X

คาตู้!! ทั้งราดำ เพลี้ย อ่อน ทุเรียนหมอนส่งออกจีน ถูกตีกลับนับสิบล้าน

ชุมพร-คาตู้ ทั้งราดำ เพลี้ย อ่อน ทุเรียนหมอนส่งออกจีน ตีกลับนับสิบล้าน

นายธรรมนูญ แก้วคงคา ผอ.สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า”ตั้งแต่ เวลา 18.00 น.ของวันที่ 6 กย.ที่ผ่านมา พร้อมด้วยนายก้องกษิต  สุวรรณวิหค  ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาเกษตร เขต 7 สุราษฏร์ธานี นายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดชุมพร และ กำลังสารวัตรเกษตรในพื้นที่     จนท.นายตรวจพืช  จำนวนหนึ่ง รุดไปที่ ล้งรับซื้อทุเรียนเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ต.นาขา อ.หลังสวน จ.ชุมพร ซึ่งมีเจ้าของเป็นชาวจีน หลังจากได้รับแจ้งว่า มีรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ นำทุเรียนหมอนทอง ที่ไม่ผ่านการตรวจของด่านตรวจพืช จ.นครพนม และ จ.มุกดาหาร กลับมายังล้งทุเรียนต้นทาง และห้ามเปิดตู้ฯก่อน จนท.จาก กรมวิชาการเกษตร จะเดินทางมาถึง

เมื่อ จนท.เดินทางมาถึง โดยมี นายวีรวัฒน์ จีระวงส์ นายกสมาคมชาวสวนผลไม้ชุมพร นำคณะมาร่วมสังเกตุการณ์ ด้วย ได้ใช้เครื่องมือตัดอุปกรณ์ล็อคตู้ฯ เพื่อเปิด นำเอาทุเรียนหมอนทองที่ บรรจุในกล่องกระดาษ จำนวน 18 ตัน หลายร้อยกล่อง ออกมาตั้งในล้งทุเรียน เมื่อเปิดกล่องกระดาษบรรจุทุเรียน จนท.ทุกคน รวมถึง ตัวแทนจากสมาคมชาวสวนผลไม้ชุมพร ถึงกับตกตะลึง เมื่อพบว่า ในกล่องทุเรียนมีทุเรียนที่มีทั้งเพลี้ย ติดอยู่ที่ผิวทุเรียน ทุเรียนจำนวนหนึ่ง เป็นราดำ เห็นได้อย่างชัดเจน ทุเรียนจำนวนหนึ่ง ไม่ได้มาตรฐานการส่งออกอย่างชัดเจน จึงได้ สั่งอายัดทุเรียนเหล่านี้ไว้ดำเนินการตามกฎหมายทันที

หลังจากนั้น คณะ จนท.ได้เดินทางไปยัง  สี่แยกเขาปีป หมู่ที่ 6 ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร ซึ่ง เป็นที่ตั้งของล้งทุเรียนจำนวนมาก โดยที่ล้งทุเรียนแห่งหนึ่ง พบรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ที่ บรรทุกทุเรียนหมอนทองส่งไปจีนถูกตีกลับ มา  จำนวนทุเรียนหมอนทอง 20 ตัน เมื่อนำมาตรวจก็พบว่า มีทุเรียนที่ ปะปนไปด้วยทุเรียนติดเพลี้ย ติดราดำ ทุเรียนอ่อน จำนวนมาก จึงได้ทำการตรวจสอบเพื่อดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป  สำหรับจำนวนทุเรียน ทั้ง 38 ตัน ถ้าไปถึง ประเทศจีน จะมีมูลค่าถึง 19 ล้านบาท แต่ ถ้าเป็นทุเรียนในสภาพที่ตรวจพบจะสร้างความเสียหาย แก่วงการทุเรียนจากประเทศไทยอย่างหนัก

ส่วน พนักงานของล้งทุเรียน กล่าวว่า “ทุเรียนจำนวนนี้รับซื้อจากชาวสวนทุเรียนเมื่อวันที่25 สค.65 จากชาวสวนทุเรียนจาก จ.สุราษฏร์ บ้าง จ.นครศรีธรรมราชบ้าง และอีกหลายที่ เป็นตู้ทุเรียนตกไซส์ ไม่ใช่ ทุเรียนเกรด ดี รับซื้อมาเพียง กก.ละ 140-150 บาท เท่านั้น มีน้ำหนักราว 17,000กก.-18,000 กก. ตอนรับซื้อก็ ได้มีการตรวจคุณภาพ คัดกรอง แยกของดีของเสีย มีการตรวจเอกสารจากชาวสวน ซึ่งมีบ้างไม่มีบ้าง แต่ในเวลาจะส่งออกจะมี ชิปปิ้ง ดำเนินการ ทุเรียนตู้นี้จะขาดทุนประมาณ 2 ล้านกว่าบาท ส่วนเมื่อไปถึง เมืองจีนก็ไม่ทราบว่าจะมีมูลค่าเท่าไร แต่ คาดว่าน่าจะมากกว่า 3 เท่า ส่วนที่มีการตรวจพบความผิดปกติ น่าจะติดในผลทุเรียนที่ตรวจที่ล้งไม่เจอแต่ไปเจอที่ด่าน อย่างเช่นเพลี้ย มันอาจฝักตัว ในผลทุเรียน ส่วนทุเรียนตู้นี้คงนำมาแปรรูปต่อไป

นายธรรมนูญ แก้วคงคา ผอ.สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า “มีการตรวจสินค้าก่อนออกใบรับรอง ไปยังต่างประเทศ และ สงสัยว่าทุเรียนเป็นทุเรียนด้อยคุณภาพ อาทิ มีราดำ มีเพลี้ย มีน้ำหนักต่ำกว่าที่แจ้ง เป็นทุเรียนจะไปยังประเทศจีน ผ่านด่านหลายจังหวัด อาทิ นครพนม มุกดาหาร  ทั้งที่ ก่อนจะออกจากจังหวัดชุมพรจะต้องมีการตรวจก่อนและมีการติดสติกเกอร์ และมีการตรวจเอกสารและ สินค้าเพื่อรับรองสินค้าก่อนออกจากด่าน แต่ถ้าไม่ตรงกันก็จะไม่ออกเอกสารให้ เพื่อคุณภาพของสินค้า ถ้าออกไปจีนก็จะถูกตีกลับมายังประเทศไทย ดังนั้นควรจะรักษาคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐาน ในด้านกฎหมายนั้นก็ต้องให้ส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ส่วนจะมี จนท.ของกระทรวงเกษตรเกี่ยวข้องในการทำความผิดนั้นคงตอบไม่ได้ แต่ คนในพื้นที่ต้องช่วยกันตรวจสอบดูแล”

ด้านนายดำรงศักดิ์ สินศักดิ์ ผญบ.11 ต.บ้านนา อ.เมือง จ.ชุมพร เจ้าของสวนทุเรียนขนาดใหญ่ ที่เดินทางมาร่วมดูการตรวจสอบด้วย กล่าวว่า”ทุเรียนเป็นพืชสุดท้ายที่ราคายังไปได้ดี ถ้า ชาวสวนหรือพ่อค้า เห็นแก่ตัว จะเป็นการดับอนาคตของทุเรียน ทุเรียนส่วนนี้ที่ตรวจพบว่าผิด ไม่น่าใช่ทุเรียนไทย เนื่องจากลักษณะทั้ง ขนาด สีผิว คุณภาพ น่าจะเป็นทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีราคาเพียง 40-50 บาท ต่อ กก.เท่านั้น แต่นำมาสวมสิทธิ์ เป็นทุเรียนไทย โชคดี ที่ถูกตรวจพบเสียก่อนไม่งั้นเสียชื่อประเทศไทยแน่นอน”

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน