X
ลงพื้นที่ อบจ.ฉะเชิงเทรา

คนแปดริ้วเมินอีอีซี มองปัญหาไกลตัว แต่รุมถล่มฟ้องปัญหาปากท้องในเวที สว.

ฉะเชิงเทรา – คนแปดริ้วเมินอีอีซี มองเป็นเรื่องปัญหาไกลตัว แต่พากันรุมถล่มฟ้องยับในเรื่องปัญหาปากท้องเวทีวุฒิสภาพบประชาชนอย่างเนืองแน่น จนเต็มล้นห้องประชุม ขณะปัญหาใหญ่ในหลายเวทีกลุ่มย่อย มองพุ่งเป้าไปในเรื่องแหล่งน้ำสำรอง หลังส่อปัญหาวิกฤตจนเกิดสงครามแย่งชิงน้ำในอนาคต

วันที่ 13 ธ.ค.62 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา คณะวุฒิสภาซึ่งนำโดย พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองประธานกรรมการวุฒิสภา คนที่ 1 ในฐานะหัวหน้าคณะ ได้นำสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 13 รายเดินทางมาร่วมในโครงการ “สมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก” ที่ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งถือเป็นการพบปะประชาชนเป็นจังหวัดสุดท้ายในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก

อบจ.ฉะเชิงเทรา

โดยมี นายประสงค์ คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และนายกิดติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายก อบจ.ฉะเชิงเทรา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมประชาชนจำนวนมาก ที่เดินทางมารอต้อนรับและเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ตลอดจนนำเสนอปัญหาในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ต่อ สมาชิกวุฒิสภา ที่เดินทางมารับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่ ก่อนที่จะมีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังปัญหาอย่างใกล้ชิด ออกเป็น 4 กลุ่ม

คณะ สว.

ประกอบด้วยห้องประชุมรับฟังปัญหา เกี่ยวกับผลกระทบจากโครงการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 3 จังหวัดภาคตะวันออก (อีอีซี) ห้องประชุมปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ในเขตพื้นที่ ต.สองคลอง อ.บางปะกง ห้องประชุมกลุ่มย่อยรับฟังปัญหาในภาคเกษตรจากเกษตรกรในพื้นที่ และห้องประชุมการแก้ไขปัญหาจากผู้ค้าขายในตลาดสดบ่อบัว ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาอย่างยาวนานหลายสิบปี บนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ห้องอีอีซีเหงา

แต่ปรากฏว่า ที่ห้องประชุมรับฟังปัญหา เรื่องผลกระทบจากโครงการพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก ไม่มีภาคประชาชนเดินทางเข้ามารับฟังและนำเสนอปัญหาต่อทางสมาชิกวุฒิสภา โดยมีนายเจน นำชัยศิริ ซึ่งเป็นตัวแทน สว. มารับฟังกลุ่มย่อยเลยแม้แต่คนเดียว แต่มีผู้มาเข้าร่วมประชุมแค่เพียง 2 ราย คือ หอการค้าฉะเชิงเทรา และตัวแทนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา เท่านั้น

ห้องอีอีซี มีแค่ 3 คน

โดยนายประโยชน์ โสรัจกิจ ประธานหอการค้า จ.ฉะเชิงเทรา ได้เข้ามาเสนอปัญหาในเรื่องของภาวะการณ์ขาดแคลนน้ำ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หลังจากโครงการอีอีซีเกิดขึ้น โดยที่จังหวัดฉะเชิงเทราได้ถูกวางแนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเมืองน่าอยู่ หรือสมาร์ทซิตี้ ซึ่งจะมีการเติบโตของชุมชนเมืองและการเพิ่มจำนวนของประชากรในพื้นที่ ตลอดจนการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม

พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร

จึงขอให้มีโครงการสูบน้ำจากแม่น้ำบางปะกงตอนบนในแม่น้ำปราจีนบุรี ที่ประตูระบายน้ำบางพลวง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี เพื่อส่งไปเก็บไว้ยังที่อ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ระยะทางประมาณ 50 กม. เพื่อเป็นแหล่งสำรองน้ำไว้ใช้ รองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันอ่างเก็บน้ำคลองสียัดมีปริมาณฝนตกเหนืออ่างน้อยกว่าพื้นที่ทางตอนล่าง จึงทำให้ในแต่ละปีนั้น มีน้ำไม่เต็มความจุที่ 420 ล้าน ลบม.

โดยอ่างเก็บน้ำคลองสียัดมีปริมาณน้ำเฉลี่ยในปัจจุบัน เพียงประมาณ 300 ล้าน ลบม. เท่านั้น ซึ่งยังคงเหลือพื้นที่ความจุของอ่างเก็บน้ำอีกประมาณ 100 ล้าน ลบม.

รับฟังปัญหา

ขณะที่นายกิติพงษ์ ชลิทธิกุล หัวหน้ากลุ่มโรงงาน สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ฉะเชิงเทรา ได้นำเสนอปัญหาเกี่ยวกับการลักลอบนำเข้าขยะอีเล็กทรอนิกส์ มารีไซเคิลในพื้นที่ และการลักลอบทิ้งสารเคมีจากกากอุตสาหกรรม โดยขอให้มีการสนับสนุนด้านงบประมาณในการบำบัด หรือให้แต่ละหน่วยงานเข้ามาร่วมกันรับผิดชอบในการหาทางบำบัดและฟื้นฟูพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ

อบจ.ยังขาดงบประมาณ

ส่วนในห้องรับฟังปัญหาจากเกษตรกร มีผู้เข้าร่วมนำเสนอปัญหาประมาณ 30 คน โดยมีนายชาลี เจริญสุข อดีต สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้นำเสนอปัญหาเกี่ยวกับด้านการตลาดในการรับซื้อสัตว์น้ำจากเกษตรกรในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา และปัญหาเรื่องภาวะการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

ปัญหาเกษตร

โดยเฉพาะในปีนี้ ที่อ่างเก็บน้ำสำคัญในพื้นที่มีปริมาณน้ำน้อย เช่น อ่างเก็บน้ำคลองสียัด ที่มีน้ำเหลืออยู่เพียง 120 ล้าน ลบม. จากความจุ 420 ล้าน ลบม. โดยได้เสนอขอให้มีการปิดกั้นลำน้ำบางปะกงสายเก่าบริเวณเขื่อนทดน้ำบางปะกง ที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์มีสภาพตื้นเขิน ให้เป็นแหล่งเก็บน้ำสำรองในพื้นที่ โดยคาดว่าจะสามารถเก็บกักน้ำสำรองไว้ได้ประมาณ 50 ล้าน ลบม. ต่อปี

ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง

ขณะที่ในห้องรับฟังปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ที่ ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา มีผู้มาเข้าร่วมนำเสนอปัญหาประมาณ 20 คน นำโดย นายสุชาติ แสวงไวศยสุข นายก อบต.สองคลอง ที่นำเสนอปัญหาความต้องการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันสนับสนุนการแก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งทะเล หลังจากที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่ ได้ใช้ภูมิปัญญาตั้งแนวเขื่อนหินทิ้ง เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งมานานหลายสิบปีแล้ว

รุมเสนอปัญหาปากท้อง

ปรากฏว่าได้ผล จนสามารถลดปัญหาชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะลงได้ และยังมีการสะสมของตะกอนดินทับถมเพิ่มขึ้น จนเกิดการงอกใหม่ของผืนดินที่ด้านหลังของแนวหินทิ้ง จึงต้องการนำเสนอให้มีหน่วยงานที่เข้ามารับผิดชอบ เนื่องจากยังมีข้อกฎหมายจากหลายหน่วยงานที่ยังไม่เอื้ออำนวย จนทำให้ชาวบ้านไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องไป

ตลอดแนวความยาวของแนวชายฝั่งทะเล ที่ ต.สองคลอง กว่า 10.5 กม. ที่ในอดีตเคยมีหมู่บ้านถูกกัดเซาะจนตกทะเลหายไปถึงเกือบ 2 หมู่บ้าน คือ ม.10 หายไปกว่าครึ่งหมู่บ้าน และหมู่ 11 หายไปทั้งหมู่บ้าน

ประชาชนมาจนแน่น

แต่ที่ห้องประชุมรับฟังการแก้ไขปัญหาของผู้ค้าขายในตลาดสดบ่อบัว ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาอย่างยาวนานนั้น มีผู้เข้ามาร่วมประชุมและนำเสนอปัญหาอย่างมากมายถึงเกือบ 500 คน จนเต็มแน่นล้นห้องประชุม โดยชาวบ้านได้ขอให้มีการตรวจสอบการประมูลพื้นที่ และการได้มาของภาคเอกชน ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่าได้มาอย่างถูกต้องหรือไม่ โดยได้ขอให้ทางคณะ สว.สนับสนุน ให้มีการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นตลาดประชารัฐ

เสนอปัญหาปากท้อง

หลังจากที่ผ่านมาชาวบ้านได้ถูกทางเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราปฏิเสธที่จะรับพื้นที่ไว้ เพื่อทำการพัฒนาให้เป็นตลาดประชารัฐ เนื่องจากต้องใช้เงินงบประมาณเป็นจำนวนมากถึงกว่า 400 ล้านบาท และต้องการให้ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา เข้ามาเป็นผู้ดำเนินการให้ แต่ทาง อบจ.ยังคงติดขัดด้านปัญหางบประมาณเช่นเดียวกัน ที่ยังมีการจัดเก็บรายได้ไม่เพียงพอที่จะเข้าไปดำเนินการได้

ปัญหาปากท้องสำคัญ

ซึ่งในเวทีการรับฟังปัญหา ได้มีการซักถามโต้แย้ง ตอบกลับกันไปมาอย่างหลากหลายอยู่เป็นเวลานาน จนถึงเวลาประมาณ 12.30 น. ก่อนที่คณะ สว.ในแต่ละคณะ จะมีการเดินทางลงพื้นที่ไปยังจุดต่างๆ ตามกลุ่มย่อยทั้ง 4 กลุ่ม เพื่อดูพื้นที่จริง และเดินทางกลับออกจากพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ไปในเวลาประมาณ 16.00 น.

ที่รถไฟ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สนทะนาพร อินจันทร์

สนทะนาพร อินจันทร์

ลุยงานช่วยเหลือคนเดือดร้อนมาทั้งชีวิต อย่างไม่คิดเรียกสิ่งตอบแทน