X

สำนักข่าว UtusanTv มาเลเซีย เผยบทความ “ยุติความรุนแรงทั้งหมดเพื่อให้การเจรจาพูดคุยสันติสุข จชต. ของไทยประสบความสำเร็จ..!” เมื่อไร ?

จริง ๆ แล้วทุกฝ่ายมีความเข้าใจตรงกันว่า ความหวังของมาเลเซียในฐานะผู้อํานวยความสะดวกใน กระบวนการพูดคุยสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยนั้นสูงเพียงใดที่จะเห็นพื้นที่ดังกล่าว นั้นเกิดสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองเพื่อให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

สำนักงานผู้อํานวยความสะดวกของรัฐบาลมาเลเซียได้แสดงความพอใจกับความคืบหน้าผ่านการ แถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนหลังการประชุมคณะกรรมการด้านเทคนิคของคณะทํางานร่วมของกระบวนการ เจรจาสันติสุข (JWG-PDP) ครั้งที่ 10 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และระบุว่าการประชุมดังกล่าวได้ปูทางไปสู่สันติ สุขที่ยั่งยืนในหมู่ชุมชนปัตตานีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ขั้นตอนต่อไป คือ การมุ่งเน้นไปที่ประเด็นเหล่านี้เพื่อให้บรรลุการลดความรุนแรงและการยุติการสู้รบในพื้นที่ และสรุปเรื่องที่เกี่ยวข้องในแผนปฏิบัติการร่วมสร้างสันติสุข(JCPP)” ได้ระบุในการแถลงการณ์ต่อสื่อ…

แน่นอนว่าในการพยายามที่จะทําให้เกิดสันติสุข สิ่งที่สําคัญที่สุดคือการยุติความรุนแรงทั้งหมดก่อน โดยไม่มีคําว่า “ลด” และไม่ควรมีช่วงเวลาที่กําหนดว่าจะยุติเมื่อใดในการปฏิบัติเมื่อทุกฝ่ายที่ร่วมโต๊ะเจรจา พูดคุยมีความตั้งใจอย่างจริงจัง และไม่ว่าการเจรจาจะยืดเยื้อนานแค่ไหน การก่อการร้ายหรือการก่อเหตุความ รุนแรงใด ๆทั้งที่ได้เป็นการกระทําโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหรือโดยทางการไทยนั้นควรยุติทันที

การหยุดยั้งการก่อเหตุรุนแรง เป็นสูตรที่ดีที่สุดในการปูทางไปสู่ความฝันของมาเลเซียในฐานะผู้อํานวยความสะดวกในการ “สร้างการตัดสินใจที่สําคัญที่จะขับเคลื่อนความคิดริเริ่มด้านสันติสุขไปข้าง หน้า” หากความรุนแรงไม่ยุติก็เป็นเรื่องยากที่ความพยายามที่จะปูทางไปสู่สันติสุขจะประสบความสําเร็จได้

ที่ผู้เขียนได้กล่าวเช่นนี้ เนื่องจากเพียงวันเดียวหลังจากการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคครั้งที่ 10 ของคณะทํางานร่วมของกระบวนการเจรจาสันติสุข (JWG) -PDP) ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ได้มีการโจมตีด้วยระเบิดในอําเภอสุคิรินและอําเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส การโจมตีที่มุ่งเป้าไปที่สมาชิกอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคนและอีกสิบสองคนได้รับบาดเจ็บ

เจ้าหน้าที่ไทยเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทําของผู้ก่อเหตุความรุนแรง แต่เกิดคําถามว่าผู้ก่อเหตุความรุนแรงนั้นหมายถึงใคร? เป็นฝ่ายแบ่งแยกดินแดนหรือฝ่าย? เป็นเพราะฝ่ายที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของ ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนเพิ่งเข้าร่วมการประชุมกระบวนการสันติสุขในกรุงกัวลาลัมเปอร์ แล้วใครคือผู้บงการที่ ได้ทําการโจมตีดังกล่าว?

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสําคัญที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเจรจาพูดคุยสันติสุข จะต้องตรวจสอบว่าใครคือผู้ โจมตีด้วยระเบิด อาจจะเป็นขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี BRN หรืออาจจะเป็นกลุ่มอื่น บางกลุ่มร่วมผสมโรงกระทําการดังกล่าว เพราะอยู่ในกระบวนการพูดคุยสันติสุข คงเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะเป็นผู้ทําลาย ความพยายามที่จะทําให้เกิดสันติสุขในพื้นท่ีจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย หากพวก เขาเป็นคนดําเนินการโจมตี ก็ถือว่าไม่จําเป็นต้องมีกระบวนการพูดคุยสันติสุข เพราะเมื่อพวกเขาตกลงที่จะ นั่งที่โต๊ะเจรจาพูดคุยแล้ว ต้องเจรจาพูดคุยด้วยความจริงใจ และไม่ใช่ว่าที่โต๊ะเจรจาพูดคุยได้มีการสัญญาที่จะกระทําหรือไม่กระทําใด ๆ แต่ในพื้นที่ได้เกิดการปฏิบัติขัดแย้งกัน

ผู้เขียนเชื่อว่า BRN จริงใจต้องการสันติสุข นั้นคือเหตุผลที่พวกเขาเต็มใจที่จะเจรจาพูดคุยกับฝ่ายไทย ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาไม่ถือว่ารัฐบาลไทยเป็นนักล่าอาณานิคม ไม่เช่นนั้นแล้วฝ่ายแบ่งแยก ดินแดน BRN คงไม่ยอมที่จะเจรจากับนักล่าอาณานิคม

ดังนั้นด้วยความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นแม้จะมีกระบวนการสร้างสันติสุขอย่างต่อเนื่องสงสัยว่าอาจมีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มอื่น ๆ ที่ควรจะพิจารณานําเข้าสู่โต๊ะเจรจาพูดคุยหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้กระบวน การพูดคุยสันติสุขกลายเป็นการเยาะเย้ยอย่างเช่น“วันนี้ประชุมพรุ่งนี้ระเบิดที่ยังคงเขย่าพื้นที่จังหวัดชาย แดนภาคใต้ของประเทศไทย”

อาจเป็นเพราะเหตุนี้เองที่สื่อไทยรายงานว่า นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้แสดงความปรารถนาที่จะไปเยือน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในเวลาอันใกล้นี้ เพื่อทบทวนประเด็นความมั่นคงและเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว

หลังจากเกิดเหตุระเบิดโจมตีเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ซึ่งนายกเศรษฐาฯ ได้แสดงความกังวล เนื่องจากรัฐบาลไทยมีแผนที่จะส่งมอบพื้นที่ทั้งสามจังหวัดให้กับกองกําลังอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) เพื่อควบคุมพื้นที่ดังกล่าวภายในปี 2570

ความต้ังใจของนายกเศรษฐาฯ ที่จะลงมายังจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยอีกครั้ง พิสูจน์ให้ เห็นถึงความจริงจังของเขาในการที่จะนําสันติสุขมาสู่พื้นที่ดังกล่าวเมื่อรัฐบาลไทยเปิดกว้างในการเจรจา พูดคุย และแก้ไขความขัดแย้งในขณะที่มาเลเซียเต็มใจที่จะเป็นผู้อํานวยความสะดวกที่มีความมุ่งมั่นอย่างสูงที่จะนํามาซึ่งสันติสุขและหยุดยั้งการก่อเหตุความรุนแรง การเจรจาพูดคุยเพื่อสันติสุขก็สามารถที่จะประสบความสําเร็จได้ง่ายขึ้น

แต่จนถึงขณะนี้ผู้สังเกตการณ์ด้านความมั่นคงเห็นว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขยังคงติดขัด จึงยังมีเหตุการณ์การก่อเหตุความรุนแรงเกิดข้ึนอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย อาจจะมีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มอื่น ๆ ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” กลุ่มเหล่านั้นควรเชิญเข้าสู่โต๊ะกระบวนการ พูดคุยสันติภาพหรือไม่? เพียงแค่ถาม ไม่ได้ตั้งใจที่จะแทรกแซงกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขแต่อย่างใด….

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน