ยนรูปแบบไปเท่านั้นเองวันนี้… ใคร ๆ ก็สามารถลงเรียนกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทางออนไลน์ CHULA MOOC ถ้าอาจารย์มหาวิทยาลัยยังไม่ปรับตัว ผมว่ามีโอกาสตกงานได้ เริ่มจากตอนนี้ก็หานักศึกษายากขึ้นแล้ว

หลายคนที่ขึ้นเวทีสนทนากับผมในช่วงปีที่ผ่านมา เป็นระดับเซียน ระดับเทพในด้านต่าง ๆ ถามเรียนรู้จากที่ไหน ออนไลน์ !ยูทูป !!! ไม่ได้จบจากสถาบันการศึกษาไหนเลย สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้จากการศึกษาออนไลน์
เสียงหัวเราะของอาจารย์ท่านนั้นยังก้องในหูผม เริ่มไม่แน่ใจว่าผมล้ำยุคเกินไป หรือท่านตกยุคกันแน่!!??เสียงหัวเราะของผมดังขึ้น เมื่ออ่านบทความของคุณสุทธิชัย หยุ่น จบตอนท้ายว่า ยุคต่อไปคำถาม “คุณเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยไหน” อาจเป็นคำถามที่เชยสิ้นดี เพราะคนจะย้อนถามว่า “คุณยังไปมหาวิทยาลัยอยู่อีกหรือ?!”และ อีกโพสต์ได้อ้างอิงถึงข่าว นักวิชาการเผยมหา’ลัยทยอยปิดตัว ปี’63 เหลือไม่เกิน 120 แห่ง โดย นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มสด.) เปิดเผยว่าปัจจุบันเหลือมหาวิทยาลัยอยู่ประมาณ 150 แห่ง ซึ่งเคยมีการทำนายว่า ปี 2563 มหาวิทยาลัยจะปิดตัวลงอีก และจะเหลือมหาวิทยาลัยทั้งระบบอยู่ไม่เกิน 120 แห่ง ในจำนวนที่เหลือแต่ละแห่งจะทยอยปิดคณะ/สาขาลงอีกจำนวนมาก มหาวิทยาลัยเองต้องปรับตัว โดยเฉพาะเรื่องหลักสูตรที่จะต้องมีความทันสมัย ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

มีผู้สนใจมาคอมเม้นต์ต่อ 2 บทความนี้จำนวนมาก เช่น

อธิชัย บุญประสิทธิ์ ต่อไปคนจะเรียนเฉพาะความรู้ที่จะนำมาประกอบอาชีพเท่านั้น ที่ยังเรียนอยู่ในระบบก็เพื่อป้อนระบบราชการ ค่านิยมเรียนเพื่อเอาปริญญาจะหมดไปครับ

ออโต้เทค คาร์ออดิโอ ผมคิดว่าถ้าเด็กหรือคนใดมีความสนใจอย่างใดอย่างหนึ่งเฉพาะด้านแล้วสืบค้นหาข้อมูลเรียนรู้จาก YouTube และอินเตอร์เน็ต บางทีอาจจะรู้มากกว่าครูบาอาจารย์ที่สอนในระบบเดิมๆนะครับ
Songpon Intasian อาจารย์ต้องปรับบทบาทตัวเองจากผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวกและชี้ทางให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพครับ ข้อมูลมีอยู่มากมายมหาศาล ถ้าไม่รู้เท่าทันข้อมูล ก็อาจ “หลง” ได้ครับ
Chanchira Wang ตอนไปยุโรปได้ถามฝรั่งเรื่องอาชีพ คนบ้านเค้านิยมเรียนวิชาชีพเช่นพวกช่างต่างๆ รายได้สูง ทำงานได้จริง แล้วพวกนี้นะ เขาทำได้เองเช่นต่อเติมห้องน้ำที่บ้านเขาก็ทำเอง เพราะค่าจ้างแพง เลยเข้าใจว่า d.i.y ทำไมถึงเฟื่องฟู คุณภาพสำคัญจริงๆ เราอยากเห็นรัฐบาลสนับสนุนให้คนไทยรุ่นใหม่ใส่ใจด้านวิชาชีพมากกว่าใบปริญญา ปริญญาเหมาะกับพวกเฉพาะทางเช่นครู หมอ พยาบาล
ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ จริงมากครับคลื่นกระแทกจากเทคโนโลยี มันจะกวาดทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่การเข้าวัด สวดมนต์ ทำบุญ
Tdin Vi ตอนนี้กำลังเรียนออนไลน์เรื่อง Big data กับ Havard และสแตนฟอร์ด ควบ ครับ
Jib Marn Pin ความรู้มันเปลี่ยนไปเร็วจน ความเป็นสาขาวิชา ไม่สามารถผลิตหลักสูตรและบัณฑิต ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงได้ ปริญญาโทจะตายไปก่อน เพราะเรียนไปไม่มีประโยชน์ยกเว้นสาขาที่เป็น วิชาชีพและเฉพาะทางจริง ๆ

Atagon Limparungpattanakit ผมว่าดีนะครับ ความรู้ไม่ควรกระจุกอยู่แต่ในมหาลัย ที่จริงควรออนไลน์เปิดเผยให้คนศึกษาหรือสอนเองเลย เหมือนวิกิพีเดีย คนที่ทำตามได้ เรียนรู้ได้ก็ปฏิบัติได้เลย โลกยุคอนาคตผมว่าควรจะเป็นแบบนี้นะ การสอนจริงจังลึกๆ เท่านั้นที่ยังต้องมีแบบนี้

Chompunoot Morachat เอกชน? ของรัฐบาลยังอีกนานค่ะ ถึงยังไงก็ต้องลากลู่ถูกังต่อไปนับเป็นสองสามทศวรรษนั่นแหล่ะ

ข่าวโดย : สุชัย เจริญมุขยนันท

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS