X
น้ำท่วมอุบล

หมดห่วงน้ำท่วม! Gistda คาด 1-2 อาทิตย์นี้ จ.อุบลฯ ยังปลอดภัยแต่ไม่ฟันธงอนาคต ต้องติดตามต่อไป

หมดห่วง! Gistda คาดการณ์ระยะ 1-2 อาทิตย์ ระดับน้ำของจังวัดอุบลราชธานี ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย แต่ไม่ฟันธงอนาคต หากเกิดพายุฝน ประชาชนต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

นายธัชชัย แสนเสนา หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ Gistda (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า น้ำท่วมเมื่อปี 2562 มีสาเหตุมาจาก 3 สาเหตุ 1) ปริมาณฝนมากกว่าปกติ 2) ปริมาณน้ำท่ามาก/เกิดขึ้นเร็ว 3) การพัฒนาเมือง ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัย เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานี

ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปดูปริมาณน้ำฝนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใน จ.อุบลฯ ช่วงเวลา 29 ส.ค.- 4 ก.ย. 62 ภาคอีสานเกิดพายุสถานการณ์ฝนตกหนักและฝนเหล่านี้ตกบริเวณท้ายเขื่อนทำให้มวลน้ำจำนวนมหาศาลไหลลงสู่ลุ่มน้ำชีและลำน้ำสาขาก่อนที่ทั้งหมดจะไหลมารวมกันที่ จ.อุบลฯ เพื่อเตรียมไหลออกสู่แม่น้ำโขง และถัดมาสภาพภูมิศาสตร์ของ จ.อุบลฯ เปลี่ยนแปลงไปโดยในปัจจุบันมีการขยายตัวเมืองก่อสร้างคันกั้นน้ำตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งคันกั้นนี้ส่งผลให้เมื่อน้ำไหลมาไม่สามารถไหลสู่ที่ราบลุ่มได้จึงเป็นการบังคับให้มวลน้ำอยู่กรอบ และเมื่อน้ำมาประมาณมากล้นคันกั้นจึงทำให้ทั้งหมดน้ำไหลล้นตลิ่งเข้าสู่พื้นบ้านเรือนอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้เห็นภาพรวมแนวทางการป้องกันน้ำท่วมได้ว่าข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งสำคัญต้องนำเสนอให้รวดเร็วและแม่นยำ โดยทุกภาคส่วน เช่น ชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยาหรือหน่วยงานต่างๆ ต้องศึกษาข้อมูลจากสาเหตุพร้อมเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารต้องรีบประเมินสถานการณ์และประกาศแจ้งเตือนประชาชนให้ได้เตรียมตัวเฝ้าระวังได้อย่างทันท่วงที

ซึ่งจากการคาดการณ์สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.อุบลฯ ปี 2563 นายธัชชัย แสนเสนา หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ Gistda กล่าวต่อว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ จ.อุบลฯ ไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดเหตุการณ์การน้ำท่วม แต่ทั้งนี้ยังไม่ฟันธงทั้งหมดว่าเหตุการณน้ำท่วมอย่างปีที่ผ่านมาจะเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะหากอนาคตเกิดพายุฝนตกบริเวณอีสานตอนกลาง อาจเกิดผลกระทบหรือสัญญาณให้เฝ้าระวังต่อไป

อย่างไรก็ตามเหตุที่ไม่ฟันธงสถานการณ์น้ำท่วมให้ชัดเจนนั้น มาจากการพยากรณ์อากาศแบบระยะยาวยังมีโอกาสและความแปรปรวนหลายปัจจัยที่จะทำให้การคาดการณ์ระยะยาวอาจคาดเคลื่อน โดยระยะเวลาที่เหมาะสมและแม่นยำที่สุดอยู่ในช่วง1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ประชาชนต้องติดตามข่าวการพยากรณ์อากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งของทางกรมอุตุนิยมวิทยาจะมีการรายงานสถานการณ์แนวโน้มการเกิดพายุเป็นระยะหรือจะสามารถติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศ รายวัน รายสัปดาห์ ผ่าน www.gistda.or.th  เพื่อเป็นข้อมูลประเมินประกอบการคาดการณ์ต่างๆ

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS