X

เปิดกลล้วงข้อมูล เผยวิธีปกป้องและรับมือการป่วนของ แฮกเกอร์

เป็นที่ฮือฮาอย่างมากจากกรณีโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรีถูกนักแฮกเกอร์ต่างชาติป่วนระบบคอมพิวเตอร์โจมตีด้วยไวรัสเจาะฐานข้อมูลโรงพยาบาลหวังเรียกค่าไถ่มูลค่าหมื่นล้าน ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นว่าปัจจุบันการแฮกเข้าระบบข้อมูลเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อและหากเราไม่มีการป้องกันหรือสำรองข้อมูลไว้อาจจะส่งผลกระทบสร้างความเสียหายได้ไม่มากก็น้อย

อาจารย์อ๊อด เกรียงไกร รัชตามุขยนันต์ เจ้าของ ไทยโหลดดอตคอม,วิทยากรคลื่นความคิด เปิดเผยว่า การแฮกข้อมูลและนักแฮกเกอร์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานแล้วจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยเหล่านักแฮกเกอร์ทั่วโลกมีจุดประสงค์ที่จะเจาะระบบข้อมูลเข้าไปเพื่อประกาศศักดาและความสามารถให้คนในวงการระบบเน็ตเวิร์คยอมรับ ต่อมาเมื่อความสามารถเป็นที่ถูกยอมรับเหล่าบรรดานักแฮกเกอร์ก็จะมีโอกาสได้รับความไว้วางใจจากผู้ว่าจ้างมอบหมายงานที่สำคัญในการแฮกข้อมูลต่อไปในอนาคต

โดยกลวิธีการทำงานของเหล่านักแฮกเกอร์ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลากหลายวิธียกตัวอย่าง 1) การส่งลิงค์ไวรัสผ่าน E-mail ไปฝังบนคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับการทำงานของเหยื่อ 2) การเข้าเว็บไซต์อโคจร ยินยอมให้คอมพิวเตอร์เข้าสู่เว็บไซต์ที่มีไวรัส ซึ่งความสามารถของตัวไวรัสมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไปอาทิ เฝ้าดูการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือใช้ข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางไปแสวงหาผลประโยชน์กับผู้ใช้อื่น

ซึ่งการปกป้องเพื่อไม่ให้นักแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนนั้นมีมากมาย

1) อย่าเชื่อมต่อ Wifi ที่ไม่คุ้นเคยและไม่ควรทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน Wifi เพื่อปกป้องกันไม่ให้นักแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว

2)ไม่เปิดอ่าน E-mail โฆษณาหรืออีเมล์แปลกปลอม ซึ่งปัจจุบันผู้ใช้งานต้องใช้การสังเกตมากพอสมควร

3)ไม่ควรกดลิงค์ที่มีการส่งต่อจากบน Facebook,Line หรือ Whatsapp

4) ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนควร back up หรือสำรองข้อมูลอย่างมีวินัยป็นระยะ โดยข้อมูลที่มีความสำคัญมากควรสำรองไว้บน เอ็กซ์เทอนัลฮาร์ดดิสก์  cloud,google drive หรือ one drive แบ่งกระจายข้อมูลไว้ที่หลายแหล่งเพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้การตั้งชื่อ Username และ Password ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดยการตั้งชื่อไม่แนะนำให้ตั้ง Username และ Password เป็นชื่อเดียวกันกับ E-mail เพราะการแฮกนักแฮกเกอร์จะทำการแฮกเข้า E-mail เป็นที่แรกและเมื่อนักแฮกเกอร์เข้าไปยังในพื้นที่ E-mailได้ ในส่วนบัญชีอื่นก็จะตกเป็นอันตรายเช่นกันหาก Username และ Password ซ้ำกับ E-mali

และข้อแนะนำข้อสุดท้ายสำหรับผู้ใช้งานเว็บเบราว์เซอร์คือผู้ใช้งานไม่ควรกดบันทึก Username และ Password ลงบนเว็บเบราว์เซอร์ เพราะปัจจุบันนักแฮกเกอร์ได้ทำการพัฒนาตัวไวรัสเข้าเจาะระบบเว็บเบราว์เซอร์สามารถดูประวัติการใช้งานต่างๆและ Username,Password ที่ผู้ใช้งานเคยบันทึกลงไว้บนเว็บ ซึ่งทางออกที่ดีควรตั้งค่า Username และ Password ให้มีความซับซ้อนและหมั่นเปลี่ยน Username,Password เป็นประจำอยู่เสมอเพื่อปกป้องการเข้าถึงของนักแฮกเกอร์

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS