X
อบต.เกาะขนุน

เตือนสติคนการเมือง หลังได้รับเลือกตั้งไปนั่งบริหารแล้ว ต้องดูแลประชาชน

ฉะเชิงเทรา – เตือนสติคนการเมือง เมื่อได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปนั่งบริหารแล้วต้องดูแลประชาชน เสียงจาก “อดุลย์ แสงจันทร์” อดีตนายก อบต.เกาะขนุน คนเก่าก่อนที่ถูก กกต.แขวนสิทธิ์การเป็นผู้สมัครคาสนาม จนนำไปสู่ผลคะแนนโหวตโนเหนือผู้สมัครคู่แข่ง และกลายเป็นผลการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ทั้งในระดับพื้นที่ ไปจนถึงนักการเมืองทั่วประเทศที่ต้องจดจำไว้เป็นแบบอย่าง ให้ได้เห็นถึงพลังแห่งมวลประชานั้นมีอำนาจอยู่จริง ก่อนออกมาขอบคุณประชาชนอย่างซาบซึ้งใจ

วันที่ 3 ธ.ค.64 เวลา 11.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศทางการเมืองในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา หลังการเลือกตั้งท้องถิ่น (อปท.) ครั้งใหญ่เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ 28 พ.ย.64 ที่ผ่านมาว่า สำหรับผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายก อบต.หลายราย โดยไม่มีอุปสรรคปัญหาค้างคาใจเกี่ยวกับการร้องเรียนกันนั้น ได้ต่างพากันจัดเลี้ยงเพื่อขอบคุณประชาชนกันอย่างคึกคัก โดยบางรายได้มีการเปิดบ้านจัดเลี้ยงข้าวปลาอาหารเพื่อตอบแทนคะแนนเสียงที่ได้รับจากประชาชนมาต่อเนื่องกันถึง 3 วัน 3 คืน

ผลการเลือกตั้งเกาะขนุน

แต่ยังคงมีบาง อปท.ที่ยังคงมีความเคลือบแคลงสงสัยในส่วนของเรื่องที่เกี่ยวกับการขานคะแนนของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ที่มีบางแห่งผู้ขานอ่านคะแนนออกเสียงไปแล้ว แต่ผู้ที่ลงบันทึกขีดเส้นคะแนนลงบนกระดานนับคะแนนนั้น มีการขีดซ้ำหลายครั้งหรือบางแห่งมีการวงเป็นคะแนนนับ 5 ขีดจากคะแนนจริงที่เพิ่งขานได้เพียง 4 ขีด จึงทำให้คะแนนรวมเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังมีความข้องใจสงสัยเกี่ยวกับในเรื่องของการวินิจฉัยบัตรดีบัตรเสียของคณะกรรมการประจำหน่วยอีกหลายแห่งว่า อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น

แพ้โหวตโน

ส่วนผู้ที่ถูกทาง กกต.มีคำวินิจฉัยให้ขาดคุณสมบัติ ในการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายก อบต. อย่างเช่น นายอดุลย์ แสงจันทร์ อดีตนายก อบต. 2 สมัยเมื่อกว่า 10 ปีก่อนนั้น ได้มีการเคลื่อนไหวออกมาขอบคุณประชาชนและมีการนำภาพ และข้อความมาเผยแพร่ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) ที่ประชาชนในพื้นที่ ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ได้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันเป็นจำนวนมาก และได้ใช้พลังเสียงในการเทคะแนนไปในทิศทางที่จะไม่เอาอดีตนายกคนล่าสุด

ขอบคุณประชาชน

ด้วยการใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงในช่องโหวตโน จนทำให้ผลคะแนนรวมของการโหวตโนนั้น ชนะขาดจากคะแนนของผู้สมัคร ที่มีเหลืออยู่เพียงลำพังไปมากถึง 535 คะแนน จากคะแนนเสียงที่ผู้สมัครคู่แข่งได้รับจำนวน 3,271 คะแนน และคะแนนโหวตโนมีมากถึง 3,806 คะแนน และยังมีคะแนนบัตรเสียที่ประชาชนบางส่วนยังไม่ทราบว่าตนเองถูกตัดสิทธิ์ในการเป็นผู้สมัคร และยังลงคะแนนกาในช่องหมายเลขผู้สมัครให้อีกจำนวนกว่า 1,341 ใบ

คะแนนบัตรเสียและโหวตโนกว่า 5 พันใบ

นายอดุลย์ บอกว่า จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มองเห็นในภาพรวมได้ว่า ประชาชนยังคงต้องการให้ตนเองกลับเข้ามาบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกครั้ง หรือมีคะแนนเสียงทั้งโหวตโนและกาลงในบัตรช่องหมายเลขผู้สมัครของตนนั้นไม่ต่ำกว่า 5,147 คะแนน จึงอยากเตือนสติไปถึงยังนักการเมืองท้องถิ่นที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารงานแล้วว่า เมื่อได้มีโอกาสได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ขอให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างจริงจัง และต้องดูแลประชาชนในพื้นที่ให้ดีที่สุด สามารถเป็นที่พึ่งได้เข้าพบหาสะดวก

นายอดุลย์ แสงจันทร์

รวมไปถึงนักการเมืองในระดับอื่นๆ ด้วย เนื่องจากปรากฎการณ์ “โหวตโน” ที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ที่ อบต.เกาะขนุน นั้นได้สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งไปไม่สามารถดูแลเอาใจใส่ประชาชนได้อย่างดีพอ ประชาชนจึงต้องการตัวเลือกหรือทางเลือกใหม่ ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหรือไม่เอาคนเดิมให้ได้เข้ามาบริหารท้องถิ่นจากการเลือกตั้งในครั้งนี้อีก

ต้องดูแลประชาชน

สำหรับในเรื่องเกี่ยวกับกรณีที่ตนเองถูกทาง กกต.พิจารณา ให้เป็นผู้ขาดคุณสมบัติจากการเป็นผู้สมัครนั้น มีมูลเหตุมาจาก เดิมนั้นในสมัยที่ตนเองดำรงตำแหน่งเป็นนายก อบต. เมื่อกว่า 10 ปีก่อน ทางนายอำเภอพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ได้มีคำสั่งให้ทาง อบต.เกาะขนุน จัดทำโครงการอบรมอาสาสมัครปกป้องสถาบัน (อสป.) โดยทางอำเภอมีกำหนดการจัดฝึกอบรมเป็นเวลา 2 วัน แต่หลังจากทางคณะผู้บริหาร อบต.อนุมัติการเบิกจ่ายเงินงบประมาณออกมาเพื่อทำกิจกรรมแล้ว

ยังไม่มีใครผ่านเข้ามานั่งนายกได้

ทางอำเภอกลับมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงใหม่ ให้ทาง อบต.เกาะขนุน ทำการจัดการฝึกอบรมเพียง 1 วันเท่านั้น ซึ่งขณะนั้นตนเองไม่ได้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากได้ไปอบรมที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) แต่ได้มีรองนายก อบต.ปฏิบัติหน้าที่แทน จึงมีการพิจารณาดำเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามความเหมาะสม เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินที่เตรียมนำออกมาจัดทำโครงการเป็นช่วงของวันศุกร์ และจะมีการจัดการอบรมขึ้นในวันจันทร์ต่อเนื่องในทันที

ชนวนเหตุของการถูกแขวน

จึงไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการได้ทัน ทางทีมงานรองนายก อบต. จึงได้พิจารณาสั่งการให้นำเงินส่วนที่เหลือจากการจัดการฝึกอบรมอีก 1 วันจำนวน 19,800 บาท ไปหาร้านจำหน่ายเสื้อให้ช่วยเร่งจัดทำเสื้อจำนวน 100 ตัว เพื่อนำมาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนผู้มาเข้าร่วมฝึกอบรมได้สวมใส่ในวันมาเข้าฝึกอบรม เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม และสมพระเกียรติฯ

ผ่านมากว่า 10 ปียังมี ปชช. นำมาสวมใส่

โดยเสื้อที่จัดทำเป็นเสื้อที่มีการสกรีนตราสัญลักษณ์ อสป. ทั้งที่กระเป๋าหน้าอก และด้านหลังในราคาตัวละ 250 บาท แต่เงินส่วนที่เหลือจากการจัดฝึกอบรมมีไม่เพียงพอ ทางคณะผู้บริหารเองยังต้องช่วยกันเรี่ยไรจ่ายเพิ่มเติมเข้ามากันเองอีกจำนวน 5,200 บาท แต่ประเด็นดังกล่าวกลับถูกนำมาใช้เป็นช่องโหว่ทางการเมือง ในการนำมาร้องเรียนตนว่ากระทำการทุจริต ตามมาตรา 157 จนนำไปสู่กระบวนการตั้งกรรมการสอบสวน เพื่อหาข้อเท็จจริงจากทางอำเภอ

เกาะขนุนยังวุ่นไม่จบ

จากนั้นนายอำเภอ อ.พนมสารคาม ในขณะนั้น ได้มีคำสั่งให้ตนหยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งตนเองนั้นได้มีความพยายามที่จะพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ใจของตนเองและทีมงานในการปฏิบัติหน้าที่ ไปยังทางอำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจสอบต่างๆ แต่ความเห็นทางกฎหมายนั้นได้นำความเห็นจากคำสั่งของทางนายอำเภอครั้งแรกมาเป็นหลักการสำคัญในการนำมาวินิจฉัย ประกอบกับ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 59 ให้เป็นการอนุมัติเบิกจ่ายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

โพสต์ขอบคุณประชาชน

ทั้งที่การดำเนินการดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการแต่อย่างใด และยังก่อให้เกิดความพร้อมเพียงความสวยงามสมพระเกียรติ เป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นเจตนาบริสุทธิ์ที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ได้รับประโยชน์จากเงินจำนวนดังกล่าวเป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด ต่อมานายอำเภอรายเดิมจึงได้มีการยกเลิกคำสั่งที่ให้ตนกลับเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ต่อได้อีกเป็นเวลาหลายเดือน

ผ่านสื่อโซเชียล

แต่เมื่อมีการโยกย้ายปรับเปลี่ยนนายอำเภอใหม่ นายอำเภอที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ กลับนำคำสั่งเดิมของนายอำเภอคนเก่า มาสั่งให้ตนหยุดปฏิบัติหน้าที่อีกครั้ง และถูกนำมาใช้เป็นช่องทางในการร้องเรียนทางการเมืองและเป็นเงื่อนไขทางกฎหมาย และนำมาสู่การวินิจฉัยให้เป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายก อบต.เกาะขนุน ในครั้งนี้

ไม่มีเจตนากระทำผิด

อีกทั้งเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ได้ผ่านมานานกว่า 10 ปีแล้ว (28 มิ.ย.53) ซึ่งหากนักการเมืองถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง น่าจะเป็นเพียงระยะเวลา 5 ปีเท่านั้น แต่ขณะนี้เวลาผ่านมากว่า 10 ปีแล้ว เรื่องดังกล่าวยังคงถูกนำมาใช้เป็นข้อร้องเรียนทางด้านคุณสมบัติ และนำมาสู่การพิจารณาว่าตนเองนั้นขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้สมัครในครั้งนี้อีก โดยหลังจากนี้ตนจะยังคงต้องเดินหน้าไปตามกระบานการทางกฎหมายต่อไป เพื่อพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ของตนอีกครั้ง นายอดุลย์ กล่าว

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สนทะนาพร อินจันทร์

สนทะนาพร อินจันทร์

ลุยงานช่วยเหลือคนเดือดร้อนมาทั้งชีวิต อย่างไม่คิดเรียกสิ่งตอบแทน