เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 9 ตุลาคม 2567 พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีดีเอสไอ นำกำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ท่าม่วง ลงพื้นที่ตรวจสอบบ้านหลังหนึ่งพื้นที่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ว่ามีการลักลอบขุดเงินสกุลดิจิทัลหรือบิทคอยน์ และมีการลักลอบดัดแปลงมิเตอร์ไฟฟ้าให้จ่ายค่าไฟเพียง 100-400 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยกว่าความเป็นจริง ทำให้การไฟฟ้าหายกว่า 250,000 บาทต่อเดือนที่เกิดเหตุทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการเข้าตรวจค้นพบอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ดัดแปลงยัดใส่ลงในถังน้ำแข็งจำนวนหลายสิบใบ เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการตรวจยึด โดยบริเวณเสาไฟหน้าบ้านยังพบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ติดตั้งอยู่ใต้หม้อมิเตอร์ไฟฟ้าตรวจสอบพบว่ามีการดัดแปลงมิเตอร์ไฟฟ้าโดยการหยอดกาวเพื่อมิเตอร์หมุนช้าลง ส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนั้น เป็นเครื่องที่ใช้รีโมทเปิดปิดควบคุมตัวมิเตอร์จากภายในตัวบ้านได้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ายอมรับว่าเพิ่งเคยเห็นอุปกรณ์ครั้งนี้เป็นครั้งแรกซึ่งต้องเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะซึ่งขนาดเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเองยังทำไม่ได้โดยเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ได้ตรวจยึดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดไปเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจภูธรท่าม่วง พร้อมกับเชิญตัวเจ้าของบ้านไปให้ปากคำที่โรงพัก โดยได้แจ้งข้อกล่าวหาลักทรัพย์ในเบื้องต้นก่อนพ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า โดยกองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศได้ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและก็เจ้าหน้าที่ตํารวจของ สภ.ท่าม่วง ได้มาตรวจค้นบ้านเป้าหมาย ซึ่งเราพบเบาะแสจากเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าว่าน่าจะมีการลักใช้ไฟเพื่อขุดเงินดิจิทัล วันนี้ก็ได้นํากําลังแล้วก็ขอหมายค้นจากศาลอาญา จ.กาญจนบุรี เพื่อตรวจค้นบ้านเป้าหมายจำนวน 10 จุด ซึ่งจุดแรกที่พบก็เป็นเครื่องขุดเงินสกุลดิจิทัลจำนวน 10-12 เครื่อง ซึ่งกิโลวัตต์ก็ประมาณ 3.6 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง ตรงนี้เดี๋ยวเราต้องไปคํานวณว่ามันมีการได้ประโยชน์ไปเท่าไหร่ในเบื้องต้นก็จะต้องตรวจยึดของกลางต่าง ๆ ในแต่ละจุดซึ่งขณะนี้ได้พบแล้วประมาณ 70 กว่าเครื่องใน 10 จุดด้วยกัน แล้วก็หลังจาก 10 นี้ จะมีการขยายผลไปอีก 5 จุด ก็จะทยอยได้รับรายงานมาเรื่อย ๆ ก็คงต้องขยายผลว่า ใครที่อยู่เบื้องหลังในการกระทําครั้งนี้หรือว่าเป็นตัวคนที่พักอาศัยอยู่ที่บ้านหลังนี้จะต้องสืบสวนหาผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ต่อไปในส่วนของความผิดขณะนี้ในเบื้องต้นก็เป็นเรื่องลักทรัพย์ ก็คือลักไฟฟ้า ทั้งกลางคืนกลางวันต่อเนื่องกัน ก็เป็นบทหนักก็ถือว่ากลางคืนกลางวันต่อเนื่องกันด้วย แล้วก็ต้องดูเครื่องว่ามันมีที่มาจากแหล่งไหนมันคงอาจจะไม่ใช่ในประเทศ ถ้าเครื่องนํามาจากภายนอกก็อาจจะมีความผิดว่าด้วยวิศวกรหรือไม่ต้องไปตรวจสอบดูอีกครั้ง และจะมีการเสนอเป็นคดีพิเศษต่อไปขณะที่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ให้ข้อมูลว่า เครื่องหนึ่งถ้าเราคํานวณดูจากการใช้กระแส เครื่องหนึ่ง 3.6 กิโลวัตต์ ก็คือ 3,600 วัตต์ต่อชั่วโมง ถ้าหากว่าในมูลค่าความเสียหาย 12 เครื่อง ก็จะประมาณ 250,000 ต่อเดือน ที่เราลองคํานวณดูแต่ว่าเขาเสียค่าไฟฟ้าแค่หลักร้อยต่อเดือนแค่นั้นเอง ถ้าหลาย ๆ จุดก็มูลค่าก็น่าจะเกือบ ๆ 20 ล้านบาทต่อเดือนที่สูญเสียไปจุดเริ่มต้นที่การไฟฟ้าเริ่มเอะใจว่ามันมีความผิดปกติอย่างไร ต้องบอกว่าจริงๆ แล้ว เราไม่ใช่เพิ่งทําเราทํามาอย่างต่อเนื่อง ประเด็นแรกคือเรามีฐานข้อมูลครับ อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่ามิเตอร์ทุกเครื่องเราจะมีการสุ่มตรวจ ในกรณีที่ว่าฐานข้อมูลมันผิดปกติแล้วก็หลังจากกลุ่มตรวจเราก็จะร่วมมือกับทาง DSI อย่างรอบนี้ร่วมมือกับ DSI เนื่องจากเราพบว่ามันมีปริมาณกระจายตัวเยอะในส่วนของค่าเสียหายที่ต้องบอกก่อนมีค่าเสียหายที่ไฟฟ้าให้เราตามระเบียบประเด็นแรกคือเราเรียกเก็บในเรื่องของการละเมิดมิเตอร์ก่อน เพราะว่าอย่างมิเตอร์เครื่องของบ้าน เราพบว่ามีการเจาะด้านหลังของมิเตอร์เนื่องจากเคสเป็นพลาสติกแล้วก็มีการตัดแต่งวงจรภายในให้มิเตอร์ทํางานผิดปกติ อีกเรื่องหนึ่งก็คือเป็นค่าความเสียหายจากการละเมิดก็คือหน่วยที่การไฟฟ้าส่วนภาคเรามีการคํานวณตามหลักวิศวกรรมว่ามีการละเมิดที่เป็นมูลค่าเท่าไหร่.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
- 'นครพนม' นำทีม 'STARTOSPHERE'จากชมรม TO BE NUMBER ONE รร.โพนสวรรค์ราษฎร์พัฒนา ร่วมแข่ง TO BE NUMBER ONE DANCERCISE 2025…
- เพชรบูรณ์ - คณะผู้จัดคอนเสิร์ต EDM เขาค้อ แถลงการณ์จัดคอนเสิร์ตฯตามวันเวลาเดิม ยืนยันพร้อมทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
- สามพ่อลูกหวิดดับ ชาร์จโทรศัพท์ไว้ก่อนไฟลุกปลั๊กไฟลามที่นอนไฟไหม้วอดยกชั้น โชคดีหนีออกมาทัน
- จ.สุโขทัย เริ่มกิจกรรมแรกแล้ว งานประเพณี "ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ" ประจำปี 2567 ด้วยพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์สุโขทัย
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: