ชุมพร-
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 11 ธค.62 ที่ ป่าชายเลนเสื่อมโทรม ต.ทุ่งคา อ.เมือง จ.ชุมพร นายกรรณเกษม มีสุข หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร พร้อมด้วยนายผล ขวัญนุ้ย ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ นายอภิญญา คนดี ปลัดอาวุโส อ.เมือง จ.ชุมพร จิตอาสา ทหาร ตำรวจ นักเรียน ประมาณ 500 คน ร่วมกันปลูกป่าชายเลน
นายผล กล่าวว่า”การรวมพลังจิตอาสาพลิกฟื้นคืนผืนป่าชายเลนสู่ธรรมชาติใน โครงการปลูกป่า กฟผ.เนื่องจากปัญหาที่ประเทศไทยต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วม ไฟไหม้ป่าและการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล สาเหตุหลักมาจากการบุกรุกทำลายป่าพื้นที่ป่าไม้ทั้งป่าปก ป่าชายเลนเกิดปัญหาซ้ำซาก ซ้ำเติมภาวะโลกร้อนที่นับวันยิ่งแรงและส่งผลต่อชีวิตในโลก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ 2537 และดำเนินการปลูกป่ามาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 25 ปีจนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกป่าของ กฟผ.ทุกภาคทั่วไทยมากกว่า 460,000 ไร่ เป็นการปลูกป่าตามผลการศึกษาทางวิชาการคือปลูก 1 ปีบำรุงรักษาป่าที่ปลูกต่อเนื่อง 2 ปี
ข่าวน่าสนใจ:
ในพื้นที่จังหวัดชุมพรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการปลูกป่ามาแล้วทั้งสิ้น 120,600 ไร่ แบ่งเป็นป่าบก 1 ,165 ไร่และป่าชายเลน 1,900 ไร่ การปลูกป่าชายเลนจะช่วยฟื้นฟูสภาพป่าอุดมสมบูรณ์และสร้างความสมดุลของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นแหล่งอนุบาลและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำสร้างรายได้ให้กับชาวประมงและสามารถกักเก็บ Co2 ประมาณ 275 ตันต่อปี การจัดรวมพลังจิตอาสาฟื้นผืนป่าชายเลนสู่ธรรมชาติมีเป้าหมายจะปลูกป่าชายเลนจำนวน 3,600 ต้น แต่การปลูกป่าจะอยู่รอดอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องปลูกต้นไม้ในใจคนดังพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกำหนดจัดกิจกรรมรวมพลังจิตอาสาฟื้นคืนผืนป่าชายเลนธรรมชาติ เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนที่จะส่งผลให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกันดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนเพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ ได้ดำเนินการปลูกป่าต้นกล้าจำนวน 3,600 ต้น ให้กลับคืนเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์อาจจะเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรอาหารทางทะเลรวมทั้งออกซิเจนและตัวดักกรองของเสียให้เป็นน้ำดีในโอกาสต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: