X
นักวิจัย

งานวิจัยหยุดชะงักเพราะโควิด นักวิชาการเร่งปรับตัว หวังใช้ทางออนไลน์สื่อสารกับคนในชุมชน

อุบลราชธานี – นักวิจัยชุมชนกระทบหนัก ลงพื้นที่ทำกิจกรรมไม่ได้ ทางออกลงออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้ผลดีเท่าเจอตัว

ผศ.(พิเศษ)กาญจนา ทองทั่ว ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดนักวิชาการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวถึงผลกระทบที่ได้รับว่า ตนเองและทีมงานสังเกตสถานการณ์ตั้งแต่ตนปีแล้ว โดยเริ่มมีสัญญาณเตือนตั้งแต่เดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์แต่เมื่อถึงเดือนมีนาคมการทำงานวิจัยมีการเซ็นสัญญาและระยะเวลาเป็นตัวกำหนด ซึ่งเป็นช่วงแกนทุนสนับสนุนลงดำเนินงานกับต้องประสบปัญหาใหญ่โรคระบาดโควิดทำให้ทุกกิจกรรมถูกสั่งปิดเวทีต่างๆต้องงดส่งผลให้โครงการที่วางแผนไว้ต้องชะลอตัวและถูกงับ

ในเมื่อกระบวนต่างๆไม่สามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ทีมวิจัยต้องมีการประชุมวางแผนเป็นกลุ่มย่อย เพื่อหลีกเลี่ยงการพบประเสี่ยงการแพร่เชื้อโรค โดยใช้เป็นการประชุมผ่านออนไลน์กับส่วนกลางแจกจ่ายงานเพื่อเตรียมตัวลงพื้นที่ซึ่งการประชุมเป็นเรื่องใหม่สำหรับนักวิจัยต้องปรับตัวและมีการเรียนรู้เพิ่มเติม แต่เหนือสิ่งอื่นใดหากอนาคตสถานการณ์โควิด19 ยังไม่ดีขึ้น สิ่งที่นักวิจัยต้องทำต่อนั้น 1) นักวิจัยต้องมีการคุยกับแหล่งทุนสร้างความเข้าใจร่วมกัน 2) จัดไทม์ไลน์การดำเนินงานใหม่ 3) รักษาระบบความสัมพันธ์นักวิจัยกับชุมชน

ด้าน ดร.คำล่า มุสิกา คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เล่าถึงผลกระทบที่กำลังประสบว่า งานวิจัยที่ทำอยู่นั้นเป็นงานที่ทำร่วมกับชุมชนเขมราฐ ซึ่งสถานการณ์โควิดทำให้นักวิจัยไม่สามารถลงพื้นที่ชุมชนได้ต้องอาศัยการสอบถามผ่านโทรศัพท์ โดยงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ต้องลงไปมีส่วนร่วมในชุมชน ทั้งนี้พอรัฐบาลมีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้งานต่างๆหยุดชะงัก จนทำให้แหล่งทุนเริ่มพิจารณาพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ครั้งนี้ เพราะกระบวนต่างๆอาจจะต้องยืดออกไปอย่างไม่มีกำหนด ทั้งนี้จึงทำให้มีการปรับแผนการดำเนินงานโดยต้องรีบประสานกับชุมชนและติดต่อกับทีมงานวิจัย

ส่วน อาจารย์พชร วารินสิทธิกุล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เปิดเผยว่า งานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ก็ได้รับผลกระทลเช่นกัน โดยพื้นที่ของงานวิจัยอยู่ที่บ้านหัวดอน อำเภอเขื่องใน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี 2562 ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมจนเปลี่ยนหัวข้อวิจัยใหม่และ ปี 2563 เจอสถานการณ์แพร่ระบาดโรคระบาดโควิด ส่งผลให้งานวิจัยชิ้นนี้ต้องถูกชะลอมาถึง 2 ครั้ง ซึ่งทางทีมวิจัยต้องปรับตัวอย่างมากกับสถานการณ์ปัจจุบันและทำให้นักวิจัยกลับมาคิดทบทวนคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงโรคระบาดซึ่งอนาคตนักวิจัยเองจะต้องคำนึงถึงเรื่องการจัดการความเสี่ยงโรคระบาดมากขึ้น

นอกจากนี้หากอนาคตสถานการณ์โรคระบาดโควิดยังไม่ดีขึ้น ประชาชนทุกคนต้องปรับตัวเพื่อไม่ให้สถานการณ์ยืดเยื้อ เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่คาดเดายากพร้อมเฝ้าระวังโรคและหาข้อมูลกันอย่างละเอียด อีกทั้งต้องปฏิบัติตามมาตรการ social distancing ของรัฐอย่างเคร่งครัด ทุกหน่วยงานทุกองค์กรต้องร่วมมือกัน ช่วยกันป้องกันอย่างเข้มแข็งหมั่นให้กำลังใจกันและกัน

ทั้งนี้ อาจารย์พชร วารินสิทธิกุล เล่าว่าเมื่อสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายลงนักวิจัยจะมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมากขึ้น อีกทั้งยังจะสรรหาเครื่องมือใหม่ๆและพัฒนานักวิจัยชุมชนให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีส่วนการทำแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องหาแนวทางป้องกันโรคระบาดหรือภัยพิบัติต่างๆ ส่วน ดร.คำล่า มุสิกา เสริมว่า งานวิจัยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเช่น การใช้เทคโนโลยีทั้งนักวิจัยและชุมชน หากชุมชนสามารถรู้จักการประชุมทางไกลออนไลน์จะเป็นการประหยัดทั้งเวลาและเงินในการทำวิจัยได้

ท้ายนี้  ผศ.(พิเศษ)กาญจนา ทองทั่ว  กล่าวเพิ่มเติมว่าหลังจากนี้นักวิจัยจะต้องมีการปรับตัวเพราะขณะนี้โลกกำลังเกิดนวัตกรรมและความรู้สิ่งใหม่ๆเช่น วิธีการดูแลตัวเอง สูตรยา สูตรอาหาร ซึ่งในช่วงวิกฤตถือเป็นโอกาสสำคัญของนักวิจัยที่จะใช้จังหวะนี้ศึกษาภูมิปัญญาและวิถีชีวิต พร้อมหาข้อมูลความรู้ใหม่เพิ่มเติมเพราะอนาคตนักวิชาอาจจะต้องได้เข้าไปจัดระบบระเบียบให้ชุมชน

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS