X

สำนักข่าว Utusan มาเลเซีย ได้เสนอบทความที่น่าสนใจ โดยมีการ พาดหัวว่า Laksanakan perjanjian henti keganasan di Selatan Thailand คือ

สำนักข่าว Utusan มาเลเซีย ได้เสนอบทความที่น่าสนใจ โดยมีการ พาดหัวว่า Laksanakan perjanjian henti keganasan di Selatan Thailand คือ

จัดทำข้อตกลงหยุดยิงในภาคใต้ของประเทศไทย…..!!!”

สถานการณ์เหตุความไม่สงบเมื่อ22 มีค. 2024 เป็นบทพิสจูน์ความสามารถของ ผู้อํานวยความสะดวกมาเลเซียต่อการสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใตของประเทศไทย

สันติภาพถูกฉกฉวย สันติภาพแตกสลาย สันติสุขล่มสลาย และสร้างความพินาศ นั่นคือคําที่เหมาะสมที่สุดในการอธิบายความรุนแรงของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ของประเทศไทยที่เกิดขึ้นในวันที่ 22 มีนาคม ซึ่งตรงกับ 11 เดือนรอมฎอน

การก่อเหตุรุนแรงที่พวกเขาได้ทํานั้นอาจถือได้ว่าค่อนข้างรุนแรงเมื่อพวกเขาได้ก่อเหตุ ถึง 76 จุดในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และจังหวัดสงขลา ซึ่งนับว่าเป็นเคราะห์ร้ายที่สุด เกิดขึ้นในช่วงที่ชาวมุสลิมอยู่ในระหว่างการถือศีลอด

วันที่ 11 ของเดือนรอมฎอนถูกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้เลือกวันนั้น เพราะตรงกับวันที่เกิด เหตุการณ์ที่อําเภอตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ตรงกับวันที่ 11 ของเดือนรอมฎอนซึ่ง ในเหตุการณ์นั้น มีชาวมุสลิมเสียชีวิตจํานวน 78 คน และกองทัพถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทําโดย การยัดพวกเขาแบบทับซ้อนเข้าไปในรถบรรทุกของทหารจึงเป็นเหตุให้เสียชีวิตจากการขาดลม หายใจ

 

ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง โดยเฉพาะ แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (บีอาร์เอ็น) ยังคงใช้เป็นข้ออ้างในการสร้างความชอบธรรมให้กับการ ก่อเหตุรุนแรงของพวกเขาในทุกปีจนทําลายความฝันของชาวมุสลิมที่ขอให้เกิดเดือนรอมฎอน สันตใิ นพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมา ทางการไทยเชื่อว่าเป็นการกระทําของกลุ่มบีอาร์เอ็นรุ่นใหม่ที่มีเป้าหมายเพื่อทําลายเศรษฐกิจ สาธารณูปโภค ลดความเชื่อมั่นของกองกําลัง ความมั่นคง และสร้างสถานการณ์เพื่อทําลายแผนรอมฎอนสันติ

คําถามคือการกระทําการดังกล่าวของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงนั้นตรงกับเจตจํานงของศาสนาอิสลามหรือไม่? การก่อเหตุรุนแรงเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อชาวมุสลิมในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยหรือไม่? และสิ่งที่พวกเขาทําได้ตระหนักถึงสโลแกน “เอกราช” ซึ่งจนถึงขณะนี้เพวกเขาได้เพียงแค่การพ่นสีด้วยคําว่า “เอกราช” บนถนนบางสายใน จังหวัดดังกล่าวเท่านั้นหรือไม่?

 

หากเป็นความจริงที่พวกเขากําลังต่อสู้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรมุสลิม พวกเขา จะไม่รบกวนการประกอบภาระกิจทางศาสนาของประชากรมุสลิมในช่วงเดือนรอมฎอน เพียง เพื่อรําลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว

ไม่ผิดที่จะระลึกถึงผู้ที่สูญเสีย แต่จงใช้ปัญญาสามัญสํานึกแทนตัณหาการตอบโต้ จงได้ ไตร่ตรองว่าใครคือเหยื่อในการโจมตีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม? ผู้รับกรรมคือประชาชนผู้บริสุทธิ์

ประชากรมุสลิมจะได้ประโยชน์อะไรบ้างไหม ถ้าการดํารงชีวิตของพวกเขาถูกคุกคาม? พวกเขาจะมีความสงบสุขหรือไม่ หากตลอดชีวิตของพวกเขาถูกคุกคามด้วยการโจมตีที่ชั่วร้าย จากการกระทําของกลุ่ม บีอาร์เอ็น? อิสลามได้อนุญาตให้เราฆ่าผู้บริสุทธิ์หรือไม่?

หากความรุนแรงยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง… มีประโยชน์อะไรกับกระบวนการพูดคุยสันติภาพครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์? แนวทางไหนจะเป็นทางเลือกของกลุ่ม แบ่งแยกดินแดน… สันติภาพหรือสงคราม?

สิ่งที่แน่นอนคือผู้อํานวยความสะดวกของมาเลเซีย สําหรับกระบวนการพูดคุยสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย พลเอก ตันศรี ซุลกีฟลี ไซนันอาบีดีนได้ พยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อให้แน่ใจว่าพื้นที่นี้จะกลับมาสงบสุขอีกครั้ง

เพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์ดังกล่าว และการแสดงออก “ความบ้าคลั่ง” ของกลุ่มผู้ก่อเหตุ รุนแรง ทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงและรัฐบาลไทยจําเป็นต้องผนึกข้อตกลงเพื่อหยุด ความรุนแรงหรือในภาษาง่ายๆ “สงบศึก”

ซึ่งหมายความว่าตลอดระยะเวลาของข้อตกลงทั้งสองฝ่ายจะไม่กระทําการก่อการเหตุรุนแรงเหมือนที่เคยได้กระทําเมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่อความมั่นใจว่า มีประสิทธิภาพ จริง ๆ รัฐบาลไทยต้องมั่นใจว่า ตัวแทนบีอาร์เอ็นหรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเป็นตัวจริงสําหรับ การเจรจา

เมื่อมองสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในขณะนี้ เสมือนกับ ว่าคณะผู้แทนบีอาร์เอ็นที่อ้างว่าเป็นฝ่ายแบ่งแยกดินแดนไม่มีอํานาจใด ๆ พวกเขาดูเหมือนกับว่า “ยกยอตัวเอง” หรืออาจเป็นเพียงการแสดงละครในเจรจาเพราะความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็น การกระทําของพวกเขาเอง

 

หากเป็นความจริงที่พวกเขามีอํานาจและอิทธิพล พวกเขาจะต้องพิสูจน์ผ่านการลงนามในสนธิสัญญาเพื่อหยุดการก่อเหตุรุนแรงกับรัฐบาลไทย ซึ่งความต้องการหรือไม่ต้องการความ รุนแรงนั้นควรหยุดลงก่อนที่กระบวนการพูดคุยจะเดินหน้าไปสู่ขั้นต่อไป

ผู้เขียนเชื่อว่า พลเอก ตันศรี ซุลกีฟลี ไซนันอาบีดีน ซึ่งเป็นผู้อํานวยความสะดวกชาวมาเลเซียนั้น เป็นที่แน่นอนที่สุดต้องการเห็นข้อตกลงดังกล่าวถูกปิดผนึก เพราะนั่นคือความฝัน ของเขาในความพยายามที่จะฟื้นฟูสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

โดยสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมานั้น ได้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวนั้นยังห่างไกลที่จะสงบสุข แต่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่สําคัญคือความจริงใจของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มแบ่งแยกดินแดน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน