X
เก็บตัวอย่างเนื้อสุกร

ปศุสัตว์ เขต 2 ลงตรวจฟาร์มสุกรแปดริ้ว พบมีเหลือรอดปลอดภัยมากถึง 114 ราย

ฉะเชิงเทรา – ปศุสัตว์ เขต 2 ลงพื้นที่ตรวจดูฟาร์มสุกรที่แปดริ้ว อ้างมีเหลือรอดปลอดภัยมากถึง 114 รายล้วนเป็นฟาร์มระบบปิด ยันยังมีสุกรเลี้ยงอยู่ในระบบมากถึง 2.24 แสนตัว ก่อนเดินสายชื่นชมร้านค้าเนื้อสุกรหลายแห่งในพื้นที่ ยันไม่พบโรคอหิวาต์แอฟริกาหลงเหลืออยู่แล้ว ระบุเคยควักเงินกว่า 27 ล้านบาทจ่ายเป็นค่าชดเชยให้แก่เกษตรกรจำนวน 19 ราย ที่ให้ความร่วมมือแจ้งทำลายสุกรป่วยทิ้งเมื่อปีที่แล้ว

วันที่ 20 ม.ค.65 เวลา 19.00 น. ผู้สื่อข่าวได้รับการประสานส่งข้อมูลข่าวจากสำนักงานประชาสัมพันธ์ จ.ฉะเชิงเทรา เกี่ยวกับการลงพื้นที่เข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มสุกร ของคณะศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) จ.ฉะเชิงเทรา ตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ตามคำสั่งจากปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้บูรณาการเจ้าหน้าที่จากหลายฝ่ายเข้าร่วมกันในการปฏิบัติ

ตรวจร้านจำหน่าย

ประกอบด้วย นายวรวิชญ์ วราอัศวปติ ปศุสัตว์เขต 2 พ.ต.อ.ธราเทพ ตูพานิช รอง ผบก. ภ.จว.ฉะเชิงเทรา ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ และฝ่ายปกครอง อ.เมืองฉะเชิงเทรา โดยได้มีการประชุมร่วมกัน ก่อนออกไปตรวจเยี่ยม ห้องเย็นแช่แข็งเนื้อสุกร และฟาร์มของผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ยังที่ห้องเย็นของ บริษัทหมูกระปุกอินเตอร์ ฟู้ด จำกัด ตั้งอยู่ใน ต.คลองหลวงแพ่ง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

คณะตรวจตามคำสั่ง มท.

โดยทางบริษัทฯ ได้นำเอกสารในการประกอบกิจการ ออกมาแสดงให้ทางสำนักงานปศุสัตว์ อ.เมืองฉะเชิงเทราตรวจสอบ พร้อมทั้งยังได้ให้เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อสุกรเพื่อส่งไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในการหาเชื้อโรค ASF ด้วย จากนั้นจึงได้เดินทางไปตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสุกรระบบปิดขนาดใหญ่ มีการแยกเลี้ยงตามโรงเรือนมาตรฐานขนาด 600 ตัวต่อโรงเรือน ในพื้นที่ ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งพบว่ายังคงมีสุกรเลี้ยงอยู่ภายในฟาร์มจำนวน 12,000 ตัว

ลงตรวจฟาร์มเลี้ยง

หลังการลงพื้นที่ตรวจห้องเย็นและร้านจำหน่ายเนื้อสุกรรวมถึงฟาร์มเลี้ยงแล้ว นายวรวิชญ์ วราอัศวปติ ปศุสัตว์เขต 2 ซึ่งกำกับดูแลพื้นที่ 9 จังหวัดในเขตภาคตะวันออก กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจห้องเย็นและฟาร์มเลี้ยงสุกรของทางปศุสัตว์ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีสุกรป่วยเป็นโรค ASF สำหรับพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรานั้น ทางสำนักงานปศุสัตว์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้ประกาศให้เป็นเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 ม.ค.64 หรือกว่า 1 ปีที่ผ่านมาแล้ว

นายวรวิชญ์ วราอัศวปติ

โดยในปี 2564 ที่ผ่านมาในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา มีรายงานฟาร์มสุกรมีสุกรที่ป่วยตายอย่างผิดปกติและเข้าข่ายสงสัยว่าเป็นโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร จำนวน 19 ราย จึงได้มีการดำเนินการทำลายเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดในวงกว้างไปแล้ว ตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ซึ่งทางสำนักงานปศุสัตว์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้จ่ายเงินค่าชดเชยในการทำลายสัตว์ไปแล้วเป็นเงินจำนวน 27 ล้านบาท

สถานที่ชำแหละ

สำหรับพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ในปัจจุบันมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในระบบทั้งสิ้น จำนวน 114 ราย มีสุกรอยู่จำนวน 224,816 ตัว ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 27 ซึ่งทางสำนักงานปศุสัตว์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้มีแผนในการฟื้นฟูให้เกษตรกรผู้ที่เลิกเลี้ยงสุกรไปในขณะนี้ ซึ่งหากจะกลับมาเลี้ยงใหม่นั้น ทาง สนง.ปศุสัตว์จะเข้าไปสนับสนุนทางด้านวิชาการ หรืออาจเลือกเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นตามความต้องการของตลาด โดยจะมีการเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเต็มที่

ผู้จำหน่ายได้รับการรับรอง

ส่วนข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคนั้น ก่อนที่จะซื้อเนื้อสุกรไปบริโภค ให้ดูป้าย “ปศุสัตว์โอเค” ซึ่งออกโดยกรมปศุสัตว์ ใน จ.ฉะเชิงเทรา มีร้านค้าครอบคลุมในทุกอำเภอ หรือสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ทางเว็บไซด์ของสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ ซึ่งจะมีรายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการในทุกจังหวัด สำหรับการออกป้ายปศุสัตว์โอเคที่ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์นั้น

ใบรับรอง ปศุสัตว์โอเค

ร้านค้าต้องได้รับมาตรฐานดังนี้ คือ สถานที่จัดจำหน่ายถูกสุขลักษณะ มีการรับเนื้อสัตว์มาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกต้อง และสถานแปรรูปเนื้อสัตว์ต้องได้รับใบอนุญาต ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากทางเจ้าพนักงานตรวจโรคสัตว์มาแล้วอย่างถูกต้องครบถ้วน นายวรวิชญ์ กล่าว

ราคาเนื้อสุกรในพื้นที่

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สนทะนาพร อินจันทร์

สนทะนาพร อินจันทร์

ลุยงานช่วยเหลือคนเดือดร้อนมาทั้งชีวิต อย่างไม่คิดเรียกสิ่งตอบแทน