X

อุบลฯดันเต็มสูบ เข็นเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการอินทรีย์ สามพรานโมเดลแนะรวมกลุ่ม ช่วยกันออกแบบตลาด ยกระดับมาตรฐาน

อุบลราชธานี-อบรมเกษตรกร พัฒนาศักยภาพ ขับเคลื่อนสู่ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมศูนย์เรียนรู้ ชั้น 4 ห้างสรรพสินค้าสุนีย์ จังหวัดอุบลราชธานี โครงการกินสบายใจ ร่วมกับ เกษตรกรในเครือข่าย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์  โดยภายในการจัดอบรมมีการตั้งวงเสวนา “บทเรียนและเส้นทางสู่ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์” เพื่อสร้างองค์ความรู้และแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในอนาคต

ซึ่งได้รับเกียรติจาก ชฤทธิพร เม้งเกร็ด ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิสังคมสุขใจ มาบอกเล่าแนวความคิดและเส้นทางความสำเร็จของสามพรานโมเดลว่า เมื่อย้อนไปในอดีตเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา สวนสามพราน ซึ่งตั้งอยู่จังหวัดนครปฐม มีธุรกิจหลักคือการท่องเที่ยวการโรงแรม และต่อมาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารใหม่ ซึ่งทางผู้บริหารท่านใหม่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคำว่า “อาหารปลอดภัย” จึงได้ร่วมมือขับเคลื่อนกับเกษตรกรในพื้นที่ กำเนิดเป็น “สามพรานโมเดล” ยึดหลักเกษตรอินทรีย์เป็นต้นแบบ

ซึ่ง “สามพรานโมเดล” จะทำหน้าที่ประสานงานและส่งเสริมเกษตรกร ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะผลักดันให้เกษตรกรเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งจะใช้วิธีการเชื่อมการตลาดเข้ากับช่องทางต่างๆของผู้บริโภค เช่น โครงการตลาดสุขใจ โดยตลาดสุขใจจะเป็นพื้นที่ให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้ประกอบการช่วยบริหารตลาด ใช้ระบบรับรองการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มกระบวนการสร้างมาตรฐานสินค้า จนถึงการขับเคลื่อนกลุ่ม

ทั้งนี้ ปัจจุบันเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต ซึ่งการขับเคลื่อนเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการอินทรีย์นั้น ต้องอาศัยเกษตรกรโดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด รู้จักการประเมินปริมาณผลผลิตควบคู่ไปกับการเก็บข้อมูลเชิงเดี่ยวและเชิงกลุ่ม พร้อมวางแผนการผลิตธุรกิจ โดยอาศัยการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่ช่วยกันออกแบบการตลาด ยกระดับผลผลิตให้ได้มาตรฐาน

ตัวแทนจากกินสบายใจช็อป ธวัชชัย นนทะสิงห์ เล่าถึงความเป็นมาของกินสบายใจช็อปว่า กินสบายใจช็อป เป็นพื้นที่ใหม่ที่ต้องทำงานร่วมกับเกษตรกร โดยกินสบายใจช็อปจะทำหน้าที่ประสานงานระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภคเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีจุดประสงค์หลักที่ต้องการจะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอินทรีย์ให้มีรายได้สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังมีอุปสรรคด้านผลผลิตที่ยังไม่เพียงพอความต้องการ

ส่วน จินตรา มีศรี ตัวแทนเกษตรกร จากสวนกินเป็นยา เปิดเผยถึงอุปสรรคของเกษตรกรว่า ปัญหาสำคัญที่เกษตรกรส่วนใหญ่กำลังประสบคือระยะทางการขนส่ง ซึ่งเมื่อยอดสั่งซื้อสินค้าไม่สูงเท่าที่ควร อาจให้เกษตรกรรู้ไม่คุ้มต้นทุนค่าส่งขน และนอกจากนี้ยังมีอุปสรรคเรื่องของผลผลิตที่คุณภาพยังไม่ได้ถึงมาตรฐานที่ตั้งไว้มาเกี่ยวข้องทำให้ผลผลิตขาดตลาด

อย่างไรก็ตาม ชฤทธิพร เม้งเกร็ด ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิสังคมสุขใจ ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ปัจจุบันอาหารและสินค้าเกษตรอินทรีย์มีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง โดยคนเมืองหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัย ซึ่งหากเกษตรกรสามารถตอบสนองความต้องการในจุดนี้ได้ จะเป็นการสร้างรายได้และขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานีไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS