X

เปิดภาพ 1,200 ศพบรรพบุรุษวัดพนัญเชิงฯ

พระนครศรีอยุธยา-เปิดภาพหลุมศพบรรพบุรุษกว่า 1,200 ศพกับไร้ญาติอีกกว่า 2 พันเรียงราย ลูกหลานน้ำตาซึมคำสั่งศาลฎีกาให้อยู่ต่อ

จากกรณีที่วัดพนัญเชิงวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา ได้มีหนังสือแจ้งไปยังมูลนิธิวัดพนัญเชิง(เซียงเต๊กตึ๊ง) ซึ่งเป็นผู้ดูแลสุสานสาธารณะวัดพนัญเชิง ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ 14 ไร่เศษ  มีหลุมศพที่มีบรรพบุรุษจำนวน 1200 หลุมและไร้ญาติอีกกว่า 2000 หลุม โดยมีนายวินัย อัศวราชันย์ เป็นประธานมูลนิธิฯ ตั้งแต่เมื่อปี 2543 เสมือนเป็นเค้ารางของการขับไล่ในเวลาต่อมา โดยครั้งนั้นทางวัดพนัญเชิงวรวิหาร ได้มีหนังสือแจ้งให้มูลนิธิฯย้ายที่ตั้งของมูลนิธิฯเข้าไปอยู่ภายในวัดพนัญเชิงวรวิหาร โดยกรรมการของวัดจะต้องมีตัวแทนของวัดและตัวแทนจากข้าราชการประจำ หรือข้าราชการบำนาญ เป็นกรรมการร่วมด้วย อีกทั้งทรัพย์สินของมูลนิธิฯ ให้ตกเป็นของวัดพนัญเชิงวรวิหารเท่านั้น แต่ทางมูลนิธิฯก็เงียบเฉยไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ

วันที่ 5 ม.ค.45 วัดพนัญเชิงวรวิหาร จึงได้มีหนังสือแจ้งยังมูลนิธิฯอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นการขอยกเลิ กการอนุญาตให้ใช้ที่ดินของวัดที่เป็นที่ตั้งสุสาน ทั้งที่สุสานแห่งนี้อยู่มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 ซึ่งบริเวณสุสานนั้นเป็นสุสานเก่า ของวัดขอม ซึ่งเป็นวัดร้างและทางมติสงฆ์ได้ให้รวมกับวัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งแต่ปี 2488 โดยลูกหลานชาวจีนได้ของใช้สุสานนี้เรื่อยมา และมีการจดมูลนิธิฯมาตั้งแต่ปี 2501 จากที่บริหารงานร่วมกับวัดพนัญเชิงวรวิหาร มาบริหารกันเอง

หนังสือของวัดพนัญเชิงวรวิหารที่มีถึงมูลนิธิฯเมื่อปี 2545 นั้นระบุว่า ที่ดินที่ตั้งสุสานเป็นของวัดพนัญเชิงวรวิหาร การสร้างสุสานเป็นการดำเนินการของวัดพนัญเชิงวรวิหาร มูลนิธิฯที่ตั้งขึ้นนั้นเป็นการตั้งขึ้นโดยวัดพนัญเชิงวรวิหาร เพื่อให้ทำหน้าที่บริหารจัดการสุสานของวัดพนัญเชิงวรวิหาร แต่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราสารภายหลัง จนทำให้การบริหารจัดการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่สำคัญหนังสือดังกล่าวระบุว่า วัดได้รับความเสียหายจากบุคคลภายนอก โดยถูกกล่าวหาว่านำที่ดินสุสานไปหาประโยชน์จากคนไทยเชื้อสายจีน

ด้วยจุดประสงค์ดังกล่าวของทางวัดพนัญเชิงวรวิหาร ทำให้เกิดการต่อสู้และฟ้องร้องทางกฎหมายของวัด และมูลนิธิฯ จนกระทั่งในที่สุดถึงศาลฎีกา  กรณีวัดพนัญเชิงวรวิหารได้ฟ้องให้รื้อย้ายที่ฝังศพทั้งหมดในสุสานดังกล่าวทั้งหมดออกไป เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ ถึงแม้ผู้ร้องสอดในคดีนี้ จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความด้วยก็ตาม ก็ไม่อาจทำให้คำฟ้องในส่วนที่ไม่ชอบของโจทน์คือวัดพนัญเชิงวรวิหาร กลับเป็นคำฟ้องที่ชอบขึ้นมาได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทน์คือ    วัดพนัญเชิงวรวิหารในข้ออื่น  เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง คำร้องของโจทน์ฟังไม่ขึ้น

ในส่วนของมูลนิธิวัดพนัญเชิง(เซียงเต๊กตึ๊ง)จำเลยที่ 1 และนายวินัย อัศวราชันย์ จำเลยที่สอง ในฐานะตัวแทนมูลนิธิฯ การที่วัดพนัญเชิงวรวิหารได้มีหนังสือแจ้ง และยกเลิกในเวลาต่อมาสามารถทำได้ แต่จำเลยได้ค้านก็ไม่เป็นผล ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้มูลนิธิวัดพนัญเชิงรื้อถอนอาคารที่ทำการของมูลนิธิฯ หรืออาคารที่พักคนงานของมูลนิธิฯ และให้มูลนิธิฯออกจากพื้นที่ดินของวัดพนัญเชิงวรวิหาร และชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 400 บาทจนกว่าจะพ้นออกไป

ก็คงต้องจับตาดูว่าหลังจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้สุสานสาธารณะวัดพนัญเชิงอยู่ต่อไปได้ ขณะเดียวกันในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน วัดพนัญเชิงได้ขับไล่มูลนิธิฯออกไปแล้ว จะมีการดำเนินการอย่างไรกับสุสานสาธารณะแห่งนี้ต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา รางวัลพระราชทานเทพทอง สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของเพจสถานีข่าวเอทีวี นักเขียนอิสระ